กมธ.ศิลปะและวัฒนธรรมฯ วุฒิสภา จับมือ สสส.จัดประกวดหนังสั้นส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น เตรียมนำผลงานชนะเลิศฝีมือเยาวชนออกเผยแพร่ มั่นใจกระตุกเด็กเยาวชนใส่ใจวัฒนธรรม รักษาคุณค่าที่แท้จริง ไม่เบี่ยงเบน
วันนี้ (7 เม.ย.) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาและแสดงผลงานจากการประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย โดย ม.ร.ว.วุฒิเลิศ เทวกุล ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา กล่าวว่า วัฒนธรรมประเพณีไทยขณะนี้เข้าขั้นวิกฤต คือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก อาทิ ประเพณีสงกรานต์แทนที่จะเน้นเรื่องความรัก สามัคคี ความกตัญญูคนในครอบครัวหรือการทำบุญ กลายเป็นเรื่องของความสนุกสานและความรุนแรง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเยาวชนไทยและชาวต่างชาติ จึงต้องร่วมกันหาแนวทางแก้ไข โดยเป้าหมายสำคัญคือต้องทำให้เด็กเยาวชนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจและตระหนักในคุณค่าวัฒนธรรมประเพณีไทยเพื่อสืบทอดสิ่งเหล่านี้ จึงเกิดเป็นโครงการจัดประกวดภาพยนตร์สั้น แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
“ปัจจัยที่ทำให้วัฒนธรรมประเพณีไทยเปลี่ยนแปลงไปนอกจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแล้ว ครอบครัวมีส่วนสำคัญ ปัจจุบันครอบครัวขาดตอนในการอบรมให้เด็กเยาวชนเข้าใจแก่นแท้ของวัฒนธรรมประเพณีไทย ทำให้เด็กรุ่นใหม่ไม่เข้าใจหรือเรียนรู้สิ่งเหล่านี้” ม.ร.ว.วุฒิเลิศ กล่าว
นายดนัย หวังบุญชัย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.กล่าวว่า ผลงานภาพยนตร์สั้นผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้าย 80 ผลงานจากที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้นกว่า 100 ผลงาน และประกาศผลการตัดสินไปเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา โดยคณะกรรมาธิการ และสสส.เตรียมที่จะนำผลงานที่ชนะเลิศทั้ง 4 ระดับ ออกเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับชมในเร็วๆ นี้ ซึ่งกระบวนในการผลิตแต่ละผลงาน เยาวชนจะต้องสืบค้นเรื่องราวประเพณีนั้น ต้องทำงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินท้องถิ่น ทำให้เด็กและเยาวชนซึมซับ เรียนรู้และเข้าใจศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น ขณะเดียวกันเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่นอื่น เมื่อได้รับชมผลงานภาพยนตร์สั้นจะเห็นถึงความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น จะจุดประกายความคิดว่ามีศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทยแบบนี้ด้วยหรือ และมีความลึกซึ้งเพียงนี้เชียวหรือ เช่น ประเพณีชักพระของภาคใต้ เยาวชนในภาคเหนือ อีสานอาจไม่เคยเห็น เป็นต้น ทำให้หันมาสนใจ ใส่ใจในวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นตนมากขึ้น
“สิ่งสำคัญอยากเห็นพลังของเด็กและเยาวชนในการฟื้นฟู รื้อฟื้นศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่อาจจะถูกลืมเลือน ไม่ได้รับความสนใจหรือไม่เห็นคุณค่า โดยหากมองในแง่ของสุขภาวะเป็นก่อให้เกิดจิตปัญญา จุดประกายความคิด สร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และซาบซึ้งศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของตนเอง เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่สืบทอดมากจากบรรพบุรุษ รุ่นปู่ย่า พ่อแม่ เป็นความสุขร่วมกันของคนแต่ละรุ่นเกิดความรักสามัคคี มีน้ำใจ” อ.ดนัย กล่าว
นายสัณห์ชัย โชติรสเศรณี มูลนิธิหนังไทย กล่าวว่า การทำภาพยนตร์สั้นจำเป็นต้องหาประเด็นในการถ่ายทอด จึงทำให้เยาวชนมีโอกาสศึกษาประเพณีท้องถิ่นของตนเองอย่างลึกซึ้ง เพราะบางอย่างอาจเลือนหาย หรือเห็นเป็นเรื่องธรรมดาจากการพบเจอมาตั้งแต่เกิด อีกทั้งได้รับรู้ถึงทัศนคติที่มีต่อวัฒนธรรมประเพณีที่นำเสนอของเยาวชนผ่านสิ่งที่นำเสนอด้วย นอกจากนี้ ภาพยนตร์สั้นที่ชนะเลิศการประกวดเป็นการนำเสนอผ่านภาพประเพณีท้องถิ่นที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ที่ได้รับชมและกระตุ้นความสนใจให้อยากที่จะเข้าไปท่องเที่ยวในท้องถิ่น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีนั้นๆ เพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เพราะบางประเพณีอาจจะเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่เคยเห็นหรือสัมผัสของจริง
วันนี้ (7 เม.ย.) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาและแสดงผลงานจากการประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย โดย ม.ร.ว.วุฒิเลิศ เทวกุล ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา กล่าวว่า วัฒนธรรมประเพณีไทยขณะนี้เข้าขั้นวิกฤต คือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก อาทิ ประเพณีสงกรานต์แทนที่จะเน้นเรื่องความรัก สามัคคี ความกตัญญูคนในครอบครัวหรือการทำบุญ กลายเป็นเรื่องของความสนุกสานและความรุนแรง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเยาวชนไทยและชาวต่างชาติ จึงต้องร่วมกันหาแนวทางแก้ไข โดยเป้าหมายสำคัญคือต้องทำให้เด็กเยาวชนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจและตระหนักในคุณค่าวัฒนธรรมประเพณีไทยเพื่อสืบทอดสิ่งเหล่านี้ จึงเกิดเป็นโครงการจัดประกวดภาพยนตร์สั้น แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
“ปัจจัยที่ทำให้วัฒนธรรมประเพณีไทยเปลี่ยนแปลงไปนอกจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแล้ว ครอบครัวมีส่วนสำคัญ ปัจจุบันครอบครัวขาดตอนในการอบรมให้เด็กเยาวชนเข้าใจแก่นแท้ของวัฒนธรรมประเพณีไทย ทำให้เด็กรุ่นใหม่ไม่เข้าใจหรือเรียนรู้สิ่งเหล่านี้” ม.ร.ว.วุฒิเลิศ กล่าว
นายดนัย หวังบุญชัย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.กล่าวว่า ผลงานภาพยนตร์สั้นผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้าย 80 ผลงานจากที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้นกว่า 100 ผลงาน และประกาศผลการตัดสินไปเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา โดยคณะกรรมาธิการ และสสส.เตรียมที่จะนำผลงานที่ชนะเลิศทั้ง 4 ระดับ ออกเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับชมในเร็วๆ นี้ ซึ่งกระบวนในการผลิตแต่ละผลงาน เยาวชนจะต้องสืบค้นเรื่องราวประเพณีนั้น ต้องทำงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินท้องถิ่น ทำให้เด็กและเยาวชนซึมซับ เรียนรู้และเข้าใจศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น ขณะเดียวกันเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่นอื่น เมื่อได้รับชมผลงานภาพยนตร์สั้นจะเห็นถึงความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น จะจุดประกายความคิดว่ามีศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทยแบบนี้ด้วยหรือ และมีความลึกซึ้งเพียงนี้เชียวหรือ เช่น ประเพณีชักพระของภาคใต้ เยาวชนในภาคเหนือ อีสานอาจไม่เคยเห็น เป็นต้น ทำให้หันมาสนใจ ใส่ใจในวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นตนมากขึ้น
“สิ่งสำคัญอยากเห็นพลังของเด็กและเยาวชนในการฟื้นฟู รื้อฟื้นศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่อาจจะถูกลืมเลือน ไม่ได้รับความสนใจหรือไม่เห็นคุณค่า โดยหากมองในแง่ของสุขภาวะเป็นก่อให้เกิดจิตปัญญา จุดประกายความคิด สร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และซาบซึ้งศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของตนเอง เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่สืบทอดมากจากบรรพบุรุษ รุ่นปู่ย่า พ่อแม่ เป็นความสุขร่วมกันของคนแต่ละรุ่นเกิดความรักสามัคคี มีน้ำใจ” อ.ดนัย กล่าว
นายสัณห์ชัย โชติรสเศรณี มูลนิธิหนังไทย กล่าวว่า การทำภาพยนตร์สั้นจำเป็นต้องหาประเด็นในการถ่ายทอด จึงทำให้เยาวชนมีโอกาสศึกษาประเพณีท้องถิ่นของตนเองอย่างลึกซึ้ง เพราะบางอย่างอาจเลือนหาย หรือเห็นเป็นเรื่องธรรมดาจากการพบเจอมาตั้งแต่เกิด อีกทั้งได้รับรู้ถึงทัศนคติที่มีต่อวัฒนธรรมประเพณีที่นำเสนอของเยาวชนผ่านสิ่งที่นำเสนอด้วย นอกจากนี้ ภาพยนตร์สั้นที่ชนะเลิศการประกวดเป็นการนำเสนอผ่านภาพประเพณีท้องถิ่นที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ที่ได้รับชมและกระตุ้นความสนใจให้อยากที่จะเข้าไปท่องเที่ยวในท้องถิ่น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีนั้นๆ เพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เพราะบางประเพณีอาจจะเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่เคยเห็นหรือสัมผัสของจริง