เห็นหลายฝ่ายออกมารณรงค์ลดการเกิดอุบัติเหตุ เจ็บ ตาย ช่วงสงกรานต์กันอย่างมากมาย โดยเฉพาะทางราชการที่ตั้งเป้าไว้ว่ายอดตายจะต้องต่ำกว่า 300 คนให้ได้ เพราะย้อนหลัง 6 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีคนตายช่วง 7 วันอันตรายสงกรานต์เกิน 300 ศพทั้งสิ้น
โดยสงกรานต์ปี 2551 มีผู้เสียชีวิต 368 ศพ สงกรานต์ ปี 2552 จำนวน 373 ศพ สงกรานต์ ปี 2553 จำนวน 361 ศพ สงกรานต์ ปี 2554 จำนวน 271 ศพ สงกรานต์ ปี 2555 จำนวน 320 ศพ และสงกรานต์ ปี 2556 จำนวน 321 ศพ ขณะที่ปีล่าสุด สงกรานต์ 2557 ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไปมีผู้เสียชีวิต 322 ศพ เจ็บกว่า 3,225 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2556 เสียอีก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสุรสิทธิ์ ศิลปงาม ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ ระบุว่า สถิติผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 เป็นไปตามความคาดหมาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะถ้ามาตรการต่างๆ ที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2546 ยังเป็นแบบนี้ ผลลัพธ์ก็ออกมาเช่นนี้ สงกรานต์ปี 2558 ตัวเลขผู้เสียชีวิตก็จะอยู่ในระดับนี้ 300 บวกลบไม่เกิน 5-10% ปัญหาก็คือถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะเลิกเกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์และหันมาปกป้องชีวิตผู้บริสุทธิ์บนท้องถนนกันอย่างจริงจังเสียที
“สาเหตุหลักสำคัญของผู้เสียชีวิตในเทศกาลสงกรานต์เกิดจากการเมาแล้วขับ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา คือการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง นอกจากนั้นแล้วมาตรการคุมเข้มผู้ที่เมาแล้วขับก็เป็นปัญหา เนื่องจากตำรวจขาดเครื่องตรวจวัดความเมา มูลนิธิเมาไม่ขับจึงขอเสนอให้รัฐบาลในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกล้าที่จะชนกับปัญหาโดยไม่เกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์ ด้วยการเสนอให้ วันที่ 13 เม.ย. ของทุกปี เป็นวันงดจำหน่วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 1 วัน เพื่อลดการเข้าถึงและตัดตอนวงจรการเมาแล้วขับ ขณะเดียวกันเครื่องตรวจวัดความเมาซึ่งปัจจุบันสถานีตำรวจทั่วประเทศขาดแคลนอย่างมากรัฐบาลต้องอนุมัติงบประมาณจัดซื้อให้สถานีตำรวจทั่วประเทศมีเครื่องตรวจความเมา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ที่เมาแล้วขับได้อย่างทั่วถึง” ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าว
นายสุรสิทธิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตติดอันดับ 3 ของโลกจากอุบัติเหตุจราจร ขณะที่ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เติบโตขึ้น สวนทางรอยเลือดและคราบน้ำตาของคนไทย แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนยังมัวแต่เกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์ปล่อยให้แสวงหาผลประโยชน์บนความหายนะของคนไทย ภาพเด็กเยาวชนไทยตายจากการเมาแล้วขับบนท้องถนนในเทศกาลสงกรานต์น่าจะเป็นข้อเตือนสติผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องคุมการขายเหล้าเบียร์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างเข้มข้น
โดยสงกรานต์ปี 2551 มีผู้เสียชีวิต 368 ศพ สงกรานต์ ปี 2552 จำนวน 373 ศพ สงกรานต์ ปี 2553 จำนวน 361 ศพ สงกรานต์ ปี 2554 จำนวน 271 ศพ สงกรานต์ ปี 2555 จำนวน 320 ศพ และสงกรานต์ ปี 2556 จำนวน 321 ศพ ขณะที่ปีล่าสุด สงกรานต์ 2557 ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไปมีผู้เสียชีวิต 322 ศพ เจ็บกว่า 3,225 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2556 เสียอีก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสุรสิทธิ์ ศิลปงาม ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ ระบุว่า สถิติผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 เป็นไปตามความคาดหมาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะถ้ามาตรการต่างๆ ที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2546 ยังเป็นแบบนี้ ผลลัพธ์ก็ออกมาเช่นนี้ สงกรานต์ปี 2558 ตัวเลขผู้เสียชีวิตก็จะอยู่ในระดับนี้ 300 บวกลบไม่เกิน 5-10% ปัญหาก็คือถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะเลิกเกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์และหันมาปกป้องชีวิตผู้บริสุทธิ์บนท้องถนนกันอย่างจริงจังเสียที
“สาเหตุหลักสำคัญของผู้เสียชีวิตในเทศกาลสงกรานต์เกิดจากการเมาแล้วขับ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา คือการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง นอกจากนั้นแล้วมาตรการคุมเข้มผู้ที่เมาแล้วขับก็เป็นปัญหา เนื่องจากตำรวจขาดเครื่องตรวจวัดความเมา มูลนิธิเมาไม่ขับจึงขอเสนอให้รัฐบาลในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกล้าที่จะชนกับปัญหาโดยไม่เกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์ ด้วยการเสนอให้ วันที่ 13 เม.ย. ของทุกปี เป็นวันงดจำหน่วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 1 วัน เพื่อลดการเข้าถึงและตัดตอนวงจรการเมาแล้วขับ ขณะเดียวกันเครื่องตรวจวัดความเมาซึ่งปัจจุบันสถานีตำรวจทั่วประเทศขาดแคลนอย่างมากรัฐบาลต้องอนุมัติงบประมาณจัดซื้อให้สถานีตำรวจทั่วประเทศมีเครื่องตรวจความเมา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ที่เมาแล้วขับได้อย่างทั่วถึง” ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าว
นายสุรสิทธิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตติดอันดับ 3 ของโลกจากอุบัติเหตุจราจร ขณะที่ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เติบโตขึ้น สวนทางรอยเลือดและคราบน้ำตาของคนไทย แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนยังมัวแต่เกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์ปล่อยให้แสวงหาผลประโยชน์บนความหายนะของคนไทย ภาพเด็กเยาวชนไทยตายจากการเมาแล้วขับบนท้องถนนในเทศกาลสงกรานต์น่าจะเป็นข้อเตือนสติผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องคุมการขายเหล้าเบียร์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างเข้มข้น