อย.ร่อนหนังสือสั่งทุกโรงพยาบาลเฝ้าระวังการใช้ยาแก้อักเสบ “ไดโคลฟีแนค” ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หลังมีรายงานอาการชาและอ่อนแรงในผู้ป่วยหลายราย โดยไม่ทราบสาเหตุ กำหนดติดตามผล 5 เดือน เพื่อพิจารณาเกี่ยวข้องกับยาหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2557 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงนามในหนังสือเรื่อง ขอความอนุเคราะห์รายงานการใช้ยา diclofenac ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล มีสาระสำคัญว่า อย.ได้รับรายงานกรณีการใช้ยา diclofenac โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อแล้วพบอาการชาและอ่อนแรงในผู้ป่วยหลายราย โดยยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้ อย.พิจารณาแล้วเห็นควรเฝ้าระวังการใช้ยาและติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังจากการใช้ยา diclofenac ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. - 15 พ.ค.เพื่อวิเคราะห์หาความเสี่ยงต่อไป
ทั้งนี้ นพ.ปฐม กล่าวว่า ยาไดโคลฟีแนคเป็นยาชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ไม่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป เพราะสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งการเฝ้าระวังยาเป็นการดำเนินการตามปกติของ อย.หากมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังยาตัวใด อย.จะแจ้งให้หน่วยพยาบาลทราบ เพื่อขอความร่วมมือ เมื่อได้รับข้อมูลการเฝ้าระวังยาดังกล่าวจากโรงพยาบาลในระยะเวลาตามที่ อย.กำหนดแล้ว จะนำข้อมูลมาพิจารณาว่า มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อะไรเกิดขึ้นหรือไม่ เพื่อวิเคราะห์ว่าอาการไม่พึงประสงค์ที่รายงานมานั้นสัมพันธ์กับยาหรือไม่ รวมถึงมีการตรวจสอบข้อมูลวิชาการส่วนอื่นเพิ่มเติมด้วย โดยจะมีคณะทำงานดำเนินการเพื่อดูว่ายามีความเสี่ยยงในการใช้มากน้อยเพียงใด หากเห็นว่าจำเป็นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการในการติดตามเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์และอันตรายจากการใช้ยาก็จะดำเนินการต่อไป
อนึ่ง ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ รายงานผลการดําเนินการเรื่องร้องเรียน ในปีงบประมาณ 2556 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2555 - 30 ก.ย. 2556 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามารวมทั้งสิ้น 1,236 เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับยา 264 เรื่อง อาหาร 584 เรื่อง เครื่องสำอาง 181 เรื่อง เครื่องมือแพทย์ 106 เรื่อง ยาเสพติด 17 เรื่อง วัตถุอันตราย 12 เรื่อง และอื่นๆ 14 เรื่อง โดยประเด็นที่มีการร้องเรียนเข้ามามาก คือ การโฆษณาอาหาร เกินจริง/ไม่ได้ขออนุญาต,การขายยาโดยไม่ขออนุญาต/ขายยาโดยไม่มีเภสัชกร/ขายยาหมดอายุ ยาชุด, ฉลากอาหาร ไม่ระบุวันเดือนปีผลิต/หมดอายุ ไม่มีเลขสารบบอาหาร, การโฆษณาเครื่องมือแพทย์ไม่ได้ขออนุญาต และการโฆษณายาเกินจริง/ไม่ได้ขออนุญาต ช่องทางที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือ โทรศัพท์ ร้อยละ 42.72 รองลงมาคือ จดหมาย/หนังสือ ร้อยละ 35.11, อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.46, มาเอง ร้อยละ 7.93, ตู้ ปณ.1556 ร้อยละ 1.46 และโทรสาร ร้อยละ 0.32
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2557 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงนามในหนังสือเรื่อง ขอความอนุเคราะห์รายงานการใช้ยา diclofenac ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล มีสาระสำคัญว่า อย.ได้รับรายงานกรณีการใช้ยา diclofenac โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อแล้วพบอาการชาและอ่อนแรงในผู้ป่วยหลายราย โดยยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้ อย.พิจารณาแล้วเห็นควรเฝ้าระวังการใช้ยาและติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังจากการใช้ยา diclofenac ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. - 15 พ.ค.เพื่อวิเคราะห์หาความเสี่ยงต่อไป
ทั้งนี้ นพ.ปฐม กล่าวว่า ยาไดโคลฟีแนคเป็นยาชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ไม่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป เพราะสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งการเฝ้าระวังยาเป็นการดำเนินการตามปกติของ อย.หากมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังยาตัวใด อย.จะแจ้งให้หน่วยพยาบาลทราบ เพื่อขอความร่วมมือ เมื่อได้รับข้อมูลการเฝ้าระวังยาดังกล่าวจากโรงพยาบาลในระยะเวลาตามที่ อย.กำหนดแล้ว จะนำข้อมูลมาพิจารณาว่า มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อะไรเกิดขึ้นหรือไม่ เพื่อวิเคราะห์ว่าอาการไม่พึงประสงค์ที่รายงานมานั้นสัมพันธ์กับยาหรือไม่ รวมถึงมีการตรวจสอบข้อมูลวิชาการส่วนอื่นเพิ่มเติมด้วย โดยจะมีคณะทำงานดำเนินการเพื่อดูว่ายามีความเสี่ยยงในการใช้มากน้อยเพียงใด หากเห็นว่าจำเป็นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการในการติดตามเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์และอันตรายจากการใช้ยาก็จะดำเนินการต่อไป
อนึ่ง ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ รายงานผลการดําเนินการเรื่องร้องเรียน ในปีงบประมาณ 2556 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2555 - 30 ก.ย. 2556 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามารวมทั้งสิ้น 1,236 เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับยา 264 เรื่อง อาหาร 584 เรื่อง เครื่องสำอาง 181 เรื่อง เครื่องมือแพทย์ 106 เรื่อง ยาเสพติด 17 เรื่อง วัตถุอันตราย 12 เรื่อง และอื่นๆ 14 เรื่อง โดยประเด็นที่มีการร้องเรียนเข้ามามาก คือ การโฆษณาอาหาร เกินจริง/ไม่ได้ขออนุญาต,การขายยาโดยไม่ขออนุญาต/ขายยาโดยไม่มีเภสัชกร/ขายยาหมดอายุ ยาชุด, ฉลากอาหาร ไม่ระบุวันเดือนปีผลิต/หมดอายุ ไม่มีเลขสารบบอาหาร, การโฆษณาเครื่องมือแพทย์ไม่ได้ขออนุญาต และการโฆษณายาเกินจริง/ไม่ได้ขออนุญาต ช่องทางที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือ โทรศัพท์ ร้อยละ 42.72 รองลงมาคือ จดหมาย/หนังสือ ร้อยละ 35.11, อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.46, มาเอง ร้อยละ 7.93, ตู้ ปณ.1556 ร้อยละ 1.46 และโทรสาร ร้อยละ 0.32