สปสช.เทงบ 10 ล้านบาท เดินหน้าโครงการคัดกรองเด็กสายตาผิดปกติ นำร่อง 10 จังหวัด หลัง รพ.เด็กสำรวจพบ ภาวะตาบอดในเด็กสูงกว่าเกณฑ์องค์การอนามัยโลกกำหนดเกือบเท่าตัว
นพ.กิตติ ปรมัตถผล ผู้อำนวยการแผนงานพัฒนาระบบบริการโรคเรื้อรังและโรคเฉพาะ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในการประชุมชี้แจงการดำเนิน “โครงการพัฒนาระบบการจัดบริการคัดกรองและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติสำหรับเด็กในประเทศไทย” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สปสช. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ ว่า ที่ผ่านมามีเด็กไทยส่วนหนึ่งที่มีปัญหาภาวะสายตาผิดปกติ แต่ไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตระยะยาว ทั้งที่ปัญหาสายตาในเด็กบางรายสามารถแก้ไขให้เป็นปกติได้ หากดูแลรักษาแรกเริ่ม ทั้งการสวมแว่นตา การส่งต่อเพื่อรักษา และตรวจติดตาม เป็นต้น สปสช.จึงจับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อค้นหาและคัดกรองเด็กที่มีปัญหาสายตา นำเข้าสู่การรักษา โดยเน้นในกลุ่มเด็กเล็ก/อนุบาล และเด็กประถมศึกษา
นพ.กิตติ กล่าวว่า เบื้องต้น สปสช.สนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2557 จำนวน 10 ล้านบาท นำร่องโครงการใน 10 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ สระบุรี ราชบุรี นครพนม หนองบัวลำภู สุราษฎร์ธานี เพชรบุรี ลำพูน นครปฐม และนราธิวาส ในการคัดกรองสายตาเด็กจำนวน 30,000 คน เฉลี่ย 3,000 คนต่อจังหวัด โดยให้ครูประจำชั้นคัดกรอง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวต่อยอดจากงานวิจัยของ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAPP) เรื่อง “การพัฒนาระบบการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติและประกอบแว่นสายตาสำหรับเด็กวัยก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาในประเทศไทย” เมื่อปี 2554-2555 ซึ่งพบความชุกภาวะสายตาผิดปกติในเด็กไทย ร้อยละ 6.6 หากเด็กเหล่านี้ได้รับการคัดกรองตั้งแต่อายุยังน้อย และได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเด็กไทยได้ ซึ่งหลังจากนี้จะขยายโครงการไปทั่วประเทศ โดยปี 2558-2559 เพิ่มเติม 20 จังหวัด และปี 2559-2560 ทำอีก 30 จังหวัด โดยดึงท้องถิ่นให้เข้ามีบทบาทส่วนร่วม
ด้าน พญ.ขวัญใจ วงศกิตติรักษ์ จักษุแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า จากการวิจัยเรื่อง “การสำรวจสภาวะตาบอด ตาเลือนราง และโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในเด็กไทย อายุ 1-14 ปี” โดยสถาบันสุขภาพเด็กฯ พบอัตราตาบอดของเด็กไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.11 นับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ เพราะมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของทางองค์การอนามัยโลกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.07 หรือมากกว่าเท่าตัว และยังเป็นใกล้เคียงกับอัตราเด็กตาบอดในประเทศแอฟริกาซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.12 นอกจากนี้ อัตราเด็กสายตาเลือนลางยังอยู่ที่ร้อยละ 0.21 สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เกิดจากความผิดปกติจากการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 30 เป็นภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุสามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ หากได้รับการดูแลตามระยะเวลา
พญ.ขวัญใจ กล่าวว่า ในปี 2563 เป็นปีที่ไทยได้ลงนามเพื่อลดภาวะตาบอดของเด็กในประเทศให้เหลือ 0.04 ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน โดยโครงการดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ ตั้งแต่การคัดกรอง การแก้ไขและรักษาภาวะสายตาผิดปกติ การพัฒนาเครือข่ายบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะสายตาผิดปกติในเด็กในระดับจังหวัดและระดับประเทศ อาทิ ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน เป็นต้น และการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาสายตาให้กับเด็กไทยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้ จากการติดตามประเมินเด็กไทยที่ได้รับการแก้ไขปัญหาสายตาพบว่า ส่วนใหญ่เด็กมีผลการเรียนดีขึ้น มีความตั้งใจเรียนมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาสายตาเป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนของเด็กกลุ่มนี้
นพ.กิตติ ปรมัตถผล ผู้อำนวยการแผนงานพัฒนาระบบบริการโรคเรื้อรังและโรคเฉพาะ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในการประชุมชี้แจงการดำเนิน “โครงการพัฒนาระบบการจัดบริการคัดกรองและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติสำหรับเด็กในประเทศไทย” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สปสช. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ ว่า ที่ผ่านมามีเด็กไทยส่วนหนึ่งที่มีปัญหาภาวะสายตาผิดปกติ แต่ไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตระยะยาว ทั้งที่ปัญหาสายตาในเด็กบางรายสามารถแก้ไขให้เป็นปกติได้ หากดูแลรักษาแรกเริ่ม ทั้งการสวมแว่นตา การส่งต่อเพื่อรักษา และตรวจติดตาม เป็นต้น สปสช.จึงจับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อค้นหาและคัดกรองเด็กที่มีปัญหาสายตา นำเข้าสู่การรักษา โดยเน้นในกลุ่มเด็กเล็ก/อนุบาล และเด็กประถมศึกษา
นพ.กิตติ กล่าวว่า เบื้องต้น สปสช.สนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2557 จำนวน 10 ล้านบาท นำร่องโครงการใน 10 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ สระบุรี ราชบุรี นครพนม หนองบัวลำภู สุราษฎร์ธานี เพชรบุรี ลำพูน นครปฐม และนราธิวาส ในการคัดกรองสายตาเด็กจำนวน 30,000 คน เฉลี่ย 3,000 คนต่อจังหวัด โดยให้ครูประจำชั้นคัดกรอง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวต่อยอดจากงานวิจัยของ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAPP) เรื่อง “การพัฒนาระบบการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติและประกอบแว่นสายตาสำหรับเด็กวัยก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาในประเทศไทย” เมื่อปี 2554-2555 ซึ่งพบความชุกภาวะสายตาผิดปกติในเด็กไทย ร้อยละ 6.6 หากเด็กเหล่านี้ได้รับการคัดกรองตั้งแต่อายุยังน้อย และได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเด็กไทยได้ ซึ่งหลังจากนี้จะขยายโครงการไปทั่วประเทศ โดยปี 2558-2559 เพิ่มเติม 20 จังหวัด และปี 2559-2560 ทำอีก 30 จังหวัด โดยดึงท้องถิ่นให้เข้ามีบทบาทส่วนร่วม
ด้าน พญ.ขวัญใจ วงศกิตติรักษ์ จักษุแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า จากการวิจัยเรื่อง “การสำรวจสภาวะตาบอด ตาเลือนราง และโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในเด็กไทย อายุ 1-14 ปี” โดยสถาบันสุขภาพเด็กฯ พบอัตราตาบอดของเด็กไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.11 นับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ เพราะมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของทางองค์การอนามัยโลกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.07 หรือมากกว่าเท่าตัว และยังเป็นใกล้เคียงกับอัตราเด็กตาบอดในประเทศแอฟริกาซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.12 นอกจากนี้ อัตราเด็กสายตาเลือนลางยังอยู่ที่ร้อยละ 0.21 สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เกิดจากความผิดปกติจากการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 30 เป็นภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุสามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ หากได้รับการดูแลตามระยะเวลา
พญ.ขวัญใจ กล่าวว่า ในปี 2563 เป็นปีที่ไทยได้ลงนามเพื่อลดภาวะตาบอดของเด็กในประเทศให้เหลือ 0.04 ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน โดยโครงการดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ ตั้งแต่การคัดกรอง การแก้ไขและรักษาภาวะสายตาผิดปกติ การพัฒนาเครือข่ายบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะสายตาผิดปกติในเด็กในระดับจังหวัดและระดับประเทศ อาทิ ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน เป็นต้น และการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาสายตาให้กับเด็กไทยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้ จากการติดตามประเมินเด็กไทยที่ได้รับการแก้ไขปัญหาสายตาพบว่า ส่วนใหญ่เด็กมีผลการเรียนดีขึ้น มีความตั้งใจเรียนมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาสายตาเป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนของเด็กกลุ่มนี้