WHO ประกาศไทยเป็น 1 ใน 11 ประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปลอดโรคโปลิโอ หลังไม่พบผู้ป่วยเลยยาวนาน 17 ปี ระบุเป็นภูมิภาคที่ 4 ของโลกที่ได้รับการประกาศ
วันนี้ (18 เม.ย.) นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นตัวแทนประเทศไทยรับมอบประกาศนียบัตรจาก นพ.โยนาส เทจน์ (Yonas Tegegn) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เพื่อรับรองว่าไทยเป็น 1 ใน 11 ประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปลอดโรคโปลิโอ ว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) เร่งดำเนินการให้ทุกประเทศทั่วโลกปลอดโรคโปลิโอภายในปี 2561 โดย WHO ประกาศรับรองภูมิภาคที่ปลอดโรคแล้ว 3 ภูมิภาคคือ อเมริกา ยุโรป และแปซิฟิกตะวันตก จากทั้งหมด 6 ภูมิภาค สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่ 4 ประกาศเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2557 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย หลังจากไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศสมาชิกทั้ง 11 ประเทศเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ตามหลักเกณฑ์ของ WHO
นพ.อำนวย กล่าวว่า ขณะนี้ประชากรทั่วโลกร้อยละ 80 อยู่ในภูมิภาคที่รับรองการปลอดโรคโปลิโอแล้ว อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศที่ยังพบผู้ป่วยรายใหม่ อาทิ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน และไนจีเรีย สำหรับไทยปลอดจากโรคโปลิโอมาเป็นปีที่ 17 โดยพบผู้ป่วยโปลิโอรายสุดท้ายปี 2540 ที่จังหวัดเลย แต่ไทยยังคงมาตรการกวาดล้างโรคโปลิโออย่างต่อเนื่อง ทั้งการเร่งรัดความครอบคลุมการหยอดวัคซีนโปลิโอในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีตามระบบปกติ และการให้วัคซีนเสริมเป็นประจำทุกปีในกลุ่มและพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ พื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกล ที่สูง ชนเผ่า แนวชายแดน แรงงานเคลื่อนย้ายทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งชุมชนแออัด ชุมชนในพื้นที่ไม่สงบ และชุมชนที่พบโรคติดต่ออื่นๆ ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
“นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคที่มีประสิทธิภาพ เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัยคือ กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอัมพาตเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis: AFP) และการสอบสวนและควบคุมโรคที่รวดเร็ว ซึ่งไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการกวาดล้างโปลิโอที่สอดคล้องกับแผนของนานาชาติ เพื่อให้การกวาดล้างโปลิโอเกิดประสิทธิผล และประสบความสำเร็จพร้อมกันทั่วโลก” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.อำนวย กล่าวว่า WHO ได้รายงานสถานการณ์โปลิโอทั่วโลก ในปี 2556 มีผู้ป่วยโปลิโอรวม 407 ราย แยกเป็นประเทศที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น 3 ประเทศ คือ ไนจีเรีย 53 ราย ปากีสถาน 93 ราย และอัฟกานิสถาน 14 ราย และมี 5 ประเทศที่ปลอดโรคแล้ว แต่โรคกลับมาระบาดใหม่ คือ โซมาเลีย 194 ราย เอธิโอเปีย 9 ราย เคนยา 14 ราย แคเมอรูน 4 ราย และซีเรีย 26 ราย และในปีพ.ศ. 2557 นี้ พบผู้ป่วยแล้ว 51 ราย
อนึ่ง โรคโปลิโอเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ พบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดต่อผ่านทางมือหรือปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไป ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อได้ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีอาการตึงกล้ามเนื้อที่คอด้านหลัง ลำตัวและขา รายที่อาการรุนแรงจะเกิดอัมพาตของแขนหรือขา หรือกล้ามเนื้อกระบังลมเป็นอัมพาต ทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับ 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองการปลอดโรคโปลิโอ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน เกาหลีเหนือ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่าเนปาล ศรีลังกา ติมอร์เลสเต และไทย
วันนี้ (18 เม.ย.) นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นตัวแทนประเทศไทยรับมอบประกาศนียบัตรจาก นพ.โยนาส เทจน์ (Yonas Tegegn) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เพื่อรับรองว่าไทยเป็น 1 ใน 11 ประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปลอดโรคโปลิโอ ว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) เร่งดำเนินการให้ทุกประเทศทั่วโลกปลอดโรคโปลิโอภายในปี 2561 โดย WHO ประกาศรับรองภูมิภาคที่ปลอดโรคแล้ว 3 ภูมิภาคคือ อเมริกา ยุโรป และแปซิฟิกตะวันตก จากทั้งหมด 6 ภูมิภาค สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่ 4 ประกาศเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2557 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย หลังจากไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศสมาชิกทั้ง 11 ประเทศเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ตามหลักเกณฑ์ของ WHO
นพ.อำนวย กล่าวว่า ขณะนี้ประชากรทั่วโลกร้อยละ 80 อยู่ในภูมิภาคที่รับรองการปลอดโรคโปลิโอแล้ว อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศที่ยังพบผู้ป่วยรายใหม่ อาทิ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน และไนจีเรีย สำหรับไทยปลอดจากโรคโปลิโอมาเป็นปีที่ 17 โดยพบผู้ป่วยโปลิโอรายสุดท้ายปี 2540 ที่จังหวัดเลย แต่ไทยยังคงมาตรการกวาดล้างโรคโปลิโออย่างต่อเนื่อง ทั้งการเร่งรัดความครอบคลุมการหยอดวัคซีนโปลิโอในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีตามระบบปกติ และการให้วัคซีนเสริมเป็นประจำทุกปีในกลุ่มและพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ พื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกล ที่สูง ชนเผ่า แนวชายแดน แรงงานเคลื่อนย้ายทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งชุมชนแออัด ชุมชนในพื้นที่ไม่สงบ และชุมชนที่พบโรคติดต่ออื่นๆ ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
“นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคที่มีประสิทธิภาพ เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัยคือ กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอัมพาตเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis: AFP) และการสอบสวนและควบคุมโรคที่รวดเร็ว ซึ่งไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการกวาดล้างโปลิโอที่สอดคล้องกับแผนของนานาชาติ เพื่อให้การกวาดล้างโปลิโอเกิดประสิทธิผล และประสบความสำเร็จพร้อมกันทั่วโลก” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.อำนวย กล่าวว่า WHO ได้รายงานสถานการณ์โปลิโอทั่วโลก ในปี 2556 มีผู้ป่วยโปลิโอรวม 407 ราย แยกเป็นประเทศที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น 3 ประเทศ คือ ไนจีเรีย 53 ราย ปากีสถาน 93 ราย และอัฟกานิสถาน 14 ราย และมี 5 ประเทศที่ปลอดโรคแล้ว แต่โรคกลับมาระบาดใหม่ คือ โซมาเลีย 194 ราย เอธิโอเปีย 9 ราย เคนยา 14 ราย แคเมอรูน 4 ราย และซีเรีย 26 ราย และในปีพ.ศ. 2557 นี้ พบผู้ป่วยแล้ว 51 ราย
อนึ่ง โรคโปลิโอเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ พบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดต่อผ่านทางมือหรือปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไป ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อได้ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีอาการตึงกล้ามเนื้อที่คอด้านหลัง ลำตัวและขา รายที่อาการรุนแรงจะเกิดอัมพาตของแขนหรือขา หรือกล้ามเนื้อกระบังลมเป็นอัมพาต ทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับ 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองการปลอดโรคโปลิโอ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน เกาหลีเหนือ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่าเนปาล ศรีลังกา ติมอร์เลสเต และไทย