สถาบันประสาทฯ รับลูกกิจกรรมราดน้ำเย็น “Ice Bucket Challenge” ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เปิดกองทุนโดยเฉพาะช่วยอุปกรณ์การรักษา เหตุผู้ป่วยต้องใช้ตลอดเวลา ทำให้ รพ. มีไม่เพียงพอ พร้อมต่อยอดการวิจัยรักษาแบบใหม่ เหตุเป็นแล้วรักษาไม่หายขาด เสียชีวิตใน 2 - 5 ปี ต้องรักษาตามอาการ เน้นกายภาพบำบัดช่วยยืดอายุ เตือนคนร่างกายอ่อนแอไม่ควรทำกิจกรรมราดน้ำเย็น เสี่ยงปอดบวม
วันนี้ (21 ส.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. นพ.สมชาย โตวณะบุตร นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการจัดตั้งกองทุนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS หลังเกิดกระแสการทำกิจกรรม Ice Bucket Challengeโดยการนำน้ำเย็นราดทั้งศีรษะและตัว เพื่อร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้ ว่า โรคนี้เป็นโรคของระบบประสาท เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งในส่วนของสมอง แกนประสาท และไขสันหลัง จัดเป็นโรคที่พบมากที่สุดของกลุ่มโรคเสื่อมของเซลล์ควบคุมกล้ามเนื้อ โดยผู้ป่วยจะเริ่มจากการมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็กลง ร่วมกับมีอาการเต้นของกล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย แล้วลามไปอีกข้าง จากนั้นจะตามด้วยการพูดลำบาก กลืนลำบาก และกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรง จนมีอาการหอบเหนื่อยเนื่องจากหายใจไม่เพียงพอ
นพ.สมชาย กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ป่วยร้อยละ 75 จะแสดงอาการที่แขนหรือขาก่อน มีเพียงร้อยละ 25 ที่แสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการกลืนหรือพูดลำบาก และมีส่วนน้อยที่มาครั้งแรกด้วยอาการหายใจลำบาก มักจะพบผู้ป่วยเริ่มมีอาการช่วงอายุ 40 - 60 ปี แต่อายุที่มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็พบได้เช่นกัน โดยพบในชายมากกว่าหญิง และพบในแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกามากกว่าแถบภูมิภาคอื่น ความชุกอยู่ที่ 1.2 - 4 รายต่อแสนประชากร ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยของการดำเนินโรคตั้งแต่มีอาการถึงเสียชีวิตอยู่ที่ 39 เดือน หรือ 2 - 5 ปี มีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่มีอายุรอดนานกว่า 10 ปี
“สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบ แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางกรรมพันธุ์เพียง 10% ส่วนอีก 90% ไม่รู้สาเหตุ จึงไม่สามารถตรวจสุขภาพเพื่อให้รู้โรคล่วงหน้าได้ การวินิจฉัยโรคจึงเป็นลักษณะการซักประวัติ ตรวจร่างกายทางระบบประสาท เพื่อแยกโรคอื่นที่สามารถรักษาได้ออกจากโรคนี้เท่านั้น เนื่องจากโรคนี้รักษาไม่หายขาด ต้องรักษาตามอาการ คือ 1. รักษาด้วยการให้ยาที่ช่วยในการกลืน แต่ไม่ได้รับความนิยม 2. การทำกายภาพบำบัด ช่วยคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้นานที่สุด และต้องให้อาหารให้ครบหมู่ เพราะระยะหลังของโรคมักกลืนลำบาก จึงอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้กล้ามเนื้อยิ่งอ่อนแรง และ 3. การใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยครอบครัวและญาติต้องช่วยให้กำลังใจผู้ป่วย เพราะมีความทุกข์ทรมานจากโรค เนื่องจากรับรู้อาการทั้งหมดตลอด” นพ.สมชาย กล่าว
นพ.สมชาย กล่าวว่า โรคนี้โรงพยาบาลในสังกัด สธ. สามารถวินิจฉัยได้ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมารักษาที่สถาบันประสาทวิยา แต่ปัญหาคือเมื่อถึงจุดหนึ่งในการรักษาจำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งต้องใช้ตลอดเวลา แต่เป็นอุปกรณ์ที่ขาดแคลน การรณรงค์ Ice Bucket Challenge เพื่อบริจาคช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องที่ดี โดยสถาบันประสาทวิทยาได้จัดตั้ง กองทุนผู้ป่วย ALS ขึ้นมาโดยเฉพาะ ผู้ที่ต้องการบริจาคช่วยเหลือสามารถทำได้โดย สั่งจ่ายเช็คในนาม มูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา หรือโอนเงินเข้าบัญชี ธ.กรุงไทย สาขาเตาปูน เลขที่ 020-1-33312-0 ธ.กรุงเทพ สาขาอาคารพระเทพฯ เลขที่ 090-712612-2 และ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี เลขที่ 026-430952-1 ซึ่งสถาบันฯ จะแสดงยอดการบริจาคและยอดการใช้เงินบริจาคที่หน้าเว็บไซต์ของสถาบันฯ
นพ.บุญชัย พิพัฒน์วณิชกุล ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า มีผู้ป่วยโรคนี้มารักษากับสถาบันฯ รวมแล้ว 100 กว่าราย โดยเป็นคนไข้ใน 24 ราย มีปัญหาระบบหายใจ 10 กว่าราย พบผู้ป่วยรายใหม่เดือนละประมาณ 1 - 2 ราย โรคนี้หากรู้ตัวเร็วและรีบทำการรักษาก็จะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน ทั้งนี้ ในต่างประเทศมีข้อมูลว่าพบผู้ป่วยในกลุ่มที่เล่นกีฬาหรืออกกำลังกายโดยการใช้แรงกระแทก แต่ยังไม่พบข้อมูลความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากคนออกกำลังกายมีสุขภาพแข็งแรง เมื่อป่วยจึงอาจสังเกตอาการได้ชัดกว่าคนทั่วไป
ด้าน พญ.ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ หัวหน้ากลุ่มงานประสาทวิทยา สถาบันประสาทฯ กล่าวว่า กองทุนดังกล่าวจะนำมาช่วยเหลือในเรื่องของอุปกรณ์ในการรักษา เพราะค่าใช้จ่ายโรคนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง โดยยาที่ช่วยในการกลืนค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1 พันบาทต่อวัน แต่มักไม่แนะนำให้ใช้ เพราะเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่กินยาแล้วช่วยยืดอายุได้เพียงประมาณ 3 เดือนเท่านั้น และยังไม่รวมอยู่ในสิทธิการรักษาด้วย ส่วนคนที่ไม่สามารถดูแลด้วยตัวเองได้ก็ต้องมีการจ้างคนดูแล ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ใส่สายอาหาร ต้องดูดเสมหะเป็นประจำ ค่าใช้จ่ายก็อยู่ที่ประมาณ 3 - 5 หมื่นบาทต่อเดือนต่อราย นอกจากนี้ จะนำเงินในกองทุนมาใช้ในการศึกษาวิจัยวิธีการรักษาแบบใหม่ๆ ด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงการรณรงค์ด้วยการทำ Ice Bucket Challenge ที่มีการราดน้ำเย็นๆ ใส่ตัวเอง มีข้อควรระวังในเรื่องใดบ้าง พญ.ทัศนีย์ กล่าวว่า การราดน้ำเย็นลงบนตัว เพื่อให้เห็นว่าเมื่อเวลาถูกน้ำเย็นๆ ราดบนตัวจะเกิดอาการสั่น ควบคุมตัวไม่ได้ เกิดความทุกข์ทรมานเช่นเดียวกับผู้ที่ป่วยโรคนี้ อย่างไรก็ตาม การทำจะต้องระมัดระวัง เพราะมีกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการยกถังน้ำที่มีขนาดหนักแล้วหล่นใส่ศีรษะตัวเองจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจมีอันตรายถึงขั้นคอหักเสียชีวิตได้ จึงควรให้ผู้อื่นราดน้ำให้มากกว่า นอกจากนี้ หากใช้น้ำที่ไม่สะอาด เมื่อเทใส่ร่างกายก็อาจเข้าไปในหู ตา จมูก ปาก จนเกิดการติดเชื้อได้
นพ.สมชาย กล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิต้านทานต่ำ ไม่ควรทำกิจกรรมนี้ เพราะการที่ราดน้ำเย็นลงบนตัวจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคปอด ภูมิแพ้ อาจเกิดอาการหอบได้
ขณะที่ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผู้ที่คิดจะเล่น Ice Bucket Challenge ควรระวัง เพราะช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนมีความชื้นในอากาศสูง อาจเสี่ยงทำให้เป็นปอดบวมได้ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอดบวม หอบหืด ความดัน และโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากความเย็นของน้ำที่ถูกร่างกายแบบเฉียบพลัน อาจทำให้หลอดเลือดหดตัวกะทันหัน จึงอยากเตือนให้เล่นกันอย่างระมัดระวัง และหลังร่วมกิจกรรมเสร็จแล้ว ควรรีบปรับสภาพร่างกายให้กลับมาอบอุ่นโดยไว เช่น รีบเปลี่ยนเสื้อผ้า เช็ดตัว และศีรษะให้แห้งโดยไว ไม่ใส่ชุดที่เปียกเป็นเวลานาน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (21 ส.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. นพ.สมชาย โตวณะบุตร นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการจัดตั้งกองทุนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS หลังเกิดกระแสการทำกิจกรรม Ice Bucket Challengeโดยการนำน้ำเย็นราดทั้งศีรษะและตัว เพื่อร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้ ว่า โรคนี้เป็นโรคของระบบประสาท เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งในส่วนของสมอง แกนประสาท และไขสันหลัง จัดเป็นโรคที่พบมากที่สุดของกลุ่มโรคเสื่อมของเซลล์ควบคุมกล้ามเนื้อ โดยผู้ป่วยจะเริ่มจากการมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็กลง ร่วมกับมีอาการเต้นของกล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย แล้วลามไปอีกข้าง จากนั้นจะตามด้วยการพูดลำบาก กลืนลำบาก และกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรง จนมีอาการหอบเหนื่อยเนื่องจากหายใจไม่เพียงพอ
นพ.สมชาย กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ป่วยร้อยละ 75 จะแสดงอาการที่แขนหรือขาก่อน มีเพียงร้อยละ 25 ที่แสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการกลืนหรือพูดลำบาก และมีส่วนน้อยที่มาครั้งแรกด้วยอาการหายใจลำบาก มักจะพบผู้ป่วยเริ่มมีอาการช่วงอายุ 40 - 60 ปี แต่อายุที่มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็พบได้เช่นกัน โดยพบในชายมากกว่าหญิง และพบในแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกามากกว่าแถบภูมิภาคอื่น ความชุกอยู่ที่ 1.2 - 4 รายต่อแสนประชากร ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยของการดำเนินโรคตั้งแต่มีอาการถึงเสียชีวิตอยู่ที่ 39 เดือน หรือ 2 - 5 ปี มีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่มีอายุรอดนานกว่า 10 ปี
“สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบ แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางกรรมพันธุ์เพียง 10% ส่วนอีก 90% ไม่รู้สาเหตุ จึงไม่สามารถตรวจสุขภาพเพื่อให้รู้โรคล่วงหน้าได้ การวินิจฉัยโรคจึงเป็นลักษณะการซักประวัติ ตรวจร่างกายทางระบบประสาท เพื่อแยกโรคอื่นที่สามารถรักษาได้ออกจากโรคนี้เท่านั้น เนื่องจากโรคนี้รักษาไม่หายขาด ต้องรักษาตามอาการ คือ 1. รักษาด้วยการให้ยาที่ช่วยในการกลืน แต่ไม่ได้รับความนิยม 2. การทำกายภาพบำบัด ช่วยคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้นานที่สุด และต้องให้อาหารให้ครบหมู่ เพราะระยะหลังของโรคมักกลืนลำบาก จึงอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้กล้ามเนื้อยิ่งอ่อนแรง และ 3. การใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยครอบครัวและญาติต้องช่วยให้กำลังใจผู้ป่วย เพราะมีความทุกข์ทรมานจากโรค เนื่องจากรับรู้อาการทั้งหมดตลอด” นพ.สมชาย กล่าว
นพ.สมชาย กล่าวว่า โรคนี้โรงพยาบาลในสังกัด สธ. สามารถวินิจฉัยได้ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมารักษาที่สถาบันประสาทวิยา แต่ปัญหาคือเมื่อถึงจุดหนึ่งในการรักษาจำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งต้องใช้ตลอดเวลา แต่เป็นอุปกรณ์ที่ขาดแคลน การรณรงค์ Ice Bucket Challenge เพื่อบริจาคช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องที่ดี โดยสถาบันประสาทวิทยาได้จัดตั้ง กองทุนผู้ป่วย ALS ขึ้นมาโดยเฉพาะ ผู้ที่ต้องการบริจาคช่วยเหลือสามารถทำได้โดย สั่งจ่ายเช็คในนาม มูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา หรือโอนเงินเข้าบัญชี ธ.กรุงไทย สาขาเตาปูน เลขที่ 020-1-33312-0 ธ.กรุงเทพ สาขาอาคารพระเทพฯ เลขที่ 090-712612-2 และ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี เลขที่ 026-430952-1 ซึ่งสถาบันฯ จะแสดงยอดการบริจาคและยอดการใช้เงินบริจาคที่หน้าเว็บไซต์ของสถาบันฯ
นพ.บุญชัย พิพัฒน์วณิชกุล ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า มีผู้ป่วยโรคนี้มารักษากับสถาบันฯ รวมแล้ว 100 กว่าราย โดยเป็นคนไข้ใน 24 ราย มีปัญหาระบบหายใจ 10 กว่าราย พบผู้ป่วยรายใหม่เดือนละประมาณ 1 - 2 ราย โรคนี้หากรู้ตัวเร็วและรีบทำการรักษาก็จะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน ทั้งนี้ ในต่างประเทศมีข้อมูลว่าพบผู้ป่วยในกลุ่มที่เล่นกีฬาหรืออกกำลังกายโดยการใช้แรงกระแทก แต่ยังไม่พบข้อมูลความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากคนออกกำลังกายมีสุขภาพแข็งแรง เมื่อป่วยจึงอาจสังเกตอาการได้ชัดกว่าคนทั่วไป
ด้าน พญ.ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ หัวหน้ากลุ่มงานประสาทวิทยา สถาบันประสาทฯ กล่าวว่า กองทุนดังกล่าวจะนำมาช่วยเหลือในเรื่องของอุปกรณ์ในการรักษา เพราะค่าใช้จ่ายโรคนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง โดยยาที่ช่วยในการกลืนค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1 พันบาทต่อวัน แต่มักไม่แนะนำให้ใช้ เพราะเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่กินยาแล้วช่วยยืดอายุได้เพียงประมาณ 3 เดือนเท่านั้น และยังไม่รวมอยู่ในสิทธิการรักษาด้วย ส่วนคนที่ไม่สามารถดูแลด้วยตัวเองได้ก็ต้องมีการจ้างคนดูแล ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ใส่สายอาหาร ต้องดูดเสมหะเป็นประจำ ค่าใช้จ่ายก็อยู่ที่ประมาณ 3 - 5 หมื่นบาทต่อเดือนต่อราย นอกจากนี้ จะนำเงินในกองทุนมาใช้ในการศึกษาวิจัยวิธีการรักษาแบบใหม่ๆ ด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงการรณรงค์ด้วยการทำ Ice Bucket Challenge ที่มีการราดน้ำเย็นๆ ใส่ตัวเอง มีข้อควรระวังในเรื่องใดบ้าง พญ.ทัศนีย์ กล่าวว่า การราดน้ำเย็นลงบนตัว เพื่อให้เห็นว่าเมื่อเวลาถูกน้ำเย็นๆ ราดบนตัวจะเกิดอาการสั่น ควบคุมตัวไม่ได้ เกิดความทุกข์ทรมานเช่นเดียวกับผู้ที่ป่วยโรคนี้ อย่างไรก็ตาม การทำจะต้องระมัดระวัง เพราะมีกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการยกถังน้ำที่มีขนาดหนักแล้วหล่นใส่ศีรษะตัวเองจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจมีอันตรายถึงขั้นคอหักเสียชีวิตได้ จึงควรให้ผู้อื่นราดน้ำให้มากกว่า นอกจากนี้ หากใช้น้ำที่ไม่สะอาด เมื่อเทใส่ร่างกายก็อาจเข้าไปในหู ตา จมูก ปาก จนเกิดการติดเชื้อได้
นพ.สมชาย กล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิต้านทานต่ำ ไม่ควรทำกิจกรรมนี้ เพราะการที่ราดน้ำเย็นลงบนตัวจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคปอด ภูมิแพ้ อาจเกิดอาการหอบได้
ขณะที่ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผู้ที่คิดจะเล่น Ice Bucket Challenge ควรระวัง เพราะช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนมีความชื้นในอากาศสูง อาจเสี่ยงทำให้เป็นปอดบวมได้ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอดบวม หอบหืด ความดัน และโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากความเย็นของน้ำที่ถูกร่างกายแบบเฉียบพลัน อาจทำให้หลอดเลือดหดตัวกะทันหัน จึงอยากเตือนให้เล่นกันอย่างระมัดระวัง และหลังร่วมกิจกรรมเสร็จแล้ว ควรรีบปรับสภาพร่างกายให้กลับมาอบอุ่นโดยไว เช่น รีบเปลี่ยนเสื้อผ้า เช็ดตัว และศีรษะให้แห้งโดยไว ไม่ใส่ชุดที่เปียกเป็นเวลานาน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่