เครือข่ายเยาวชนฯ ชื่นชมพนักงานหญิง 7-11 และขอให้ผู้บริหารซีพีออกมาตรการคุ้มครองพนักงานขาย เหตุไม่ปลอดภัยหลังถูกขี้เมาข่มขู่คุกคามซื้อเหล้านอกเวลาที่กฎหมายกำหนด
วันนี้ (19 มี.ค.) ที่อาคารซีพี ทาวเวอร์1 เมื่อเวลา 10.30 น. นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ พร้อมด้วย นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล นำนักศึกษาและกลุ่มผู้หญิง 20 คน เข้าพบนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีพี 7-11 จำกัด (มหาชน) เพื่อแสดงความขอบคุณที่ยืนหยัดปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และยื่นข้อเสนอให้ออกมาตรการป้องกันคุ้มครองพนักงาน จากกรณีที่ถูกผู้ซื้อสุราที่มีอาการมึนเมาข่มขู่คุกคาม
นายธีรภัทร์ กล่าวว่า จากกรณีชายที่เมาอาละวาด บังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาตามที่กฎหมายกำหนด จากพนักงานหญิงในร้านสะดวกซื้อด้วยคำพูดดูถูกคุกคาม เครือข่ายฯจึงมีข้อเสนอเพื่อให้ผู้บริหารบริษัท ซีพี นำไปพิจารณา ดังนี้ 1.ขอชื่นชมและขอบคุณในความพยายามปฏิบัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของ 7-eleven และขอให้ยืนหยัดปฏิบัติกฎหมายต่อไป เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและช่วยลดปัญหาสังคมจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งในช่วงสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้จะมีการฉลองโดยใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก การเข้มงวดปฏิบัติตามกฎหมายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง 2.ขอให้บริษัทกำหนดมาตรการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ให้กับพนักงานเมื่อต้องเผชิญเหตุไม่พึงประสงค์ดังกล่าว รวมถึงอาจจะพัฒนาเครื่องมือ ระบบติดต่อแจ้งเหตุระหว่าง 7-eleven กับตำรวจในพื้นที่เช่นเดียวกับกรณีร้านทองหรือธนาคาร 3.ควรเร่งติดป้ายประชาสัมพันธ์กฎหมายให้ชัดเจน ในเรื่องการควบคุมเวลาขาย ห้ามขายให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี และไม่ขายให้คนเมาขาดสติ 4.กรณีพนักงานหญิง ที่ทำงานกะกลางคืนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้มีผู้ชายร่วมทำงานในกะนั้นด้วย เพื่อให้ความช่วยเหลือ และป้องปรามผู้ที่จะเข้ามาก่อเหตุในเบื้องต้น
“พนักงานหญิงในร้านสะดวกซื้อมีความเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายร่างกาย ไม่มีมาตรการดูแลความปลอดภัย จึงอยากให้ผู้บริหารซีพีออกเป็นมาตรการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะใกล้เทศกาลสงกรานต์ที่มีการดื่มฉลอง ควรเข้มงวด และบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแนวทางเดียวกันทุกสาขา เช่น ขายตามช่วงเวลา ไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และผู้ที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้” นายธีรภัทร์ กล่าว
นายจะเด็จ กล่าวว่า พนักงานหญิงไม่ยอมขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาที่กฎหมายกำหนดถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเขาปฏิบัติตามกฎหมายและรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งผู้บริหารซีพีควรมีมาตรการแบบนี้ทุกสาขาเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่มาตรการคุ้มครองดูแลความปลอดภัยของพนักงานก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ต้องมานั่งระแวงหวาดกลัว วิตกกังวลว่าจะมีใครมาทำร้ายข่มขู่ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนที่อาจมีเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
“พนักงานหญิงทำงานช่วงกลางคืนก็มีความเสี่ยงมากพออยู่แล้ว ทั้งเรื่องถูกคุกคาม การละเมิดสิทธิเนื้อตัวร่างกาย จึงอยากให้ผู้บริหารใส่ใจดูแลสวัสดิการ ความปลอดภัยของพนักงานอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจต่อตัวพนักงาน และหวังว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้จะเป็นบทเรียน ให้เกิดการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก” นายจะเด็จ กล่าว
วันนี้ (19 มี.ค.) ที่อาคารซีพี ทาวเวอร์1 เมื่อเวลา 10.30 น. นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ พร้อมด้วย นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล นำนักศึกษาและกลุ่มผู้หญิง 20 คน เข้าพบนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีพี 7-11 จำกัด (มหาชน) เพื่อแสดงความขอบคุณที่ยืนหยัดปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และยื่นข้อเสนอให้ออกมาตรการป้องกันคุ้มครองพนักงาน จากกรณีที่ถูกผู้ซื้อสุราที่มีอาการมึนเมาข่มขู่คุกคาม
นายธีรภัทร์ กล่าวว่า จากกรณีชายที่เมาอาละวาด บังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาตามที่กฎหมายกำหนด จากพนักงานหญิงในร้านสะดวกซื้อด้วยคำพูดดูถูกคุกคาม เครือข่ายฯจึงมีข้อเสนอเพื่อให้ผู้บริหารบริษัท ซีพี นำไปพิจารณา ดังนี้ 1.ขอชื่นชมและขอบคุณในความพยายามปฏิบัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของ 7-eleven และขอให้ยืนหยัดปฏิบัติกฎหมายต่อไป เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและช่วยลดปัญหาสังคมจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งในช่วงสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้จะมีการฉลองโดยใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก การเข้มงวดปฏิบัติตามกฎหมายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง 2.ขอให้บริษัทกำหนดมาตรการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ให้กับพนักงานเมื่อต้องเผชิญเหตุไม่พึงประสงค์ดังกล่าว รวมถึงอาจจะพัฒนาเครื่องมือ ระบบติดต่อแจ้งเหตุระหว่าง 7-eleven กับตำรวจในพื้นที่เช่นเดียวกับกรณีร้านทองหรือธนาคาร 3.ควรเร่งติดป้ายประชาสัมพันธ์กฎหมายให้ชัดเจน ในเรื่องการควบคุมเวลาขาย ห้ามขายให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี และไม่ขายให้คนเมาขาดสติ 4.กรณีพนักงานหญิง ที่ทำงานกะกลางคืนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้มีผู้ชายร่วมทำงานในกะนั้นด้วย เพื่อให้ความช่วยเหลือ และป้องปรามผู้ที่จะเข้ามาก่อเหตุในเบื้องต้น
“พนักงานหญิงในร้านสะดวกซื้อมีความเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายร่างกาย ไม่มีมาตรการดูแลความปลอดภัย จึงอยากให้ผู้บริหารซีพีออกเป็นมาตรการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะใกล้เทศกาลสงกรานต์ที่มีการดื่มฉลอง ควรเข้มงวด และบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแนวทางเดียวกันทุกสาขา เช่น ขายตามช่วงเวลา ไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และผู้ที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้” นายธีรภัทร์ กล่าว
นายจะเด็จ กล่าวว่า พนักงานหญิงไม่ยอมขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาที่กฎหมายกำหนดถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเขาปฏิบัติตามกฎหมายและรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งผู้บริหารซีพีควรมีมาตรการแบบนี้ทุกสาขาเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่มาตรการคุ้มครองดูแลความปลอดภัยของพนักงานก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ต้องมานั่งระแวงหวาดกลัว วิตกกังวลว่าจะมีใครมาทำร้ายข่มขู่ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนที่อาจมีเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
“พนักงานหญิงทำงานช่วงกลางคืนก็มีความเสี่ยงมากพออยู่แล้ว ทั้งเรื่องถูกคุกคาม การละเมิดสิทธิเนื้อตัวร่างกาย จึงอยากให้ผู้บริหารใส่ใจดูแลสวัสดิการ ความปลอดภัยของพนักงานอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจต่อตัวพนักงาน และหวังว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้จะเป็นบทเรียน ให้เกิดการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก” นายจะเด็จ กล่าว