“การละเล่นรำตง” เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (โปว์) ในท้องที่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จัดเป็นนาฏกรรมที่ปรากฏมานานกว่า 200 ปี ในอดีตนิยมแสดงกันอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันกลับปรากฏเฉพาะในงานพิธีกรรมสำคัญซึ่งเป็นงานประจำปีของชนเผ่าเท่านั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่รู้สึกสัมผัสได้ แต่อาจจะไม่ใช่ด้วยระบบประสาททั้งห้า หากมันเกิดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นและความศรัทธา ที่ทำให้เกิดเป็นภาพขึ้นในใจของชาวกะเหรี่ยง
ซึ่ง นายนรพล คงนานดี ที่ปรึกษาโครงการสานสายใย สามสายน้ำ ชมรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.เล่าว่า “รำตง หรือ เท่อลี่ตง” ในภาษากะเหรี่ยงนั้น หมายถึงการเหยียบย่ำ หรือการเต้นรำ ให้เข้าจังหวะ เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงดัง ตง ตง ตง ตง โดยมีเครื่องเคาะจังหวะที่ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการเลียนเสียงมาจากเครื่องดนตรีเฉพาะที่เรียกว่า “วาเหล่เคาะ” เป็นชื่อเรียกเครื่องดนตรีซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะประเภทหนึ่งของชาวกะเหรี่ยง ทำจากไม้แดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฉิ่งวางหงายทางด้านบนอยู่มุมใดมุมหนึ่ง
รำตงมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้คิดค้นท่ารำและเพลงจะตั้งชื่อตามคณะของตนเอง …การแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยงโปว์ปัจจุบันเหลืออยู่ 5 ชุด คือ รำตงอะบละ รำตงเหร่เร รำตงไอ่มิ รำตงหม่องโยว์การแสดงของเด็ก และรำตงหม่องโยว์การแสดงของผู้ใหญ่ รำตงเป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงที่ผสมผสานทั้งการร้อง การรำ และการทำจังหวะ พร้อมกับการแสดงอารมณ์และความรู้สึกออกมาอย่างอิสระ
“การรำตง ผู้แสดงจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้ โดยทั่วไปนิยมใช้ผู้แสดงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจำนวน 12-16 คน หรืออาจมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่แสดง ซึ่งอาจเป็นเวทีในร่มหรือสนามหญ้า ตั้งแถวเป็นแถวลึกประมาณ 5-6 แถว ยืนห่างกันประมาณ 1 ช่วงแขน ส่วนการแต่งกายนั้นแยกตามลักษณะของหญิงและชาย โดยผู้หญิงจะสวมชุดกระโปรงสีขาวยาวกรอมเท้า หรือที่ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า “ไช่กู่กี๋” เป็นเครื่องแต่งกายประจำชนเผ่าของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง มีลักษณะเป็นเสื้อกระโปรงยาวกรอมเท้าสีขาว บางครั้งจะทอเป็นลวดลายสีแดงในแนวตั้ง บางครั้งทอยกดอกเป็นตาราง มีพู่ห้อยเป็นระยะ คอแหลม คาดเข็มขัดเงินที่เอว สำหรับผู้ชายก็ใส่ชุดประจำเผ่าเป็นเสื้อสีแดง นุ่งโสร่ง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ กลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง พิณหรือปี่ ฉิ่ง ตง (ไม้ไผ่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เซาะเป็นร่องใช้ไม้ตีให้จังหวะ) ในด้านของท่ารำเป็นท่าที่เรียบง่ายเพื่อต้องการความพร้อมเพรียง คล้ายกับฟ้อนพม่า เอกลักษณ์อยู่ที่การย่ำเท้าด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเพลง”
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง นายนรพล อธิบายว่า คือผ้าเช็ดหน้าที่ผูกกับนิ้วกลางข้างขวา ทั้งนี้เพื่อเสริมให้เห็นความพร้อมเพรียงในการรำมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในท่าที่ต้องเคลื่อนไหวด้วยการใช้อุปกรณ์ในมือ หรือเมื่อมีการสะบัดข้อมือ ในส่วนของบทเพลงร้องประกอบการแสดง เนื้อหาในการแสดงโดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อและความศรัทธาเฉพาะกลุ่มชน รำตงจึงมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงเป็นอย่างมาก แต่ไม่นิยมจัดแสดงบ่อยครั้งนัก จะแสดงในงานที่สำคัญๆ ได้แก่ งานสงกรานต์ งานศพ ประเพณีทำบุญข้าวเปลือกใหม่ ซึ่งประเพณีดังกล่าวมีพิธีกรรมทำบุญรับขวัญข้าวใหม่และขอบคุณพระแม่โพสพ
“รำตงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องถวายสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยรำตงที่นำมาจัดแสดงถวายนี้มักมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนคติความเชื่อต่างๆ เพื่อใช้เป็นการอบรมสั่งสอนลูกหลานชาวกะเหรี่ยง”
นายนรพล กล่าวว่า รำตงนอกจากจะเป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมของชาวกะเหรี่ยงเติมเต็มทางด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้มีลักษณะเด่นและความน่าสนใจในด้านที่ให้ความสำคัญในเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงทั้งหลายได้ซึมซับเอาคุณค่าความดีงามในคติธรรม ตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมเรื่องการสร้างความสามัคคี อันเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับกลุ่มชน อีกทั้งยังเป็นทางออกและทางต่อสู้สำหรับความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการกล่อมเกลาจิตใจและปลูกฝังความดีงามให้กับลูกหลาน
ตัวอย่างความหมายและเนื้อร้องของการรำตง
รำตงหม่องโยว์ หมายถึงลักษณะของการร้องและการรำอย่างหนึ่ง ที่เน้นจังหวะดนตรีไม่ช้าและไม่เร็วเกินไปนัก มีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับ
(แปล) ...พวกเรามาถึงแล้ว เมื่อทำการแสดงเสร็จแล้วเราก็จะกลับ ...มาดูเถอะญาติพี่น้อง หญิงสาวทั้งหลายจะแสดงให้ดู ...พี่ชายเอ๋ย ในวันข้างหน้าถ้าห่มผ้าเลือง นั่นแหละจึงจะเรียกได้ว่าผู้มีความรู้ ...ถ้าเราไปวัดเราต้องช่วยกันกวาดลานวัด ต้องปูเสื่อ ฟังให้ดีนะพี่ชายนั่นแหละคือการทำบุญทำกุศล ...(จบ)
รำตงอะบละ เป็นชื่อเรียกการแสดงรำตงหม่องโยว์อย่างหนึ่ง หากแต่เป็นการยกย่องครูผู้ฝึกสอนการแสดงนั้นๆ จึงได้มีการนำมาเรียกเป็นชื่อของการแสดง
(แปล) ...ไชโยๆ ฟังให้ดีนะท่านผู้ชมทั้งหลาย พวกเราจะแสดงการแสดงให้ดู ...การแสดง การละเล่น ทุกอย่างๆ เราจะแสดงให้ดู ...ดูให้ดีผู้ชมทั้งหลาย คืนนี้พวกเราจะแสดงให้เต็มที่ ...96 โรคภัยขอให้แคล้วคลาดกับทุกๆ ท่าน ภพ 3 ภพขอให้เราข้ามพ้นไปด้วยความปลอดภัยทุกชาติ ถ้าเราผ่านพ้นไปได้เราก็จะพบกับพระอริยเจ้า ...อบายมุขทั้งหลายขอท่านอย่าได้ข้องเกี่ยว หากแตะต้องยมบาลจะนำท่านไปนรกภูมิ ...พระรัตนตรัยสามสิ่งนี้พวกเราอย่าได้ลืม โปรดระลึกถึงอยู่เสมอ ...พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โปรดอย่าได้ลืมจงระลึกถึงไว้เสมอ...
วันนี้แม้มีเพียงแค่คนกลุ่มน้อยที่จะได้ชมการแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยง แต่สำหรับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงเองแล้ว การแสดงรำตงถือเป็นภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงคนในชุมชนให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เชื่อมโยงคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นวิถีการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเป็นไปในสังคม
ไม่นานเชื่อได้ว่า “การแสดงรำตง” นี้จะเป็นที่รู้จักและอยู่คู่กับชาวกะเหรี่ยงต่อไปได้เพราะมีโครงการสานสายใย สามสายน้ำ ชมรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มาเก็บรวมรวม ดึงเด็กและเยาวชนที่เป็นรากฐานของสังคมมาสืบสาน สืบทอด และเผยแพร่ออกสู่สังคมแล้ว ...และนั่นไม่เพียงแต่จะทำให้สังคมได้รู้จักการแสดงรำตง แต่นั่นจะเป็นส่วนที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมนี้ได้อยู่ชาวกะเหรี่ยงได้สืบนานเท่านาน
อยากรู้ว่ารำตงเป็นอย่างไร ดูได้ที่ www.artculture4health.com
ซึ่ง นายนรพล คงนานดี ที่ปรึกษาโครงการสานสายใย สามสายน้ำ ชมรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.เล่าว่า “รำตง หรือ เท่อลี่ตง” ในภาษากะเหรี่ยงนั้น หมายถึงการเหยียบย่ำ หรือการเต้นรำ ให้เข้าจังหวะ เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงดัง ตง ตง ตง ตง โดยมีเครื่องเคาะจังหวะที่ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการเลียนเสียงมาจากเครื่องดนตรีเฉพาะที่เรียกว่า “วาเหล่เคาะ” เป็นชื่อเรียกเครื่องดนตรีซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะประเภทหนึ่งของชาวกะเหรี่ยง ทำจากไม้แดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฉิ่งวางหงายทางด้านบนอยู่มุมใดมุมหนึ่ง
รำตงมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้คิดค้นท่ารำและเพลงจะตั้งชื่อตามคณะของตนเอง …การแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยงโปว์ปัจจุบันเหลืออยู่ 5 ชุด คือ รำตงอะบละ รำตงเหร่เร รำตงไอ่มิ รำตงหม่องโยว์การแสดงของเด็ก และรำตงหม่องโยว์การแสดงของผู้ใหญ่ รำตงเป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงที่ผสมผสานทั้งการร้อง การรำ และการทำจังหวะ พร้อมกับการแสดงอารมณ์และความรู้สึกออกมาอย่างอิสระ
“การรำตง ผู้แสดงจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้ โดยทั่วไปนิยมใช้ผู้แสดงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจำนวน 12-16 คน หรืออาจมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่แสดง ซึ่งอาจเป็นเวทีในร่มหรือสนามหญ้า ตั้งแถวเป็นแถวลึกประมาณ 5-6 แถว ยืนห่างกันประมาณ 1 ช่วงแขน ส่วนการแต่งกายนั้นแยกตามลักษณะของหญิงและชาย โดยผู้หญิงจะสวมชุดกระโปรงสีขาวยาวกรอมเท้า หรือที่ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า “ไช่กู่กี๋” เป็นเครื่องแต่งกายประจำชนเผ่าของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง มีลักษณะเป็นเสื้อกระโปรงยาวกรอมเท้าสีขาว บางครั้งจะทอเป็นลวดลายสีแดงในแนวตั้ง บางครั้งทอยกดอกเป็นตาราง มีพู่ห้อยเป็นระยะ คอแหลม คาดเข็มขัดเงินที่เอว สำหรับผู้ชายก็ใส่ชุดประจำเผ่าเป็นเสื้อสีแดง นุ่งโสร่ง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ กลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง พิณหรือปี่ ฉิ่ง ตง (ไม้ไผ่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เซาะเป็นร่องใช้ไม้ตีให้จังหวะ) ในด้านของท่ารำเป็นท่าที่เรียบง่ายเพื่อต้องการความพร้อมเพรียง คล้ายกับฟ้อนพม่า เอกลักษณ์อยู่ที่การย่ำเท้าด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเพลง”
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง นายนรพล อธิบายว่า คือผ้าเช็ดหน้าที่ผูกกับนิ้วกลางข้างขวา ทั้งนี้เพื่อเสริมให้เห็นความพร้อมเพรียงในการรำมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในท่าที่ต้องเคลื่อนไหวด้วยการใช้อุปกรณ์ในมือ หรือเมื่อมีการสะบัดข้อมือ ในส่วนของบทเพลงร้องประกอบการแสดง เนื้อหาในการแสดงโดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อและความศรัทธาเฉพาะกลุ่มชน รำตงจึงมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงเป็นอย่างมาก แต่ไม่นิยมจัดแสดงบ่อยครั้งนัก จะแสดงในงานที่สำคัญๆ ได้แก่ งานสงกรานต์ งานศพ ประเพณีทำบุญข้าวเปลือกใหม่ ซึ่งประเพณีดังกล่าวมีพิธีกรรมทำบุญรับขวัญข้าวใหม่และขอบคุณพระแม่โพสพ
“รำตงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องถวายสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยรำตงที่นำมาจัดแสดงถวายนี้มักมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนคติความเชื่อต่างๆ เพื่อใช้เป็นการอบรมสั่งสอนลูกหลานชาวกะเหรี่ยง”
นายนรพล กล่าวว่า รำตงนอกจากจะเป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมของชาวกะเหรี่ยงเติมเต็มทางด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้มีลักษณะเด่นและความน่าสนใจในด้านที่ให้ความสำคัญในเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงทั้งหลายได้ซึมซับเอาคุณค่าความดีงามในคติธรรม ตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมเรื่องการสร้างความสามัคคี อันเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับกลุ่มชน อีกทั้งยังเป็นทางออกและทางต่อสู้สำหรับความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการกล่อมเกลาจิตใจและปลูกฝังความดีงามให้กับลูกหลาน
ตัวอย่างความหมายและเนื้อร้องของการรำตง
รำตงหม่องโยว์ หมายถึงลักษณะของการร้องและการรำอย่างหนึ่ง ที่เน้นจังหวะดนตรีไม่ช้าและไม่เร็วเกินไปนัก มีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับ
(แปล) ...พวกเรามาถึงแล้ว เมื่อทำการแสดงเสร็จแล้วเราก็จะกลับ ...มาดูเถอะญาติพี่น้อง หญิงสาวทั้งหลายจะแสดงให้ดู ...พี่ชายเอ๋ย ในวันข้างหน้าถ้าห่มผ้าเลือง นั่นแหละจึงจะเรียกได้ว่าผู้มีความรู้ ...ถ้าเราไปวัดเราต้องช่วยกันกวาดลานวัด ต้องปูเสื่อ ฟังให้ดีนะพี่ชายนั่นแหละคือการทำบุญทำกุศล ...(จบ)
รำตงอะบละ เป็นชื่อเรียกการแสดงรำตงหม่องโยว์อย่างหนึ่ง หากแต่เป็นการยกย่องครูผู้ฝึกสอนการแสดงนั้นๆ จึงได้มีการนำมาเรียกเป็นชื่อของการแสดง
(แปล) ...ไชโยๆ ฟังให้ดีนะท่านผู้ชมทั้งหลาย พวกเราจะแสดงการแสดงให้ดู ...การแสดง การละเล่น ทุกอย่างๆ เราจะแสดงให้ดู ...ดูให้ดีผู้ชมทั้งหลาย คืนนี้พวกเราจะแสดงให้เต็มที่ ...96 โรคภัยขอให้แคล้วคลาดกับทุกๆ ท่าน ภพ 3 ภพขอให้เราข้ามพ้นไปด้วยความปลอดภัยทุกชาติ ถ้าเราผ่านพ้นไปได้เราก็จะพบกับพระอริยเจ้า ...อบายมุขทั้งหลายขอท่านอย่าได้ข้องเกี่ยว หากแตะต้องยมบาลจะนำท่านไปนรกภูมิ ...พระรัตนตรัยสามสิ่งนี้พวกเราอย่าได้ลืม โปรดระลึกถึงอยู่เสมอ ...พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โปรดอย่าได้ลืมจงระลึกถึงไว้เสมอ...
วันนี้แม้มีเพียงแค่คนกลุ่มน้อยที่จะได้ชมการแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยง แต่สำหรับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงเองแล้ว การแสดงรำตงถือเป็นภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงคนในชุมชนให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เชื่อมโยงคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นวิถีการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเป็นไปในสังคม
ไม่นานเชื่อได้ว่า “การแสดงรำตง” นี้จะเป็นที่รู้จักและอยู่คู่กับชาวกะเหรี่ยงต่อไปได้เพราะมีโครงการสานสายใย สามสายน้ำ ชมรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มาเก็บรวมรวม ดึงเด็กและเยาวชนที่เป็นรากฐานของสังคมมาสืบสาน สืบทอด และเผยแพร่ออกสู่สังคมแล้ว ...และนั่นไม่เพียงแต่จะทำให้สังคมได้รู้จักการแสดงรำตง แต่นั่นจะเป็นส่วนที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมนี้ได้อยู่ชาวกะเหรี่ยงได้สืบนานเท่านาน
อยากรู้ว่ารำตงเป็นอย่างไร ดูได้ที่ www.artculture4health.com