“จาตุรนต์” ไม่เห็นด้วยใช้โอเน็ตคัดเด็กกู้ กยศ.ชี้ทำเด็กเสียโอกาส เหตุเด็กยากจนอาจต้องทำงาน จนไม่ได้สอบหรือไม่ได้ตั้งใจสอบ วอนองค์กรต่างๆ ช่วยเสนอแนวคิดบริหารกองทุนให้ดีขึ้น หลังปัญหาหมักหมมนาน ระบุใช้ระบบภาษีคืนเงินกู้ กยศ.เป็นการจับแพะชนแกะ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีแนวคิดนำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเด็กกู้ กยศ.ว่า วัตถุประสงค์ของการปล่อยกู้ กยศ.เพื่อให้โอกาสกับเด็กที่ครอบครัวยากจนไม่มีเงินเรียนได้กู้ยืมเรียน ถ้านำคะแนน O-NET มาใช้ ก็จะมีปัญหาอีกแบบ เช่น บางกรณีหากเด็กยากจนต้องออกมาทำงานหารายได้ระหว่างเรียน ก็อาจจะทำให้ไม่ตั้งใจสอบ O-NET หรืออาจไม่ได้สอบ ซึ่งจะทำให้เด็กเสียโอกาสในการกู้ กยศ.ตนคิดว่าเราต้องนำแนวคิดเรื่องการให้ทุนการศึกษา แนวคิดการจัดการสอบ ปรัชญาการจัดการศึกษามาวิเคราะห์ให้ดีก่อน ไม่อยากให้รีบด่วนสรุป รวมทั้งแนวคิดที่จะนำรายชื่อผู้กู้ กยศ.เข้าสู่ระบบเครดิตบูโรด้วย
“ผมรู้สึกเห็นใจ กยศ.ที่ต้องตามแก้ไขปัญหาทีหลัง เพราะไม่ได้มีการจัดระบบการบริหารจัดการไว้ให้ชัดเจน และปัญหาก็เกิดทับถมมาเรื่อยๆ จึงต้องแก้ปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ ส่วนระบบที่ดีควรเป็นอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเข้ามาช่วยกันคิดกันพอควรหากยังมีเวลาก็จะให้องค์กรหลักของ ศธ.ช่วยวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง กยศ.ให้ดีขึ้นด้วย แต่ขณะนี้อยากช่วย กยศ.แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าก่อน เรื่องเงินไม่พอ ซึ่ง กยศ.ได้เสนอของบกลาง จำนวน 2,118 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยแก้ปัญหาการถูกตัดงบ กยศ.จนอาจจะทำให้ผู้กู้ยืม กยศ.ได้ไม่ตามเป้าที่วางไว้ ดังนั้นตนไม่แน่ใจว่าจะมีการนำเรื่องการของงบกลางเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้าหรือไม่ แต่ตนจะสอบถาม รมว.คลัง เพราะต้องการช่วยเหลือเด็ก” รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ตนเสียดายที่แนวคิดกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.) ที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในประเทศไทย และก็เป็นคนร่างนโยบายนี้ของพรรคเพื่อไทยและนำมาบรรจุไว้ในแนวคิดของ กรอ.สำหรับแนวคิด กรอ.ที่ตน และหากยังมีและหากยังมีเวลาก็จะให้องค์กรหลักช่วยวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง กยศ.ให้ดีขึ้นด้วย เวลาก็จะให้องค์กรหลักช่วยวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการรัฐบาล แต่ไม่มีรายละเอียด และตอนนี้ก็ไม่มีแรงพอที่จะผลักดันต่อ เพราะเป็นรัฐบาลรักษาการ
ต่อข้อถามถึงการใช้ระบบภาษีสามารถนำมาใช้กับการคืนเงินกู้ของ กยศ.ได้หรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ผู้กู้ กยศ.มีหลายระดับและแนวคิดของ กยศ.กับ กรอ.ก็แตกต่างกัน หากนำมาใช้ ตนเกรงว่าจะเป็นการจับแพะชนแกะ อย่างไรก็ตาม หากเราแก้ปัญหาเรื่องเงินไม่พอได้แล้ว ก็จะให้ องค์กรหลักพิจารณาข้อเสนอเพื่อปรับปรุงระบบ กยศ.ต่อไป เพราะตนคิดว่าฝ่ายจัดการศึกษาควรมีบทบาทสามารถนำเสนอแนวคิดมากขึ้น เพราะส่งผลต่อผู้เรียนที่รับผิดชอบโดยตรง แต่ระบบการจัดการงบฯของประเทศไทย เรายกให้กระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพหลักฝ่ายเดียว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีแนวคิดนำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเด็กกู้ กยศ.ว่า วัตถุประสงค์ของการปล่อยกู้ กยศ.เพื่อให้โอกาสกับเด็กที่ครอบครัวยากจนไม่มีเงินเรียนได้กู้ยืมเรียน ถ้านำคะแนน O-NET มาใช้ ก็จะมีปัญหาอีกแบบ เช่น บางกรณีหากเด็กยากจนต้องออกมาทำงานหารายได้ระหว่างเรียน ก็อาจจะทำให้ไม่ตั้งใจสอบ O-NET หรืออาจไม่ได้สอบ ซึ่งจะทำให้เด็กเสียโอกาสในการกู้ กยศ.ตนคิดว่าเราต้องนำแนวคิดเรื่องการให้ทุนการศึกษา แนวคิดการจัดการสอบ ปรัชญาการจัดการศึกษามาวิเคราะห์ให้ดีก่อน ไม่อยากให้รีบด่วนสรุป รวมทั้งแนวคิดที่จะนำรายชื่อผู้กู้ กยศ.เข้าสู่ระบบเครดิตบูโรด้วย
“ผมรู้สึกเห็นใจ กยศ.ที่ต้องตามแก้ไขปัญหาทีหลัง เพราะไม่ได้มีการจัดระบบการบริหารจัดการไว้ให้ชัดเจน และปัญหาก็เกิดทับถมมาเรื่อยๆ จึงต้องแก้ปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ ส่วนระบบที่ดีควรเป็นอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเข้ามาช่วยกันคิดกันพอควรหากยังมีเวลาก็จะให้องค์กรหลักของ ศธ.ช่วยวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง กยศ.ให้ดีขึ้นด้วย แต่ขณะนี้อยากช่วย กยศ.แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าก่อน เรื่องเงินไม่พอ ซึ่ง กยศ.ได้เสนอของบกลาง จำนวน 2,118 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยแก้ปัญหาการถูกตัดงบ กยศ.จนอาจจะทำให้ผู้กู้ยืม กยศ.ได้ไม่ตามเป้าที่วางไว้ ดังนั้นตนไม่แน่ใจว่าจะมีการนำเรื่องการของงบกลางเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้าหรือไม่ แต่ตนจะสอบถาม รมว.คลัง เพราะต้องการช่วยเหลือเด็ก” รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ตนเสียดายที่แนวคิดกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.) ที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในประเทศไทย และก็เป็นคนร่างนโยบายนี้ของพรรคเพื่อไทยและนำมาบรรจุไว้ในแนวคิดของ กรอ.สำหรับแนวคิด กรอ.ที่ตน และหากยังมีและหากยังมีเวลาก็จะให้องค์กรหลักช่วยวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง กยศ.ให้ดีขึ้นด้วย เวลาก็จะให้องค์กรหลักช่วยวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการรัฐบาล แต่ไม่มีรายละเอียด และตอนนี้ก็ไม่มีแรงพอที่จะผลักดันต่อ เพราะเป็นรัฐบาลรักษาการ
ต่อข้อถามถึงการใช้ระบบภาษีสามารถนำมาใช้กับการคืนเงินกู้ของ กยศ.ได้หรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ผู้กู้ กยศ.มีหลายระดับและแนวคิดของ กยศ.กับ กรอ.ก็แตกต่างกัน หากนำมาใช้ ตนเกรงว่าจะเป็นการจับแพะชนแกะ อย่างไรก็ตาม หากเราแก้ปัญหาเรื่องเงินไม่พอได้แล้ว ก็จะให้ องค์กรหลักพิจารณาข้อเสนอเพื่อปรับปรุงระบบ กยศ.ต่อไป เพราะตนคิดว่าฝ่ายจัดการศึกษาควรมีบทบาทสามารถนำเสนอแนวคิดมากขึ้น เพราะส่งผลต่อผู้เรียนที่รับผิดชอบโดยตรง แต่ระบบการจัดการงบฯของประเทศไทย เรายกให้กระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพหลักฝ่ายเดียว