รง.ร่วม พณ.-กต.วางมาตรการปลดล็อกสินค้า 5 รายการโยงใช้แรงงานเด็ก-บังคับ ตั้งทีมเฉพาะแต่ละกลุ่มสินค้าวางแผนแก้ปัญหา ดึงหน่วยงานรัฐ เอกชน-ไอแอลโอร่วมแก้ เล็งปลดล็อกสินค้าอ้อย-เครื่องนุ่งห่มตั้งเป้าภายในปี 2558
นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้หารือกับผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เกี่ยวกับมาตรการดำเนินการเพื่อถอดสินค้าไทยที่ถูกสหรัฐอเมริการะบุว่า มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับใน 5 รายการ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม กุ้ง อ้อย สื่อลามก และปลา ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานเฉพาะขึ้นมาแต่ละกลุ่มสินค้าประกอบ ด้วยตัวแทนหน่วยงานรัฐ เอกชนและภาคประชาชนเพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติงาน ดำเนินงานและสรุปผลเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์เพื่อเสนอไปยังสหรัฐอเมริกาให้ถอด รายการสินค้าแต่ละรายการออกจากการถูกระบุว่าการใช้แรงงานเด็กและแรงงาน บังคับให้ได้ในอนาคต
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานของคณะทำงานเฉพาะแต่ละกลุ่มรายการ สินค้าโดยให้ไปสำรวจว่าแต่ละกลุ่มสินค้ามีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ในพื้นที่ใดบ้างและจ้างบริษัทต่างชาติมาเป็นที่ปรึกษาเพื่อหาข้อมูลว่าสหรัฐอเมริกากล่าวหาในประเด็นใดบ้างและช่วยชี้แจงทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ แก่สหรัฐอเมริกา และภาคธุรกิจในอเมริกา ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมแรกที่ไทยตั้งเป้าหมายจะเสนอปลดล็อกสินค้าใน 2 รายการก่อนคือ อ้อย และเครื่องนุ่งห่มโดยจะเสนอปลอดล็อกให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 เนื่องจากขณะนี้การแก้ปัญหามีความคืบหน้าไปมาก
“หลังจากนี้คณะทำงานเฉพาะแต่ละกลุ่มสินค้า จะเดินหน้าแก้ปัญหาต่อไปโดยในส่วนของสินค้าอ้อยและเครื่องนุ่งห่ม จะเชิญมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ทำวิจัยเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อย และมหาวิทยาลัยมหิดล(มม.) ทำวิจัยการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับในอุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) มาเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานฯเพื่อ วางแผนการดำเนินงานและลงพื้นที่สำรวจว่าพื้นที่ใดที่มีปัญหาการใช้แรงงาน เด็กและแรงงานบังคับ ส่วนกรณีอเมริกาต้องการให้ไทยเร่งดำเนินคดีใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ นั้น เวลาที่พนักงานตรวจแรงงานลงพื้นที่ไปตรวจสถานประกอบการ หากพบว่ามีการกระทำผิดตามขั้นตอนทางกฎหมายจะต้องออกหนังสือเตือนก่อน หากไม่แก้ไขจึงจะดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งต้องชี้แจงเรื่องนี้ให้อเมริกาเข้า ใจในเรื่องนี้” นายพานิช กล่าว
นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้หารือกับผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เกี่ยวกับมาตรการดำเนินการเพื่อถอดสินค้าไทยที่ถูกสหรัฐอเมริการะบุว่า มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับใน 5 รายการ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม กุ้ง อ้อย สื่อลามก และปลา ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานเฉพาะขึ้นมาแต่ละกลุ่มสินค้าประกอบ ด้วยตัวแทนหน่วยงานรัฐ เอกชนและภาคประชาชนเพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติงาน ดำเนินงานและสรุปผลเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์เพื่อเสนอไปยังสหรัฐอเมริกาให้ถอด รายการสินค้าแต่ละรายการออกจากการถูกระบุว่าการใช้แรงงานเด็กและแรงงาน บังคับให้ได้ในอนาคต
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานของคณะทำงานเฉพาะแต่ละกลุ่มรายการ สินค้าโดยให้ไปสำรวจว่าแต่ละกลุ่มสินค้ามีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ในพื้นที่ใดบ้างและจ้างบริษัทต่างชาติมาเป็นที่ปรึกษาเพื่อหาข้อมูลว่าสหรัฐอเมริกากล่าวหาในประเด็นใดบ้างและช่วยชี้แจงทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ แก่สหรัฐอเมริกา และภาคธุรกิจในอเมริกา ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมแรกที่ไทยตั้งเป้าหมายจะเสนอปลดล็อกสินค้าใน 2 รายการก่อนคือ อ้อย และเครื่องนุ่งห่มโดยจะเสนอปลอดล็อกให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 เนื่องจากขณะนี้การแก้ปัญหามีความคืบหน้าไปมาก
“หลังจากนี้คณะทำงานเฉพาะแต่ละกลุ่มสินค้า จะเดินหน้าแก้ปัญหาต่อไปโดยในส่วนของสินค้าอ้อยและเครื่องนุ่งห่ม จะเชิญมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ทำวิจัยเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อย และมหาวิทยาลัยมหิดล(มม.) ทำวิจัยการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับในอุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) มาเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานฯเพื่อ วางแผนการดำเนินงานและลงพื้นที่สำรวจว่าพื้นที่ใดที่มีปัญหาการใช้แรงงาน เด็กและแรงงานบังคับ ส่วนกรณีอเมริกาต้องการให้ไทยเร่งดำเนินคดีใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ นั้น เวลาที่พนักงานตรวจแรงงานลงพื้นที่ไปตรวจสถานประกอบการ หากพบว่ามีการกระทำผิดตามขั้นตอนทางกฎหมายจะต้องออกหนังสือเตือนก่อน หากไม่แก้ไขจึงจะดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งต้องชี้แจงเรื่องนี้ให้อเมริกาเข้า ใจในเรื่องนี้” นายพานิช กล่าว