สธ.เผยกินผักได้สุขภาพดีแต่ก็เสี่ยงตาย ชี้ผักนอกฤดูกาลเสี่ยงมีสารเคมีตกค้างมากกว่า ระบุสะสมสารพิษในร่างกายมากเสี่ยงมะเร็งเต้านม แนะวิธีล้างให้สะอาดก่อนกิน และกินให้มากขึ้นวันละ 400 กรัม
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การกินผักต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย โดยเฉพาะเรื่องสารเคมีตกค้าง หรือการสะสมจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช ที่เป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงจำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน หรือเรียกว่าออร์กาโนคลอรีน ได้แก่ อัลดริน เคลเธน ดีดีที คลอเดน ดรีลดริน เป็นต้น ซึ่งอยู่ในธรรมชาติได้นานไม่สลายตัวได้งาย ก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้าง และเป็นอันตรายมาก เมื่อได้รับสารนี้ในปริมาณมากจะทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวาย และตาย ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง ผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยงการกินผักนอกฤดูกาล เนื่องจากมีแนวโน้มของการใช้สารเคมีมากกว่าผักตามฤดูกาล
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ก่อนกินผัก หรือนำมาปรุงควรล้างน้ำให้สะอาด ด้วยการลอกเปลือกด้านนอกออกล้างผ่านน้ำก๊อกที่ไหลนาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมเกลือ หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที หรือแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 4 ลิตร จากนั้นนำมาผักมาล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้สารพิษที่ตกค้างออกให้หมด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม
“องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ และมะเร็งบางชนิด เนื่องจากคนไทยกินผักน้อยลง โดยเฉพาะเด็กไทยร้อยละ 58.9 ไม่ได้กินผักทุกวัน กินผักเพียงช้อนครึ่งต่อวัน ทั้งที่ควรกินผักให้ได้วันละ 12 ช้อนกินข้าว ส่วนผู้ใหญ่กินผักเพียงวันละ 2 ช้อนครึ่งเท่านั้น ทั้งที่ควรกินผักถึง 18 ช้อนต่อวัน หรือ 6 ทัพพี โดยให้กินผักที่หลากหลาย เพราะผักมีใยอาหาร หรือเส้นใย ช่วยทำความสะอาดลำไส้ และช่วยลดการดูดซึมไขมัน คอเลสเตอรอลในเลือด มีวิตามิน และแร่ธาตุ ช่วยปรับสมดุลเอนไซม์ และฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานมีประสิทธิภาพ ให้สารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ และเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การกินผักต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย โดยเฉพาะเรื่องสารเคมีตกค้าง หรือการสะสมจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช ที่เป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงจำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน หรือเรียกว่าออร์กาโนคลอรีน ได้แก่ อัลดริน เคลเธน ดีดีที คลอเดน ดรีลดริน เป็นต้น ซึ่งอยู่ในธรรมชาติได้นานไม่สลายตัวได้งาย ก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้าง และเป็นอันตรายมาก เมื่อได้รับสารนี้ในปริมาณมากจะทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวาย และตาย ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง ผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยงการกินผักนอกฤดูกาล เนื่องจากมีแนวโน้มของการใช้สารเคมีมากกว่าผักตามฤดูกาล
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ก่อนกินผัก หรือนำมาปรุงควรล้างน้ำให้สะอาด ด้วยการลอกเปลือกด้านนอกออกล้างผ่านน้ำก๊อกที่ไหลนาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมเกลือ หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที หรือแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 4 ลิตร จากนั้นนำมาผักมาล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้สารพิษที่ตกค้างออกให้หมด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม
“องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ และมะเร็งบางชนิด เนื่องจากคนไทยกินผักน้อยลง โดยเฉพาะเด็กไทยร้อยละ 58.9 ไม่ได้กินผักทุกวัน กินผักเพียงช้อนครึ่งต่อวัน ทั้งที่ควรกินผักให้ได้วันละ 12 ช้อนกินข้าว ส่วนผู้ใหญ่กินผักเพียงวันละ 2 ช้อนครึ่งเท่านั้น ทั้งที่ควรกินผักถึง 18 ช้อนต่อวัน หรือ 6 ทัพพี โดยให้กินผักที่หลากหลาย เพราะผักมีใยอาหาร หรือเส้นใย ช่วยทำความสะอาดลำไส้ และช่วยลดการดูดซึมไขมัน คอเลสเตอรอลในเลือด มีวิตามิน และแร่ธาตุ ช่วยปรับสมดุลเอนไซม์ และฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานมีประสิทธิภาพ ให้สารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ และเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว