คำสั่งตั้ง คกก. สอบวินัยร้ายแรงปลัด สธ. ไม่สมบูรณ์ เหตุตั้งอัยการเป็นกรรมการร่วมผิดกฎ ก.พ. เล็งออกฉบับใหม่ตามราวีเอาผิด “หมอณรงค์” ต่อ นิติกร สธ. เผยไม่ทราบ “ประดิษฐ” ลงนามคำสั่งหรือยัง ระบุมีการสอบข้อเท็จจริงไปแล้ว ชัดเจนมีมูลผิดจริง
วันนี้ (15 พ.ค.) นายสุจินต์ สิริอภัย นิติกรชำนาญการ สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวถึงกรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รักษาการ รมว.สาธารณสุข ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงปลัด สธ. 5 ประเด็น ซึ่งเกี่ยวกับการแสดงออกต่อสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการสอบสวนทางวินัย เพราะคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงฉบับเดิมไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการแต่งตั้งอัยการมาร่วมเป็นคณะกรรมการ ซึ่งกฎสักนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.2556 ข้อ 18 ระบุชัดว่า กรรมการต้องเป็นข้าราชการพลเรือนเท่านั้น จึงต้องออกคำสั่งแต่งตั้งฉบับใหม่
“ผมไม่ทราบว่า รมว.สาธารณสุข ลงนามในคำสั่งใหม่แล้วหรือไม่ หากลงนามแล้วจะต้องส่งคำสั่งให้ผู้ถูกร้องและคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อให้คัดค้านกรรมการ ภายใน 7 วัน และ รมว.สาธารณสุข จะใช้เวลาในการพิจารณาคำคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ รมว.สาธารณสุข จะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง ได้มีการสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มาแล้วเมื่อ 2-3 เดือนก่อน โดยมี ศ. พิเศษ ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เป็นประธาน ซึ่งในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องสอบผู้ที่ถูกร้องมาให้ข้อมูล” นายสุจินต์ กล่าว
นายสุจินต์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้สรุปชี้ว่า มีมูลในการมีความผิดวินัยร้ายแรง จึงเป็นหน้าที่ที่ รมว.สาธารณสุข ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง อย่างไรก็ตาม หลักการมาตรา 91 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการลพเรือน พ.ศ.2551 ระบุว่า หากผู้บังคับบัญชาพิจารณาพยาน หลักฐานเบื้องต้นแล้วเห็นว่าควรตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยก็สามารถดำเนินการได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงก่อน
“ถ้าปลัด สธ. เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบธรรม สามารถร้องต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ได้ โดยต้องเป็นคนร้องด้วยตนเอง และการที่แพทย์ต่างๆ ออกมาคัดค้านการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง ก็ยิ่งทำให้ภาพของปลัด สธ. เสีย เพราะขณะนี้ยังไม่ถือว่าปลัด สธ. มีความผิด เมื่อมีการสอบสวนแล้วเสร็จผลอาจออกมาว่าไม่มีความผิด ผิดวินัยไม่ร้ายแรงหรือผิดวินัยร้ายแรงก็ได้” นายสุจินต์ กล่าว
วันนี้ (15 พ.ค.) นายสุจินต์ สิริอภัย นิติกรชำนาญการ สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวถึงกรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รักษาการ รมว.สาธารณสุข ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงปลัด สธ. 5 ประเด็น ซึ่งเกี่ยวกับการแสดงออกต่อสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการสอบสวนทางวินัย เพราะคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงฉบับเดิมไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการแต่งตั้งอัยการมาร่วมเป็นคณะกรรมการ ซึ่งกฎสักนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.2556 ข้อ 18 ระบุชัดว่า กรรมการต้องเป็นข้าราชการพลเรือนเท่านั้น จึงต้องออกคำสั่งแต่งตั้งฉบับใหม่
“ผมไม่ทราบว่า รมว.สาธารณสุข ลงนามในคำสั่งใหม่แล้วหรือไม่ หากลงนามแล้วจะต้องส่งคำสั่งให้ผู้ถูกร้องและคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อให้คัดค้านกรรมการ ภายใน 7 วัน และ รมว.สาธารณสุข จะใช้เวลาในการพิจารณาคำคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ รมว.สาธารณสุข จะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง ได้มีการสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มาแล้วเมื่อ 2-3 เดือนก่อน โดยมี ศ. พิเศษ ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เป็นประธาน ซึ่งในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องสอบผู้ที่ถูกร้องมาให้ข้อมูล” นายสุจินต์ กล่าว
นายสุจินต์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้สรุปชี้ว่า มีมูลในการมีความผิดวินัยร้ายแรง จึงเป็นหน้าที่ที่ รมว.สาธารณสุข ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง อย่างไรก็ตาม หลักการมาตรา 91 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการลพเรือน พ.ศ.2551 ระบุว่า หากผู้บังคับบัญชาพิจารณาพยาน หลักฐานเบื้องต้นแล้วเห็นว่าควรตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยก็สามารถดำเนินการได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงก่อน
“ถ้าปลัด สธ. เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบธรรม สามารถร้องต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ได้ โดยต้องเป็นคนร้องด้วยตนเอง และการที่แพทย์ต่างๆ ออกมาคัดค้านการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง ก็ยิ่งทำให้ภาพของปลัด สธ. เสีย เพราะขณะนี้ยังไม่ถือว่าปลัด สธ. มีความผิด เมื่อมีการสอบสวนแล้วเสร็จผลอาจออกมาว่าไม่มีความผิด ผิดวินัยไม่ร้ายแรงหรือผิดวินัยร้ายแรงก็ได้” นายสุจินต์ กล่าว