ชาวนาชุมนุมหน้า ก.พาณิชย์ เครียดหนัก 4 คน ซึมเศร้า 6 คน กรมสุขภาพจิตจัดทีมดูแลทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สกัดชาวนาฆ่าตัวตายประจานรัฐบาลอีก เน้นหลัก 2P ดำเนินการ
วันนี้ (24 ก.พ.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวภายหลังลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มชาวนาและผู้ปฏิบัติงาน ณ กระทรวงพาณิชย์ ว่า จากการส่งทีมวิกฤตสุขภาพจิตจาก รพ.ศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา สถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้บริการประเมินภาวะสุขภาพจิต ให้คำปรึกษา ให้ยาคลายเครียด และจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ให้แก่กลุ่มชาวนาที่ชุมนุมอยู่ที่ ก.พาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. พบว่าการประเมินภาวะสุขภาพจิตกลุ่มชาวนาที่มาร่วมชุมนุมจำนวน 52 ราย เมื่อวันที่ 20 ก.พ.พบผู้ชุมนุม มีความเครียด ซึมเศร้า รวม 12 ราย โดยเครียดมากและมากที่สุด 4 ราย ซึมเศร้า 6 ราย และนอนไม่หลับ 2 ราย ได้ให้การรักษาและความรู้ในการดูแลจิตใจตนเองเบื้องต้นแล้ว ขณะที่ผู้ได้รับยากลับไปได้แนะนำให้พบจิตแพทย์และทีมสุขภาพจิตอีกในครั้งต่อไป
นพ.เจษฎา กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตได้ใช้แนวทางในการดูแลชาวนาผู้ชุมนุม ด้วยหลัก 2P คือ 1.Preparedne การเตรียมพร้อมเตรียมค้นหากลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต โดยการส่งทีมวิกฤตสุขภาพจิต ลงพื้นที่ประเมินทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคร่วมมือกับ อสม.และศูนย์สุขภาพจิต ประเมินชาวนาในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต หากพบว่ามีความเสี่ยงจะให้การเยียวยาจิตใจและแนะนำวิธีดูแลตนเองในเบื้องต้น และจะทำการประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ร่วมด้วย หากพบว่ามีความเสี่ยง ก็จะให้คำปรึกษาแนะนำ และส่งต่อแพทย์ 2.Prevention การป้องกัน โดยเฉพาะการฆ่าตัวตาย เมื่อพบกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จะมีระบบส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษาและเฝ้าระวัง โดยมีทีมวิกฤตสุขภาพจิตในพื้นที่และศูนย์สุขภาพจิตเป็นหน่วยงานเชิงรุกเข้าไปดูแลส่งต่อกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาร่วมกับ สสจ. ติดตามจนกว่าอาการจะดีขึ้น ช่วยให้ชาวนาที่เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายเข้าสู่การรักษาได้เร็วขึ้น
วันนี้ (24 ก.พ.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวภายหลังลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มชาวนาและผู้ปฏิบัติงาน ณ กระทรวงพาณิชย์ ว่า จากการส่งทีมวิกฤตสุขภาพจิตจาก รพ.ศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา สถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้บริการประเมินภาวะสุขภาพจิต ให้คำปรึกษา ให้ยาคลายเครียด และจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ให้แก่กลุ่มชาวนาที่ชุมนุมอยู่ที่ ก.พาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. พบว่าการประเมินภาวะสุขภาพจิตกลุ่มชาวนาที่มาร่วมชุมนุมจำนวน 52 ราย เมื่อวันที่ 20 ก.พ.พบผู้ชุมนุม มีความเครียด ซึมเศร้า รวม 12 ราย โดยเครียดมากและมากที่สุด 4 ราย ซึมเศร้า 6 ราย และนอนไม่หลับ 2 ราย ได้ให้การรักษาและความรู้ในการดูแลจิตใจตนเองเบื้องต้นแล้ว ขณะที่ผู้ได้รับยากลับไปได้แนะนำให้พบจิตแพทย์และทีมสุขภาพจิตอีกในครั้งต่อไป
นพ.เจษฎา กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตได้ใช้แนวทางในการดูแลชาวนาผู้ชุมนุม ด้วยหลัก 2P คือ 1.Preparedne การเตรียมพร้อมเตรียมค้นหากลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต โดยการส่งทีมวิกฤตสุขภาพจิต ลงพื้นที่ประเมินทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคร่วมมือกับ อสม.และศูนย์สุขภาพจิต ประเมินชาวนาในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต หากพบว่ามีความเสี่ยงจะให้การเยียวยาจิตใจและแนะนำวิธีดูแลตนเองในเบื้องต้น และจะทำการประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ร่วมด้วย หากพบว่ามีความเสี่ยง ก็จะให้คำปรึกษาแนะนำ และส่งต่อแพทย์ 2.Prevention การป้องกัน โดยเฉพาะการฆ่าตัวตาย เมื่อพบกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จะมีระบบส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษาและเฝ้าระวัง โดยมีทีมวิกฤตสุขภาพจิตในพื้นที่และศูนย์สุขภาพจิตเป็นหน่วยงานเชิงรุกเข้าไปดูแลส่งต่อกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาร่วมกับ สสจ. ติดตามจนกว่าอาการจะดีขึ้น ช่วยให้ชาวนาที่เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายเข้าสู่การรักษาได้เร็วขึ้น