แม่ตั้งครรภ์เสี่ยงภาวะฉุกเฉิน ทั้งท้องนอกมดลูก ครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง อาจตายทั้งแม่และเด็ก แนะวิธีสังเกตอาการ หากพบเหตุด่วย โทร. 1669 ช่วยเหลือ
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ช่วงตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะฉุกเฉิน 2 ช่วง คือ 1. ครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงมาจากภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เกิดจากหลายสาเหตุและจะมีความรุนแรงต่างกันออกไป อาทิ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ภาวะตกเลือดออกมาให้เห็นภายนอกจากการแท้ง และภาวะเลือดออกในช่องท้องจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก อาจทำให้แม่เสียเลือดมาก ถือเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ในครึ่งแรก กลุ่มเสี่ยงคือ หญิงที่มีประวัติตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน มีภาวะการอักเสบของอุ้งเชิงกราน และมีผังผืดจากการผ่าตัด
นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูกสังเกตได้ โดยแม่จะปวดท้องข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมาโดยฉับพลัน มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด สลับกับมีอาการหน้าท้องอืดตึง พร้อมทั้งคลำเจอก้อนที่ท้อง มีอาการอ่อนเพลียหรือหน้ามืดขณะลุกขึ้นนั่ง นอกจากนี้ ยังพบภาวะความดันโลหิตต่ำและชีพจรเต้นเร็ว รวมถึงช่วง 28 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงจากการแท้งลูก ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประการทั้งจากตัวแม่ ลูก และรก โดยอาการบ่งชี้ถึงการแท้ง แม่จะปวดท้อง บีบเกร็ง ลักษณะเหมือนการเจ็บท้องคลอด และจะมีเลือดออกจากช่องคลอดเป็นสีแดงคล้ำหรือสีแดงสด พร้อมทั้งมีก้อนเลือดหรือเนื้อเยื่อออกมาทางช่องคลอด
นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า 2. ครึ่งหลังของการตั้งครรภ์และคลอด มาจากภาวะความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งแม่และเด็ก ซึ่งอาการครรภ์เป็นพิษหลายรายเกิดขึ้นในระหว่างการเจ็บครรภ์และระหว่างการคลอด โดยแม่จะมีอาการความดันโลหิตสูงมาก อวัยวะภายในร่างกายหลายระบบล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้แม่และเด็กเสียขีวิตจากภาวะหลอดเลือดตีบ เนื่องจากอวัยวะต่างๆ ได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง ซึ่งในบางรายที่มีอาการหนักจะทำให้เกิดอาการชักและมีเลือดออกในสมอง ทั้งนี้ แม่ที่ครรภ์เป็นพิษ จะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว เกิดอาการบวมที่ขาแขน หรือใบหน้า มีน้ำหนักตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และปวดท้องจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หากพบเห็นแม่ที่มีอาการดังกล่าวทั้งหมดควรรีบ โทร. แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ช่วงตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะฉุกเฉิน 2 ช่วง คือ 1. ครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงมาจากภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เกิดจากหลายสาเหตุและจะมีความรุนแรงต่างกันออกไป อาทิ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ภาวะตกเลือดออกมาให้เห็นภายนอกจากการแท้ง และภาวะเลือดออกในช่องท้องจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก อาจทำให้แม่เสียเลือดมาก ถือเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ในครึ่งแรก กลุ่มเสี่ยงคือ หญิงที่มีประวัติตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน มีภาวะการอักเสบของอุ้งเชิงกราน และมีผังผืดจากการผ่าตัด
นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูกสังเกตได้ โดยแม่จะปวดท้องข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมาโดยฉับพลัน มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด สลับกับมีอาการหน้าท้องอืดตึง พร้อมทั้งคลำเจอก้อนที่ท้อง มีอาการอ่อนเพลียหรือหน้ามืดขณะลุกขึ้นนั่ง นอกจากนี้ ยังพบภาวะความดันโลหิตต่ำและชีพจรเต้นเร็ว รวมถึงช่วง 28 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงจากการแท้งลูก ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประการทั้งจากตัวแม่ ลูก และรก โดยอาการบ่งชี้ถึงการแท้ง แม่จะปวดท้อง บีบเกร็ง ลักษณะเหมือนการเจ็บท้องคลอด และจะมีเลือดออกจากช่องคลอดเป็นสีแดงคล้ำหรือสีแดงสด พร้อมทั้งมีก้อนเลือดหรือเนื้อเยื่อออกมาทางช่องคลอด
นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า 2. ครึ่งหลังของการตั้งครรภ์และคลอด มาจากภาวะความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งแม่และเด็ก ซึ่งอาการครรภ์เป็นพิษหลายรายเกิดขึ้นในระหว่างการเจ็บครรภ์และระหว่างการคลอด โดยแม่จะมีอาการความดันโลหิตสูงมาก อวัยวะภายในร่างกายหลายระบบล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้แม่และเด็กเสียขีวิตจากภาวะหลอดเลือดตีบ เนื่องจากอวัยวะต่างๆ ได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง ซึ่งในบางรายที่มีอาการหนักจะทำให้เกิดอาการชักและมีเลือดออกในสมอง ทั้งนี้ แม่ที่ครรภ์เป็นพิษ จะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว เกิดอาการบวมที่ขาแขน หรือใบหน้า มีน้ำหนักตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และปวดท้องจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หากพบเห็นแม่ที่มีอาการดังกล่าวทั้งหมดควรรีบ โทร. แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่