อธิการ มศว ชงแก้ กม. กฎระเบียบ จัดตั้งสภาปฏิรูปการศึกษาสร้างภูมิคุ้มกันสกัดการเมืองมาป่วนงานการศึกษา พร้อมแนะปรับปรุง หรือยุบ สมศ. ชี้เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา ระบบการศึกษาควรเตรียมคนออกไปสู่ตลาดแรงงาน อัปเกรดคนในวัยทำงานให้มีคุณภาพดีที่ขึ้น
วันนี้ (9 ก.ค.) ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร กลุ่มนักวิชาการ นักการศึกษาภาคประชาสังคม จัดประชุมหารือแนวทางข้อเสนอปฏิบัติการศึกษา (ระยะสั้นและระยะยาว) เพื่อส่งมอบต่อ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ โดย ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว กล่าวตอนหนึ่งว่า การปฏิรูปการศึกษา เป็นเรื่องที่มีการดำเนินการมาตลอด เพียงแต่ที่ผ่านมามีบางเรื่องที่ทำได้ และบางเรื่องที่ทำไม่ได้แต่ครั้งนี้เป็นภาวะพิเศษ ตนจึงอยากเสนอให้ทำในเรื่องที่ถ้าเป็นภาวะปกติไม่สามารถทำได้หรือทำได้ยาก คือ การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ที่จะวางระบบ โครงสร้างที่สำคัญเพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ต่อไปได้หลังจากที่มีการเลือกตั้ง หรือมีรัฐบาลชุดปกติแล้ว
อธิการ มศว กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ อยากเสนอให้ใช้โอกาสนี้ปฏิรูปและดำเนินการหลายประเด็น อาทิ การตั้งสภาเพื่อคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการศึกษาตามแผนต่างๆ ที่ต่อให้มีรัฐบาลชุดใหม่แล้วก็ไม่มายุ่งเกี่ยวกับการขับเคลื่อนต่างๆ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันองค์กร การจัดตั้งหน่วยงานหรือสถาบันวิจัยระบบการศึกษา การพิจารณาให้ปรับปรุงหรือยกเลิกสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพราะจากการหารือในส่วนของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชมงคล ต่างเห็นตรงกันว่า การประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. เป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่สถาบันการศึกษา เป็นอุปสรรค ภาระในการจัดการศึกษา รวมทั้งขอให้เร่งผลักดันพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่จะออกเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และจัดทำระเบียบตั้งงบประมาณสนับสนุนให้กับสื่อน้ำดีที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมให้มีโอกาสแข่งขันทางธุรกิจ
ด้าน ศ.ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ระบบการศึกษาของไทยเหมือนกับท่อน้ำที่ดูแลเฉพาะเด็กที่อยู่ในท่อ 2 - 3 ล้านคน โดยลืมไปว่ายังมีเด็กอีกประมาณ 30 - 40 ล้านคน ที่อยู่ค้างท่อ หรือออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงาน อีกทั้งตอนนี้เราสนใจแต่เรื่องวุฒิการศึกษาไม่ได้ดูว่าจะเอาความรู้อะไรไปทำงาน ทำให้ผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษายาวนานถึง 16 ปี ใช้งบประมาณมาก ก็ยังได้คนไม่มีคุณภาพ ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ จะทำอย่างไรให้คนที่อยู่ในท่อและนอกท่อเป็นคนดี เก่ง มีคุณภาพ ซึ่งทุกภาคส่วนโดยเฉพาะในส่วนของภาคท้องถิ่น ชุมชน เอกชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาปรับปรุงหลักสูตร เตรียมคนออกไปสู่ตลาดแรงงาน และอัปเกรดคนในวัยทำงานให้มีคุณภาพดีที่ขึ้น รวมถึงควรจะมีการพัฒนากลุ่มคนผู้สูงอายุ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้สามารถทำงาน ฝึกอาชีพได้ นอกจากนั้น ในเรื่องของการศึกษาอยากให้รัฐบาลถ่อยออกห่างๆ แล้วเปิดโอกาสให้ ภาคเอกชน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 ก.ค.) ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร กลุ่มนักวิชาการ นักการศึกษาภาคประชาสังคม จัดประชุมหารือแนวทางข้อเสนอปฏิบัติการศึกษา (ระยะสั้นและระยะยาว) เพื่อส่งมอบต่อ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ โดย ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว กล่าวตอนหนึ่งว่า การปฏิรูปการศึกษา เป็นเรื่องที่มีการดำเนินการมาตลอด เพียงแต่ที่ผ่านมามีบางเรื่องที่ทำได้ และบางเรื่องที่ทำไม่ได้แต่ครั้งนี้เป็นภาวะพิเศษ ตนจึงอยากเสนอให้ทำในเรื่องที่ถ้าเป็นภาวะปกติไม่สามารถทำได้หรือทำได้ยาก คือ การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ที่จะวางระบบ โครงสร้างที่สำคัญเพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ต่อไปได้หลังจากที่มีการเลือกตั้ง หรือมีรัฐบาลชุดปกติแล้ว
อธิการ มศว กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ อยากเสนอให้ใช้โอกาสนี้ปฏิรูปและดำเนินการหลายประเด็น อาทิ การตั้งสภาเพื่อคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการศึกษาตามแผนต่างๆ ที่ต่อให้มีรัฐบาลชุดใหม่แล้วก็ไม่มายุ่งเกี่ยวกับการขับเคลื่อนต่างๆ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันองค์กร การจัดตั้งหน่วยงานหรือสถาบันวิจัยระบบการศึกษา การพิจารณาให้ปรับปรุงหรือยกเลิกสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพราะจากการหารือในส่วนของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชมงคล ต่างเห็นตรงกันว่า การประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. เป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่สถาบันการศึกษา เป็นอุปสรรค ภาระในการจัดการศึกษา รวมทั้งขอให้เร่งผลักดันพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่จะออกเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และจัดทำระเบียบตั้งงบประมาณสนับสนุนให้กับสื่อน้ำดีที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมให้มีโอกาสแข่งขันทางธุรกิจ
ด้าน ศ.ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ระบบการศึกษาของไทยเหมือนกับท่อน้ำที่ดูแลเฉพาะเด็กที่อยู่ในท่อ 2 - 3 ล้านคน โดยลืมไปว่ายังมีเด็กอีกประมาณ 30 - 40 ล้านคน ที่อยู่ค้างท่อ หรือออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงาน อีกทั้งตอนนี้เราสนใจแต่เรื่องวุฒิการศึกษาไม่ได้ดูว่าจะเอาความรู้อะไรไปทำงาน ทำให้ผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษายาวนานถึง 16 ปี ใช้งบประมาณมาก ก็ยังได้คนไม่มีคุณภาพ ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ จะทำอย่างไรให้คนที่อยู่ในท่อและนอกท่อเป็นคนดี เก่ง มีคุณภาพ ซึ่งทุกภาคส่วนโดยเฉพาะในส่วนของภาคท้องถิ่น ชุมชน เอกชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาปรับปรุงหลักสูตร เตรียมคนออกไปสู่ตลาดแรงงาน และอัปเกรดคนในวัยทำงานให้มีคุณภาพดีที่ขึ้น รวมถึงควรจะมีการพัฒนากลุ่มคนผู้สูงอายุ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้สามารถทำงาน ฝึกอาชีพได้ นอกจากนั้น ในเรื่องของการศึกษาอยากให้รัฐบาลถ่อยออกห่างๆ แล้วเปิดโอกาสให้ ภาคเอกชน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่