สพฉ. เผยอุบัติเหตุเทศกาลสงกรานต์สูงกว่าปกติ 4 เท่า ชี้ปีที่ผ่านมาเจ็บตายกว่า 2.3 หมื่นราย สาเหตุหลักเมาแล้วขับ รองมาไม่สวมหมวก แนะ ปชช. ยึด 7 หลักเที่ยวสงกรานต์ปลอดภัยลดอุบัติเหตุ สั่งเจ้าหน้าที่ตรวจเช็กคู่สาย 1669 พร้อมรับมือแจ้งเหตุตลอด 24 ชม. โดยยึดหลักความปลอดภัย และขับขี่รถพยาบาลฉุกเฉินด้วยความระมัดระวัง ไม่เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินและไซเรนโดยไม่จำเป็น และขับด้วยความเร็วตามมาตรฐานกำหนด
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลที่มีอัตราการใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้น โดยจากสถิติขององค์การอนามัยโลกก็ระบุว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติยานยนต์มากเป็นอันดับ 2 คือ มีอัตราการเสียชีวิต 44 คนต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นกว่า 4 เท่า โดยจากสถิติเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตรายในปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสิ้น 23,739 คน ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก และขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด โดยการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.78 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 31.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 24.57 และภาคใต้ร้อยละ 12.56 และเกิดในช่วงเวลา 16.00 น. มากที่สุด
นพ.อนุชา กล่าวต่อว่า สำหรับเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ สพฉ. ได้เตรียมพร้อมเพื่อลดอุบัติเหตุ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของประชาชนขอยึดหลักปฏิบัติ 7 ข้อ คือ 1. เมาไม่ขับ 2. งดขับรถเร็ว 3. สวมหมวกนิรภัย 4. คาดเข็มขัดทุกที่นั่ง 5. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อย่าขับรถเร็ว ฝ่าไฟแดงและย้อนศร และต้องระมัดระวังในการเปลี่ยนเลนกะทันหัน ไม่ขับรถกระชั้นชิดคันหน้ามากเกินไป 6. หากต้องขับรถในระยะทางไกลเกินกว่า 200 กิโลเมตร ควรหยุดพักเป็นระยะ และ 7. มีสติและสมาธิในการขับรถ งดการใช้โทรศัพท์เด็ดขาด ควรตรวจสภาพเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ในรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานด้วยเพื่อความปลอดภัย และควรเตรียมความพร้อม เช่น พกเบอร์โทร. ฉุกเฉิน อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เป็นต้น เพื่อหากกรณีเกิดเหตุที่ไม่อาจคาดเดา หรือพบเจออุบัติเหตุควรจะต้องมีสติอยู่เสมอ และต้องรีบขอความช่วยเหลือทางการแพทย์
ทั้งนี้ ในส่วนของ สพฉ. และผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินว่า ได้มีการประสานเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ โดยมีการตรวจเช็กคู่สายโทรศัพท์ 1669 ทั่วประเทศให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา และได้เน้นย้ำให้ผู้ปฏิบัติการ และผู้ขับรถพยาบาลฉุกเฉินยึดหลักความปลอดภัย และช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างมีคุณภาพ คล่องแคล่ว และครบพร้อม 24 ชั่วโมง และที่สำคัญในส่วนของรถพยาบาลฉุกเฉินจะต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินและทีมกู้ชีพ โดยจะต้องไม่เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินและไซเรนโดยไม่จำเป็น ขับขี่ด้วยความเร็วตามที่มาตรฐานกำหนด คือ ไม่เกิน 90 กม./ชม. และเมื่อขับผ่านทางแยก จะต้องไม่ใช้ความเร็วเกิน กม. กำหนด และขับด้วยความระมัดระวัง และเมื่อขับผ่านทางแยกที่เป็นสัญญาณไฟแดง หรือผ่านทางรถไฟ จะต้องหยุดก่อนที่จะขับต่อไปด้วยความระมัดระวัง
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลที่มีอัตราการใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้น โดยจากสถิติขององค์การอนามัยโลกก็ระบุว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติยานยนต์มากเป็นอันดับ 2 คือ มีอัตราการเสียชีวิต 44 คนต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นกว่า 4 เท่า โดยจากสถิติเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตรายในปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสิ้น 23,739 คน ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก และขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด โดยการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.78 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 31.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 24.57 และภาคใต้ร้อยละ 12.56 และเกิดในช่วงเวลา 16.00 น. มากที่สุด
นพ.อนุชา กล่าวต่อว่า สำหรับเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ สพฉ. ได้เตรียมพร้อมเพื่อลดอุบัติเหตุ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของประชาชนขอยึดหลักปฏิบัติ 7 ข้อ คือ 1. เมาไม่ขับ 2. งดขับรถเร็ว 3. สวมหมวกนิรภัย 4. คาดเข็มขัดทุกที่นั่ง 5. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อย่าขับรถเร็ว ฝ่าไฟแดงและย้อนศร และต้องระมัดระวังในการเปลี่ยนเลนกะทันหัน ไม่ขับรถกระชั้นชิดคันหน้ามากเกินไป 6. หากต้องขับรถในระยะทางไกลเกินกว่า 200 กิโลเมตร ควรหยุดพักเป็นระยะ และ 7. มีสติและสมาธิในการขับรถ งดการใช้โทรศัพท์เด็ดขาด ควรตรวจสภาพเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ในรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานด้วยเพื่อความปลอดภัย และควรเตรียมความพร้อม เช่น พกเบอร์โทร. ฉุกเฉิน อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เป็นต้น เพื่อหากกรณีเกิดเหตุที่ไม่อาจคาดเดา หรือพบเจออุบัติเหตุควรจะต้องมีสติอยู่เสมอ และต้องรีบขอความช่วยเหลือทางการแพทย์
ทั้งนี้ ในส่วนของ สพฉ. และผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินว่า ได้มีการประสานเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ โดยมีการตรวจเช็กคู่สายโทรศัพท์ 1669 ทั่วประเทศให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา และได้เน้นย้ำให้ผู้ปฏิบัติการ และผู้ขับรถพยาบาลฉุกเฉินยึดหลักความปลอดภัย และช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างมีคุณภาพ คล่องแคล่ว และครบพร้อม 24 ชั่วโมง และที่สำคัญในส่วนของรถพยาบาลฉุกเฉินจะต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินและทีมกู้ชีพ โดยจะต้องไม่เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินและไซเรนโดยไม่จำเป็น ขับขี่ด้วยความเร็วตามที่มาตรฐานกำหนด คือ ไม่เกิน 90 กม./ชม. และเมื่อขับผ่านทางแยก จะต้องไม่ใช้ความเร็วเกิน กม. กำหนด และขับด้วยความระมัดระวัง และเมื่อขับผ่านทางแยกที่เป็นสัญญาณไฟแดง หรือผ่านทางรถไฟ จะต้องหยุดก่อนที่จะขับต่อไปด้วยความระมัดระวัง