ผลสำรวจประชาชนต่อการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ พบปริมาณรถน้อย แย่งลูกค้า ต้องปรับปรุงคุณภาพความปลอดภัย ชี้ขึ้นค่าบริการไม่ช่วยเพิ่มมาตรฐานการบริการ
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,128 คน สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.24 ขณะที่ร้อยละ 48.76 เป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 31.56 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25 ถึง 34 ปี นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 37.23 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง/พนักงานในห้างร้านหรือบริษัทเอกชน ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจและนักเรียน/นักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 30.41 ร้อยละ 24.73 และร้อยละ 22.25 ตามลำดับ
ในด้านพฤติกรรมการใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 36.35 ระบุว่าในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาตนเองใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะประมาณ 5 - 6 วันต่อสัปดาห์ รองลงมาใช้บริการเป็นประจำทุกวัน และใช้บริการประมาณ 2-4 วัน/สัปดาห์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 26.68 และร้อยละ 24.38 ตามลำดับ โดยสาเหตุสำคัญสูงสุด 5 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะ คือ ราคาค่าบริการไม่สูง คิดเป็นร้อยละ 82.54 ไม่มีพาหนะส่วนตัวในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 80.23 ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้พาหนะส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 76.42 ไม่สะดวกในการนำพาหนะส่วนตัวไป คิดเป็นร้อยละ 71.72 และเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้สะดวก คิดเป็นร้อยละ 68.09
ส่วนปัญหาที่กลุ่มตัวอย่างพบมากที่สุด 5 อันดับจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะ ได้แก่ ปริมาณรถให้บริการมีน้อย/ไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 82.09 พนักงานขับรถแข่งกันแย่งผู้โดยสาร คิดเป็นร้อยละ 79.34 จอดรถไม่ตรงป้าย/ไม่ทุกป้าย คิดเป็นร้อยละ 77.48 สภาพยานพาหนะไม่พร้อมให้บริการ เช่น หน้าต่างเสีย ประตูเสีย คิดเป็นร้อยละ 75.53 และยานพาหนะไม่มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 72.78 สำหรับสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะปรับปรุงมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อบรมคุณภาพการขับรถให้มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 83.69 ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการ เช่น จอดให้ตรงป้าย จอดทุกป้าย คิดเป็นร้อยละ 81.56 ปรับปรุงสภาพยานพาหนะให้มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 78.81 ปรับปรุงอุปกรณ์ เช่น ประตู หน้าต่าง บันได ให้ใช้งานได้สะดวก คิดเป็นร้อยละ 75.89 และเพิ่มปริมาณรถให้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 72.52
ด้านความคิดเห็นต่อการให้บริการของรถโดยสารประจำทางสาธารณะนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 57.18 ไม่เชื่อว่าการขึ้นค่าบริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 30.41 เชื่อว่าการนำเอารถโดยสารประจำทางสาธารณะใหม่มาให้บริการจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้ ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.96 ไม่เชื่อว่าการนำเอารถโดยสารประจำทางสาธารณะใหม่มาให้บริการจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 59.22 เชื่อว่าการเพิ่มสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงานขับรถ/พนักงานเก็บเงินจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวมของรถโดยสารประจำทางสาธารณะดีขึ้น
ส่วนระดับคะแนนความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการให้บริการของรถโดยสารประจำทางโดยรวมนั้นอยู่ที่ 5.36 จากคะแนนเต็ม 10 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า จากคะแนนเต็ม 10 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อราคาค่าบริการสูงสุดโดยได้คะแนน 6.38 ส่วนด้านที่ได้รับความพึงพอใจน้อยที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัยในการเดินทางและจำนวนพาหนะที่ให้บริการโดยได้คะแนน 4.75 และ 4.63 ตามลำดับ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,128 คน สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.24 ขณะที่ร้อยละ 48.76 เป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 31.56 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25 ถึง 34 ปี นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 37.23 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง/พนักงานในห้างร้านหรือบริษัทเอกชน ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจและนักเรียน/นักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 30.41 ร้อยละ 24.73 และร้อยละ 22.25 ตามลำดับ
ในด้านพฤติกรรมการใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 36.35 ระบุว่าในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาตนเองใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะประมาณ 5 - 6 วันต่อสัปดาห์ รองลงมาใช้บริการเป็นประจำทุกวัน และใช้บริการประมาณ 2-4 วัน/สัปดาห์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 26.68 และร้อยละ 24.38 ตามลำดับ โดยสาเหตุสำคัญสูงสุด 5 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะ คือ ราคาค่าบริการไม่สูง คิดเป็นร้อยละ 82.54 ไม่มีพาหนะส่วนตัวในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 80.23 ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้พาหนะส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 76.42 ไม่สะดวกในการนำพาหนะส่วนตัวไป คิดเป็นร้อยละ 71.72 และเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้สะดวก คิดเป็นร้อยละ 68.09
ส่วนปัญหาที่กลุ่มตัวอย่างพบมากที่สุด 5 อันดับจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะ ได้แก่ ปริมาณรถให้บริการมีน้อย/ไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 82.09 พนักงานขับรถแข่งกันแย่งผู้โดยสาร คิดเป็นร้อยละ 79.34 จอดรถไม่ตรงป้าย/ไม่ทุกป้าย คิดเป็นร้อยละ 77.48 สภาพยานพาหนะไม่พร้อมให้บริการ เช่น หน้าต่างเสีย ประตูเสีย คิดเป็นร้อยละ 75.53 และยานพาหนะไม่มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 72.78 สำหรับสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะปรับปรุงมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อบรมคุณภาพการขับรถให้มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 83.69 ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการ เช่น จอดให้ตรงป้าย จอดทุกป้าย คิดเป็นร้อยละ 81.56 ปรับปรุงสภาพยานพาหนะให้มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 78.81 ปรับปรุงอุปกรณ์ เช่น ประตู หน้าต่าง บันได ให้ใช้งานได้สะดวก คิดเป็นร้อยละ 75.89 และเพิ่มปริมาณรถให้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 72.52
ด้านความคิดเห็นต่อการให้บริการของรถโดยสารประจำทางสาธารณะนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 57.18 ไม่เชื่อว่าการขึ้นค่าบริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 30.41 เชื่อว่าการนำเอารถโดยสารประจำทางสาธารณะใหม่มาให้บริการจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้ ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.96 ไม่เชื่อว่าการนำเอารถโดยสารประจำทางสาธารณะใหม่มาให้บริการจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 59.22 เชื่อว่าการเพิ่มสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงานขับรถ/พนักงานเก็บเงินจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวมของรถโดยสารประจำทางสาธารณะดีขึ้น
ส่วนระดับคะแนนความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการให้บริการของรถโดยสารประจำทางโดยรวมนั้นอยู่ที่ 5.36 จากคะแนนเต็ม 10 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า จากคะแนนเต็ม 10 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อราคาค่าบริการสูงสุดโดยได้คะแนน 6.38 ส่วนด้านที่ได้รับความพึงพอใจน้อยที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัยในการเดินทางและจำนวนพาหนะที่ให้บริการโดยได้คะแนน 4.75 และ 4.63 ตามลำดับ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่