หมออนามัยเฮ! ตั้งสภาวิชาชีพได้แล้ว เร่งหาสถานที่ตั้งสภา สรุปแผนใช้งบดำเนินการปี 2557 ราว 5 ล้านบาท จ่อออกเกณฑ์คุมหมออนามัย 3 สาขา
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ในฐานะเลขาธิการสภาการสาธารณสุขชุมชน และเลขานุการคณะกรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน กล่าวถึงผลของการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา ว่า นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะนายกสภาการสาธารณสุขชุมชน ไม่ได้เข้าร่วมประชุม แต่มอบหมายให้ นพ.ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัด สธ. ทำหน้าที่แทน ซึ่งที่ประชุมแจ้งว่าปลัด สธ. ได้แต่งตั้งรักษากรนิติกรเชี่ยวชาญแล้ว หลังจากที่ขาดตำแหน่งนี้มานาน ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ไม่สามารถตั้งสภาวิชาชีพการสาธารณสุข เพื่อดูแลเจ้าหน้าที่อนามัยทั้งประเทศราว 7 หมื่นคนได้ ทำให้ขณะนี้จึงมีสภาวิชาชีพการสาธารณสุขโดยปริยาย เหลือเพียงการหาสถานที่ตั้งของสภาวิชาชีพฯ ว่าจะเป็นสถานที่ใด
นายไพศาล กล่าวว่า นอกจากนี้ จะต้องเตรียมจัดหางบประมาณสำหรับการทำงานของสภาฯ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ สธ.จะต้องดำเนินการรองรับ มิเช่นนั้นสภาฯ จะไม่สามารถเดินหน้าทำงานต่อไปได้ ประธานที่ประชุมจึงมอบให้ นพ.อภิชาติ รอดสม ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก เร่งจัดหาพื้นที่ตั้งสำนักงานฯ ส่วนเรื่องงบประมาณจะใช้งบเงินอุดหนุนของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ต้องดูระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณไปด้วย ที่ประชุมกรรมการมอบให้ นางทัศนีย์ บัวคำ กรรมการสภาฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการ จากมติที่ประชุมกรรมการสภาฯ ให้ปรับแผนงบประมาณที่ตั้งไว้ในปีงบประมาณ 2557 ใหม่ โดยมุ่งไปที่แผนการบริหารจัดการเรื่องการรับสมัครสมาชิก และค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก และแผนการจัดการเลือกตั้ง กรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน ตามบทเฉพาะกาลที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 โดยสรุปแผนงบประมาณที่จะใช้ในการทำงานของสภาฯ ปี 2557 รวมเงินกว่า 5 ล้านบาท
“หากมีสภาฯก็จะทำงานได้เต็มที่ โดยจะดูแลและควบคุมมาตรฐานของเจ้าหน้าที่การสาธารณสุข หรือที่เรียกกันว่าหมออนามัยให้มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่มหมออนามัยออกเป็น 1. หมออนามัยด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ รักษาพยาบาลโรคทั่วไป 2. การป้องกันควบคุมโรค และ 3. อาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม หากเดินหน้าได้ก็จะทำให้หมออนามัยได้รับมาตรฐาน เป็นที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น” นายไพศาล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ในฐานะเลขาธิการสภาการสาธารณสุขชุมชน และเลขานุการคณะกรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน กล่าวถึงผลของการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา ว่า นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะนายกสภาการสาธารณสุขชุมชน ไม่ได้เข้าร่วมประชุม แต่มอบหมายให้ นพ.ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัด สธ. ทำหน้าที่แทน ซึ่งที่ประชุมแจ้งว่าปลัด สธ. ได้แต่งตั้งรักษากรนิติกรเชี่ยวชาญแล้ว หลังจากที่ขาดตำแหน่งนี้มานาน ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ไม่สามารถตั้งสภาวิชาชีพการสาธารณสุข เพื่อดูแลเจ้าหน้าที่อนามัยทั้งประเทศราว 7 หมื่นคนได้ ทำให้ขณะนี้จึงมีสภาวิชาชีพการสาธารณสุขโดยปริยาย เหลือเพียงการหาสถานที่ตั้งของสภาวิชาชีพฯ ว่าจะเป็นสถานที่ใด
นายไพศาล กล่าวว่า นอกจากนี้ จะต้องเตรียมจัดหางบประมาณสำหรับการทำงานของสภาฯ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ สธ.จะต้องดำเนินการรองรับ มิเช่นนั้นสภาฯ จะไม่สามารถเดินหน้าทำงานต่อไปได้ ประธานที่ประชุมจึงมอบให้ นพ.อภิชาติ รอดสม ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก เร่งจัดหาพื้นที่ตั้งสำนักงานฯ ส่วนเรื่องงบประมาณจะใช้งบเงินอุดหนุนของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ต้องดูระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณไปด้วย ที่ประชุมกรรมการมอบให้ นางทัศนีย์ บัวคำ กรรมการสภาฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการ จากมติที่ประชุมกรรมการสภาฯ ให้ปรับแผนงบประมาณที่ตั้งไว้ในปีงบประมาณ 2557 ใหม่ โดยมุ่งไปที่แผนการบริหารจัดการเรื่องการรับสมัครสมาชิก และค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก และแผนการจัดการเลือกตั้ง กรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน ตามบทเฉพาะกาลที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 โดยสรุปแผนงบประมาณที่จะใช้ในการทำงานของสภาฯ ปี 2557 รวมเงินกว่า 5 ล้านบาท
“หากมีสภาฯก็จะทำงานได้เต็มที่ โดยจะดูแลและควบคุมมาตรฐานของเจ้าหน้าที่การสาธารณสุข หรือที่เรียกกันว่าหมออนามัยให้มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่มหมออนามัยออกเป็น 1. หมออนามัยด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ รักษาพยาบาลโรคทั่วไป 2. การป้องกันควบคุมโรค และ 3. อาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม หากเดินหน้าได้ก็จะทำให้หมออนามัยได้รับมาตรฐาน เป็นที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น” นายไพศาล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่