บอร์ด กอศ. ไฟเขียวหลักสูตร ปวส. 8 ประเภทวิชา 50 สาขาวิชา ชี้ปรับปรุงให้ยืดหยุ่นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รองรับก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ กอศ. มีมติเห็นชอบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พ.ศ. 2556 เพิ่มเติม 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมฟอกหนัง การพิมพ์สกรีน ออกแบบนิเทศศิลป์ และธุรกิจคหกรรม และมีมติเห็นชอบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2557 จำนวน 8 ประเภทวิชา 50 สาขาวิชา อาทิ เทคนิคเครื่องกล เทคนิคการผลิต การบัญชี การตลาด โลจิสติกส์ วิจิตรศิลป์ เทคโนโลยีเซรามิก เป็นต้น โดยจะนำร่องใช้ และประเมินผลหลักสูตรดังกล่าวใน 11 วิทยาลัยทั้งของรัฐ และเอกชน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ก่อนจะนำมาใช้กับวิทยาลัยทุกแห่งทั่วประเทศ ในปีการศึกษา 2558
“หลักสูตร ปวส. ฉบับใหม่นี้ จะต่างจากหลักสูตร ปวส. พ.ศ. 2546 ที่ใช้อยู่เดิม โดยได้ปรับปรุงให้มีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในเรื่องอาชีพ รวมทั้งรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย ซึ่งในการทดลองใช้หลักสูตรดังกล่าว จะนำร่องทั้งระบบ ตั้งแต่การนำหลักสูตรไปใช้ โดยจะดูว่าแต่ละแห่งมีการบริหาร การแปลงหลักสูตรสู่การสอน การจัดทำสื่อ และการประเมินผลอย่างไร” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้การจัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ซึ่งในหมวดนี้ประกอบด้วย 6 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สามารถจัดการเรียนการสอนได้ในลักษณะเป็นรายวิชา หรือบูรณาการให้ครอบคลุมทั้ง 6 วิชาในสัดส่วนที่เหมาะสมได้ จากเดิมที่กำหนดว่าจะต้องสอนแยกเป็นรายวิชาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้รองรับกับหลักการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง และการบูรณาการการเรียนรู้วิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ กอศ. มีมติเห็นชอบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พ.ศ. 2556 เพิ่มเติม 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมฟอกหนัง การพิมพ์สกรีน ออกแบบนิเทศศิลป์ และธุรกิจคหกรรม และมีมติเห็นชอบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2557 จำนวน 8 ประเภทวิชา 50 สาขาวิชา อาทิ เทคนิคเครื่องกล เทคนิคการผลิต การบัญชี การตลาด โลจิสติกส์ วิจิตรศิลป์ เทคโนโลยีเซรามิก เป็นต้น โดยจะนำร่องใช้ และประเมินผลหลักสูตรดังกล่าวใน 11 วิทยาลัยทั้งของรัฐ และเอกชน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ก่อนจะนำมาใช้กับวิทยาลัยทุกแห่งทั่วประเทศ ในปีการศึกษา 2558
“หลักสูตร ปวส. ฉบับใหม่นี้ จะต่างจากหลักสูตร ปวส. พ.ศ. 2546 ที่ใช้อยู่เดิม โดยได้ปรับปรุงให้มีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในเรื่องอาชีพ รวมทั้งรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย ซึ่งในการทดลองใช้หลักสูตรดังกล่าว จะนำร่องทั้งระบบ ตั้งแต่การนำหลักสูตรไปใช้ โดยจะดูว่าแต่ละแห่งมีการบริหาร การแปลงหลักสูตรสู่การสอน การจัดทำสื่อ และการประเมินผลอย่างไร” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้การจัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ซึ่งในหมวดนี้ประกอบด้วย 6 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สามารถจัดการเรียนการสอนได้ในลักษณะเป็นรายวิชา หรือบูรณาการให้ครอบคลุมทั้ง 6 วิชาในสัดส่วนที่เหมาะสมได้ จากเดิมที่กำหนดว่าจะต้องสอนแยกเป็นรายวิชาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้รองรับกับหลักการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง และการบูรณาการการเรียนรู้วิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน