“เมาไม่ขับ” หนุนลงโทษคนไทยขับรถชนเด็กยุ่นตาย 1 ราย สูงสุดตามกฎหมายญี่ปุ่น หวังเป็นบทเรียนเลิกพฤติกรรมเมาแล้วขับ เหตุคนไทยมองเป็นเรื่องเล็ก แต่คนญี่ปุ่นมองเป็นเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน เผยร่าง กม. ส่ง สนช. พิจารณามี กม. ให้ ตร. ตรวจแอลกอฮอล์หลังเกิดอุบัติเหตุ
วันนี้ (19 ส.ค.) นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีคนไทย 3 คนขับรถชนนักเรียนญี่ปุ่นเสียชีวิต 1 ราย จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสังคมญี่ปุ่น ว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่จะให้ความช่วยเหลือ หรือเข้าไปแทรกแซงให้พ้นคดีความจากการเอาผิดตามกระบวนการกฎหมายของญี่ปุ่น ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมของบ้านเขา เพราะผู้กระทำผิดก็ควรได้รับการลงโทษ มิเช่นนั้นก็จะเหมือนกับประเทศไทยที่กลายเป็นระบบอุปถัมภ์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นบทเรียนและกรณีศึกษาสำหรับคนไทยไม่ให้ก่อเหตุเมาแล้วขับเช่นนี้อีก
“พฤติกรรมเมาแล้วขับถือเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงมากของชาวญี่ปุ่น เพราะเขาเคยมีเหตุเมาแล้วขับรถชนคนตายมาก่อน จนต้องออกกฎหมายและกำหนดอัตราโทษไว้สูงมาก เพื่อป้องกันเหตุการณ์ลักษณะนี้ คนญี่ปุ่นซึ่งมีวินัจึงไม่มีพฤติกรรมเมาแล้วขับเพราะเขาใส่ใจเรื่องนี้ มองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่คนไทยไม่คิดแบบนั้น เพราะมองว่าเป็นเรื่องเล็ก ตราบใดที่ยังไม่ชนคนอื่นก็ไม่ถือว่าละเมิด ทั้งที่จริงแล้วเมาแล้วขับเป็นต้นเหตุที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุขับรถชนคนอื่นจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต” นพ.แท้จริง กล่าว
นพ.แท้จริง กล่าวอีกว่า ส่วนข้อกังวลที่ว่าอาจส่งผลกระทบต่อการอนุญาตให้คนไทยเข้าประเทศนั้น คงต้องเป็นเรื่องที่ทางโน้นพิจารณาต่อไป สำหรับประเทศไทยเห็นควรที่จะออกกฎหมายอนุญาตให้ตำรวจสามารถตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดหลังเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะทุกวันนี้ไม่มีกฎหมายรองรับ เมื่อเวลาเมาแล้วขับก็มักจะมีการเลี่ยงไม่ยอมเป่าวัดแอลกอฮอล์ ซึ่งต่างประเทศล้วนมีกฎหมายนี้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบกฎหมายที่จะเสนอ สนช. พิจารณาพบว่า กฎหมาย 1 ใน 40 ฉบับมีกฎหมายนี้ด้วย นับว่าเป็นเรื่องดี
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (19 ส.ค.) นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีคนไทย 3 คนขับรถชนนักเรียนญี่ปุ่นเสียชีวิต 1 ราย จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสังคมญี่ปุ่น ว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่จะให้ความช่วยเหลือ หรือเข้าไปแทรกแซงให้พ้นคดีความจากการเอาผิดตามกระบวนการกฎหมายของญี่ปุ่น ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมของบ้านเขา เพราะผู้กระทำผิดก็ควรได้รับการลงโทษ มิเช่นนั้นก็จะเหมือนกับประเทศไทยที่กลายเป็นระบบอุปถัมภ์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นบทเรียนและกรณีศึกษาสำหรับคนไทยไม่ให้ก่อเหตุเมาแล้วขับเช่นนี้อีก
“พฤติกรรมเมาแล้วขับถือเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงมากของชาวญี่ปุ่น เพราะเขาเคยมีเหตุเมาแล้วขับรถชนคนตายมาก่อน จนต้องออกกฎหมายและกำหนดอัตราโทษไว้สูงมาก เพื่อป้องกันเหตุการณ์ลักษณะนี้ คนญี่ปุ่นซึ่งมีวินัจึงไม่มีพฤติกรรมเมาแล้วขับเพราะเขาใส่ใจเรื่องนี้ มองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่คนไทยไม่คิดแบบนั้น เพราะมองว่าเป็นเรื่องเล็ก ตราบใดที่ยังไม่ชนคนอื่นก็ไม่ถือว่าละเมิด ทั้งที่จริงแล้วเมาแล้วขับเป็นต้นเหตุที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุขับรถชนคนอื่นจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต” นพ.แท้จริง กล่าว
นพ.แท้จริง กล่าวอีกว่า ส่วนข้อกังวลที่ว่าอาจส่งผลกระทบต่อการอนุญาตให้คนไทยเข้าประเทศนั้น คงต้องเป็นเรื่องที่ทางโน้นพิจารณาต่อไป สำหรับประเทศไทยเห็นควรที่จะออกกฎหมายอนุญาตให้ตำรวจสามารถตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดหลังเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะทุกวันนี้ไม่มีกฎหมายรองรับ เมื่อเวลาเมาแล้วขับก็มักจะมีการเลี่ยงไม่ยอมเป่าวัดแอลกอฮอล์ ซึ่งต่างประเทศล้วนมีกฎหมายนี้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบกฎหมายที่จะเสนอ สนช. พิจารณาพบว่า กฎหมาย 1 ใน 40 ฉบับมีกฎหมายนี้ด้วย นับว่าเป็นเรื่องดี
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่