กรมจัดหางานปัดไม่มีการประกาศตำแหน่งงานครูสอนนวดแผนไทยไปแอฟริกาใต้ในเว็บไซต์ เผยกลุ่มสาวไทยที่ถูกกักตัวไปทำงานโดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว โยน ก.ต่างประเทศ ช่วยเหลือ บอกไม่ใช่หน้าที่ แต่หากมีเรื่องเกี่ยวข้องก็พร้อมประสาน
วันนี้ (13 ก.พ.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีนางรุ่งรัศมี ดีศรีเอี่ยม และเพื่อนคนไทยจำนวนหนึ่งถูกชักชวนจากนายหน้าในไทยผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหาตำแหน่งงานจากเว็บไซต์ของ กกจ.ให้ไปทำงานเป็นวิทยากรสอนนวดแผนไทยที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เมื่อ ต.ค. 2556 แต่เมื่อไปถึงกลับถูกหญิงไทยที่เป็นเจ้าของร้านเก็บหนังสือเดินทาง และแจ้งว่าเป็นหนี้สินเจ้าของร้าน หากจะกลับไทยจะต้องชดใช้เงินหรือทำงานชดใช้หนี้สินให้หมดก่อนว่า ขอยืนยัน กกจ.ไม่มีการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานเป็นครูสอนนวดแผนไทยหรือพนักงานนวดแผนไทยไปแอฟริกาใต้ และไม่มีการประกาศตำแหน่งงานเหล่านี้ในเว็บไซต์ของ กกจ.ที่ www.doe.go.th
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า หญิงไทยกลุ่มนี้เดินทางไปทำงานสอนนวดแผนไทยที่แอฟริกาใต้เอง โดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยว ไม่ได้เดินทางไปทำงานโดยผ่าน กกจ.ส่วนกรณีถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว เนื่องจากนายจ้างอ้างว่าติดหนี้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางนั้นเป็นเรื่องที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จะต้องดูแลช่วยเหลือ เนื่องจาก กกจ.ไม่มีอำนาจดูแลตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากกรมการกงสุลประสานมาให้ กกจ.ช่วยเหลือในเรื่องที่ กกจ.ดูแลรับผิดชอบก็พร้อมจะดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบเว็บไซต์ของ กกจ.ในส่วนของทำงานต่างประเทศ พบว่า งานที่จัดส่งโดยรัฐขณะนี้มีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นคือ 1.โครงการจ้างตรง : ไต้หวัน 2.ตำแหน่งงานประเทศญี่ปุ่น 3.โครงการ EPS : เกาหลี 4.โครงการ TIC : อิสราเอล 5.ตำแหน่งงานประเทศบรูไน และ 6.ตำแหน่งงานประเทศมาเลเซีย
วันนี้ (13 ก.พ.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีนางรุ่งรัศมี ดีศรีเอี่ยม และเพื่อนคนไทยจำนวนหนึ่งถูกชักชวนจากนายหน้าในไทยผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหาตำแหน่งงานจากเว็บไซต์ของ กกจ.ให้ไปทำงานเป็นวิทยากรสอนนวดแผนไทยที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เมื่อ ต.ค. 2556 แต่เมื่อไปถึงกลับถูกหญิงไทยที่เป็นเจ้าของร้านเก็บหนังสือเดินทาง และแจ้งว่าเป็นหนี้สินเจ้าของร้าน หากจะกลับไทยจะต้องชดใช้เงินหรือทำงานชดใช้หนี้สินให้หมดก่อนว่า ขอยืนยัน กกจ.ไม่มีการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานเป็นครูสอนนวดแผนไทยหรือพนักงานนวดแผนไทยไปแอฟริกาใต้ และไม่มีการประกาศตำแหน่งงานเหล่านี้ในเว็บไซต์ของ กกจ.ที่ www.doe.go.th
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า หญิงไทยกลุ่มนี้เดินทางไปทำงานสอนนวดแผนไทยที่แอฟริกาใต้เอง โดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยว ไม่ได้เดินทางไปทำงานโดยผ่าน กกจ.ส่วนกรณีถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว เนื่องจากนายจ้างอ้างว่าติดหนี้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางนั้นเป็นเรื่องที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จะต้องดูแลช่วยเหลือ เนื่องจาก กกจ.ไม่มีอำนาจดูแลตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากกรมการกงสุลประสานมาให้ กกจ.ช่วยเหลือในเรื่องที่ กกจ.ดูแลรับผิดชอบก็พร้อมจะดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบเว็บไซต์ของ กกจ.ในส่วนของทำงานต่างประเทศ พบว่า งานที่จัดส่งโดยรัฐขณะนี้มีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นคือ 1.โครงการจ้างตรง : ไต้หวัน 2.ตำแหน่งงานประเทศญี่ปุ่น 3.โครงการ EPS : เกาหลี 4.โครงการ TIC : อิสราเอล 5.ตำแหน่งงานประเทศบรูไน และ 6.ตำแหน่งงานประเทศมาเลเซีย