ชัดเจน! รบ.เบี้ยวค่าข้าวตัวการทำชาวนาฆ่าตัวตาย หลังกรมสุขภาพจิตวิเคราะห์เหตุฆ่าตัวตายชาวนาทั้ง 9 ราย พบ “หนี้สิน” เป็นตัวกระตุ้นสำคัญ เป็นฟางเส้นสุดท้ายให้คิดฆ่าตัวตาย แนะคนใกล้ชิดสังเกตสัญญาณเตือน ทั้งบ่นเครียดจนถึงพูดอยากตาย ให้รีบรักษาก่อนสายเกินแก้ ด้านม็อบชาวนา ก.พาณิชย์ พบซึมเศร้า 9 ราย
จากกรณีข่าวชาวนา 13 รายฆ่าตัวตาย เพราะความเครียดจากการถูกรัฐบาลโกงเบี้ยวจ่ายเงินจำนำข้าวนั้น พบว่า 1 รายไม่เกี่ยวข้องกับเหตุจำนำข้าว และอีก 3 รายตายเพราะโรคประจำตัว วันนี้ (18 ก.พ.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ว่า การฆ่าตัวตายในทางวิชาการ ต้องมีแรงผลักดันหรือปัจจัยร่วม ซึ่งจากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิต เพื่อวิเคราะห์สาเหตุชาวนาฆ่าตัวตายจำนวน 9 ราย พบว่า มีปัญหาสุขภาพทางกาย มีโรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพจิต มีภาระความรับผิดชอบที่ต้องเป็นคนแบกรับ ส่วนปัจจัยกระตุ้นคือ ตึงเครียดจากหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบเป็นแรงกดดันค่อนข้างมาก ส่วนกลุ่มชาวนาที่ชุมนุมที่กระทรวงพาณิชย์ ส่วนใหญ่มีความเครียดน้อย พบ 9 รายเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า จึงส่งข้อมูลกลุ่มเสี่ยงให้แกนนำและทีมแพทย์ประจำจุดดูแลช่วยเหลือ
“ปัจจัยร่วมของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จคือ จิตใจเครียดง่าย ซึมเศร้า มีแรงกดดันเพิ่มขึ้น ภาระในครอบครัว ภาระจากการเป็นผู้นำ โดยหนี้สินเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ เป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งทั้ง 9 รายมีการส่งสัญญาณชัดเจน ทั้งบ่นเครียด รู้สึกไม่ไหว จัดการกับภาระตัวเองไม่ได้ จนถึงพูดตรงๆ เรื่องฆ่าตัวตาย หากญาติหรือคนใกล้ชิดสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้ต้องดำเนินการ 3 เรื่อง คือ 1.รับฟัง ช่วยให้เขาได้ระบาย ให้ความใกล้ชิดจะช่วยให้ผ่านวิกฤตได้ 2.ดึงออกมาสู่กิจกรรมอื่น และ 3.ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หาก 2-3 วันไม่ดีขึ้น ควรเข้าสู่กระบวนการรับคำปรึกษา” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า คนที่จะฆ่าตัวตายธรรมชาติของความคิดจะค่อยๆ สะสมมา เมื่อเกิดความคิดเรื่องฆ่าตัวตายจะมีเวลาอีกระยะหนึ่งในการตัดสินใจ เป็นเวลาทองในการช่วยเหลือ แต่หากตัดสินใจค่อนข้างมั่นคงว่าจะฆ่าตัวตายแล้ว การพูดให้กำลังใจไม่สามารถช่วยได้ ต้องเข้ารับการรักษาเท่านั้น เพราะบุคคลนั้นมีความคิดดำดิ่งลงไปแล้ว การเข้าสู่การรักษาจะสามารถส่งต่อตามระบบได้ จนถึงทีมสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งสามารถดูแลได้ทันท่วงที หากซับซ้อนก็ปรึกษาทีมสุขภาพจิตของกรม ดังนั้น จึงอยากให้มีการเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ในระดับหมู่บ้านมี อสม.ช่วยประเมินได้ หากมีแนวโน้มซึมเศร้า ฆ่าตัวตายก็จะส่งทีมเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตติดตาม ส่วนมีความเครียดเบื้องต้นก็จะเฝ้าระวัง โดยการพูดคุยกับญาติ เพราะจะมีข้อสังเกตตามที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการสบายใจทั้งที่ยังมีปัญหาอยู่ก็ต้องระวัง เพราะเหมือนตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ ควรเข้ารับการรักษาเช่นกัน
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ชาวนาที่รู้สึกว่าตัวเองเครียด กดดันทางจิตใจสามารถรับคำปรึกษาได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ระบบชุมชนมีความสำคัญในการแก้ปัญหา โดยอาจรวมกลุ่มกันเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหาแทนการรอรับเงินอย่างเดียว เช่น บางพื้นที่กลุ่มเกษตรกรกับโรงสีมีการจัดการบางอย่าง เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่ให้สถานการณ์ไปส่งผลมากยิ่งขึ้น ที่น่าห่วงคือองค์การอนามัยโลกทำการศึกษาว่าถ้ามีข่าวฆ่าตัวตายเกิดขึ้น กลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายอยู่แล้วมีโอกาสสูงที่จะเลือกวิธีฆ่าตัวตายตามข่าว อย่างกรณีชาวนาฆ่าตัวตายก็พบว่าเกิดขึ้นช่วงเวลาใกล้กัน เพราะการปรากฏของข่าวทำให้กลุ่มเสี่ยงเกิดความรู้สึกว่าเป็นวิธีทางออกที่คนอื่นก็ทำ
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การฆ่าตัวตายของคนไทย ล่าสุดเมื่อ ธ.ค.2556 อยู่ในระดับคงที่ คือ ประมาณ 6 ก่อนหน้านี้ไทยเคยอยู่ในระดับสูงกว่าคือ 7 ช่วงหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก่อนลดระดับลง แต่อาจจะต้องประเมินอีกครั้งหลังจากผ่าน 3 เดือนแรกของปี 2557 โดยปัจจัยสำคัญ เป็นเรื่องของเศรษฐกิจและความขัดแย้งกับคนใกล้ชิด ทั้งนี้ ตามปกติกลุ่มชาวนาจัดอยู่ในกลุ่มเกษตรกรที่ต้องเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะช่วงที่เกิดภัยธรรมชาติ
จากกรณีข่าวชาวนา 13 รายฆ่าตัวตาย เพราะความเครียดจากการถูกรัฐบาลโกงเบี้ยวจ่ายเงินจำนำข้าวนั้น พบว่า 1 รายไม่เกี่ยวข้องกับเหตุจำนำข้าว และอีก 3 รายตายเพราะโรคประจำตัว วันนี้ (18 ก.พ.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ว่า การฆ่าตัวตายในทางวิชาการ ต้องมีแรงผลักดันหรือปัจจัยร่วม ซึ่งจากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิต เพื่อวิเคราะห์สาเหตุชาวนาฆ่าตัวตายจำนวน 9 ราย พบว่า มีปัญหาสุขภาพทางกาย มีโรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพจิต มีภาระความรับผิดชอบที่ต้องเป็นคนแบกรับ ส่วนปัจจัยกระตุ้นคือ ตึงเครียดจากหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบเป็นแรงกดดันค่อนข้างมาก ส่วนกลุ่มชาวนาที่ชุมนุมที่กระทรวงพาณิชย์ ส่วนใหญ่มีความเครียดน้อย พบ 9 รายเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า จึงส่งข้อมูลกลุ่มเสี่ยงให้แกนนำและทีมแพทย์ประจำจุดดูแลช่วยเหลือ
“ปัจจัยร่วมของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จคือ จิตใจเครียดง่าย ซึมเศร้า มีแรงกดดันเพิ่มขึ้น ภาระในครอบครัว ภาระจากการเป็นผู้นำ โดยหนี้สินเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ เป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งทั้ง 9 รายมีการส่งสัญญาณชัดเจน ทั้งบ่นเครียด รู้สึกไม่ไหว จัดการกับภาระตัวเองไม่ได้ จนถึงพูดตรงๆ เรื่องฆ่าตัวตาย หากญาติหรือคนใกล้ชิดสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้ต้องดำเนินการ 3 เรื่อง คือ 1.รับฟัง ช่วยให้เขาได้ระบาย ให้ความใกล้ชิดจะช่วยให้ผ่านวิกฤตได้ 2.ดึงออกมาสู่กิจกรรมอื่น และ 3.ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หาก 2-3 วันไม่ดีขึ้น ควรเข้าสู่กระบวนการรับคำปรึกษา” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า คนที่จะฆ่าตัวตายธรรมชาติของความคิดจะค่อยๆ สะสมมา เมื่อเกิดความคิดเรื่องฆ่าตัวตายจะมีเวลาอีกระยะหนึ่งในการตัดสินใจ เป็นเวลาทองในการช่วยเหลือ แต่หากตัดสินใจค่อนข้างมั่นคงว่าจะฆ่าตัวตายแล้ว การพูดให้กำลังใจไม่สามารถช่วยได้ ต้องเข้ารับการรักษาเท่านั้น เพราะบุคคลนั้นมีความคิดดำดิ่งลงไปแล้ว การเข้าสู่การรักษาจะสามารถส่งต่อตามระบบได้ จนถึงทีมสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งสามารถดูแลได้ทันท่วงที หากซับซ้อนก็ปรึกษาทีมสุขภาพจิตของกรม ดังนั้น จึงอยากให้มีการเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ในระดับหมู่บ้านมี อสม.ช่วยประเมินได้ หากมีแนวโน้มซึมเศร้า ฆ่าตัวตายก็จะส่งทีมเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตติดตาม ส่วนมีความเครียดเบื้องต้นก็จะเฝ้าระวัง โดยการพูดคุยกับญาติ เพราะจะมีข้อสังเกตตามที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการสบายใจทั้งที่ยังมีปัญหาอยู่ก็ต้องระวัง เพราะเหมือนตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ ควรเข้ารับการรักษาเช่นกัน
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ชาวนาที่รู้สึกว่าตัวเองเครียด กดดันทางจิตใจสามารถรับคำปรึกษาได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ระบบชุมชนมีความสำคัญในการแก้ปัญหา โดยอาจรวมกลุ่มกันเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหาแทนการรอรับเงินอย่างเดียว เช่น บางพื้นที่กลุ่มเกษตรกรกับโรงสีมีการจัดการบางอย่าง เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่ให้สถานการณ์ไปส่งผลมากยิ่งขึ้น ที่น่าห่วงคือองค์การอนามัยโลกทำการศึกษาว่าถ้ามีข่าวฆ่าตัวตายเกิดขึ้น กลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายอยู่แล้วมีโอกาสสูงที่จะเลือกวิธีฆ่าตัวตายตามข่าว อย่างกรณีชาวนาฆ่าตัวตายก็พบว่าเกิดขึ้นช่วงเวลาใกล้กัน เพราะการปรากฏของข่าวทำให้กลุ่มเสี่ยงเกิดความรู้สึกว่าเป็นวิธีทางออกที่คนอื่นก็ทำ
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การฆ่าตัวตายของคนไทย ล่าสุดเมื่อ ธ.ค.2556 อยู่ในระดับคงที่ คือ ประมาณ 6 ก่อนหน้านี้ไทยเคยอยู่ในระดับสูงกว่าคือ 7 ช่วงหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก่อนลดระดับลง แต่อาจจะต้องประเมินอีกครั้งหลังจากผ่าน 3 เดือนแรกของปี 2557 โดยปัจจัยสำคัญ เป็นเรื่องของเศรษฐกิจและความขัดแย้งกับคนใกล้ชิด ทั้งนี้ ตามปกติกลุ่มชาวนาจัดอยู่ในกลุ่มเกษตรกรที่ต้องเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะช่วงที่เกิดภัยธรรมชาติ