ตรวจแคปซูลผงบุกลดอ้วน พบใส่สารไซบูทรามีน หลังหญิงสาวซื้อมากินแล้วเกิดอาการแพ้ยา ผิวหนังหลุดลอก ชี้อันตรายเหตุเพิ่มความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดถึงตาย
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย.กล่าวถึงกรณีหญิงสาวซื้อแคปซูลผงบุกมาบริโภคเพื่อลดความอ้วน แต่มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง มีแผลตามเยื่อบุต่างๆ ผิวหนังหลุดลอกคล้ายถูกไฟไหม้ เข้ารับการรักษาที่ รพ.สกลนคร โดยแพทย์ระบุมีอาการแพ้ยา ว่า จากการตรวจสอบโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พบผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของ
ยาไซบูทรามีน ส่วน อย.ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พบระบุเลขทะเบียนตำรับยา G 228/47 ซึ่งเป็นเลขทะเบียนยาที่ถูกยกเลิกแล้ว ถือเป็นยาปลอม สำหรับการตรวจพบยาไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์ถือว่าผิดกฎหมายเช่นกัน เพราะ อย.ได้เพิกถอนยาไซบูทรามีนแล้ว เนื่องจากข้อมูลการทดลองทางคลินิกชี้ว่า ยาดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก เป็นต้น
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า การลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนสามารถทำได้ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้ถูกต้องและครบทั้ง 5 หมู่ ไม่กินจุบกินจิบ หมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้แจ่มใส นอกจากจะทำให้มีสุขภาพดีแล้ว ยังทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างยั่งยืน
“ขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพราะล้วนแต่เป็นเรื่องหลอกลวง รวมทั้งควรพิจารณาและอ่านฉลากให้ถ้วนถี่เสียก่อน” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย.กล่าวถึงกรณีหญิงสาวซื้อแคปซูลผงบุกมาบริโภคเพื่อลดความอ้วน แต่มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง มีแผลตามเยื่อบุต่างๆ ผิวหนังหลุดลอกคล้ายถูกไฟไหม้ เข้ารับการรักษาที่ รพ.สกลนคร โดยแพทย์ระบุมีอาการแพ้ยา ว่า จากการตรวจสอบโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พบผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของ
ยาไซบูทรามีน ส่วน อย.ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พบระบุเลขทะเบียนตำรับยา G 228/47 ซึ่งเป็นเลขทะเบียนยาที่ถูกยกเลิกแล้ว ถือเป็นยาปลอม สำหรับการตรวจพบยาไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์ถือว่าผิดกฎหมายเช่นกัน เพราะ อย.ได้เพิกถอนยาไซบูทรามีนแล้ว เนื่องจากข้อมูลการทดลองทางคลินิกชี้ว่า ยาดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก เป็นต้น
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า การลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนสามารถทำได้ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้ถูกต้องและครบทั้ง 5 หมู่ ไม่กินจุบกินจิบ หมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้แจ่มใส นอกจากจะทำให้มีสุขภาพดีแล้ว ยังทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างยั่งยืน
“ขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพราะล้วนแต่เป็นเรื่องหลอกลวง รวมทั้งควรพิจารณาและอ่านฉลากให้ถ้วนถี่เสียก่อน” รองเลขาธิการ อย.กล่าว