มสธ.ร่วมกรมราชทัณฑ์เปิดสอน ป.โท ในคุก สาขาแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประเดิมที่เรือนจำบางขวางเริ่มปีการศึกษา 57
ผศ.อรสา ปานขาว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เปิดเผยว่า ทางกรมราชทัณฑ์ได้ประสานมายัง มสธ.ว่ามีผู้ต้องขังจำนวนมากต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท โดยจากข้อมูลการสำรวจความต้องการเรียนต่อระดับ ป.โท ของผู้ต้องขัง พบว่า ต้องการเรียนต่อในหลายสาขา อาทิ แนะแนว รัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้น มสธ.จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับกรมราชทัณฑ์ เพื่อจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาโทในเรือนจำ จะเริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
รองอธิการบดี มสธ.กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนระดับปริญญาโทในเรือนจำจะใช้เวลา 2 ปี โดยมีอาจารย์เข้าไปสอนในเรือนจำ และใช้สื่อออฟไลน์ รวมทั้งจัดหาหนังสือ และอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ด้วย สำหรับปีแรกจะเปิดสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่เรือนจำบางขวางก่อน เนื่องจากเป็นความต้องการของผู้ต้องขัง และเป็นความพร้อมของมหาวิทยาลัย ส่วนสาขาวิชาอื่นนั้นจะมีการเปิดสอนในปีต่อไป
“ที่ผ่านมาแม้ผู้ต้องขังจะได้รับโอกาสเรียนต่อระดับ ป.ตรี แต่ผู้ต้องขังยังอยากได้รับความรู้เพิ่มเติมในระดับที่สูงขึ้น เพราะผู้ต้องขังเห็นว่าการเรียนต่อถึงแม้จะยังไม่พ้นโทษออกจากเรือนจำ แต่ก็ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่งผลถึงพฤติกรรม จริยธรรม และคุณธรรมที่ดีขึ้นตามไปด้วย” ผศ.อรสา กล่าว
ผศ.อรสา ปานขาว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เปิดเผยว่า ทางกรมราชทัณฑ์ได้ประสานมายัง มสธ.ว่ามีผู้ต้องขังจำนวนมากต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท โดยจากข้อมูลการสำรวจความต้องการเรียนต่อระดับ ป.โท ของผู้ต้องขัง พบว่า ต้องการเรียนต่อในหลายสาขา อาทิ แนะแนว รัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้น มสธ.จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับกรมราชทัณฑ์ เพื่อจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาโทในเรือนจำ จะเริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
รองอธิการบดี มสธ.กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนระดับปริญญาโทในเรือนจำจะใช้เวลา 2 ปี โดยมีอาจารย์เข้าไปสอนในเรือนจำ และใช้สื่อออฟไลน์ รวมทั้งจัดหาหนังสือ และอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ด้วย สำหรับปีแรกจะเปิดสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่เรือนจำบางขวางก่อน เนื่องจากเป็นความต้องการของผู้ต้องขัง และเป็นความพร้อมของมหาวิทยาลัย ส่วนสาขาวิชาอื่นนั้นจะมีการเปิดสอนในปีต่อไป
“ที่ผ่านมาแม้ผู้ต้องขังจะได้รับโอกาสเรียนต่อระดับ ป.ตรี แต่ผู้ต้องขังยังอยากได้รับความรู้เพิ่มเติมในระดับที่สูงขึ้น เพราะผู้ต้องขังเห็นว่าการเรียนต่อถึงแม้จะยังไม่พ้นโทษออกจากเรือนจำ แต่ก็ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่งผลถึงพฤติกรรม จริยธรรม และคุณธรรมที่ดีขึ้นตามไปด้วย” ผศ.อรสา กล่าว