อย.ยันขนม “เซียงจา” 3 บริษัทจากจีนที่มีสารก่อมะเร็ง ไม่มีการนำเข้า ไม่มีอยู่ในสารบบอาหารของไทย ระบุมีขนมคล้ายเซียงจาถูกกฎหมาย 8-9 บริษัท ที่ขอจดทะเบียนอย่างถูกต้อง ทำฉลากเป็นภาษาไทย แนะดูฉลากก่อนซื้อ ระดม สสจ.ตรวจสอบกวาดล้าง
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวถึงกรณีจีนสั่งโละขนมเซียงจาหรือซันจา ซึ่งทำจากพุทราจีน เนื่องจากใช้วัตถุเพิ่มสีแดง ว่า เมื่อดูจากฐานข้อมูลของ อย.พบว่า อย.ไม่เคยอนุญาตเลขสารบบอาหารให้กับทั้ง 3 บริษัทจากจีนมาก่อน นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจากด่านอาหารและยา ยังพบว่า ไทยไม่เคยมีการนำเข้าขนมเซียงจาจากทั้ง 3 บริษัทอีกด้วย ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกับขนมเซียงจาที่ขายในไทยนั้น มีบริษัทประมาณ 8-9 บริษัท ที่ขอจดแจ้งเลขสารบบอาหารกับ อย.ซึ่งเป็นการขอเลขสารบบอย่างถูกต้อง และก่อนที่จะนำเข้ามาขายในก็จะมีการจัดทำฉลากเป็นภาษาไทย และตรวจสอบก่อนที่จะมีการนำวางขายอยู่แล้ว ซึ่งตามหลักแล้วต้องมีชื่ออาหาร ชื่อผู้นำเข้า วันเดือนปีที่ผลิต และตัวเลขสารบบอาหาร เป็นต้น
ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า ส่วนจะมีการลักลอบนำผลิตภัณฑ์ของทั้ง 3 บริษัทเข้ามาขายในไทยหรือไม่ยังไม่สามารถระบุได้ แต่จากการออกตรวจยังไม่พบผลิตภัณฑ์จาก 3 บริษัทมาขายในไทย ทั้งนี้ หากมีการขายและ อย.ยังตรวจไม่พบก็เท่ากับเป็นการลักลอบนำเข้ามาขายโดยไม่มีใบอนุญาตอาหาร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะมีโทษปรับ 3 หมื่นบาท ซึ่งกรณีดังกล่าวผู้ขายอาหารจะมีโทษปรับ 3 หมื่นบาท แต่กรณีของการนำเข้าจะเป็นความผิดของผู้นำเข้า
“พ.ร.บ.อาหารจะมีการระบุชัดเจนว่า อาหารชนิดใดให้ใส่สีใดได้บ้างและปริมาณเท่าใด ซึ่งในไทยยังไม่มีการระบุชื่อสีว่าชนิดใดห้ามใส่สี แต่จะตรวจสอบได้จากปัจจัยอื่น เช่น หากตรวจพบว่าใช้สารตัวใดในอาหารแล้วอาหารดังกล่าวเกิดมีปริมาณสีเกินมาตรฐาน ก็จะไปทำการตรวจสอบในเรื่องของการใส่สีเกินปริมาณที่กำหนด หรือกรณีที่มีการระบุว่าชัดว่าสีชนิดใดมีสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง แต่ยังมีผู้ละเมิดไปใส่ในอาหารก็จะเท่ากับว่าขายอาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ภก.ประพนธ์ กล่าวด้วยว่า ไทยมีการเฝ้าระวังและกวาดล้างการลักลอบนำเข้าอาหารอยู่แล้ว ภายใต้การดูแลของด่านอาหารและยาตามแนวชายแดน และในกรณีที่มีการลักลอบนำเข้า อย.ก็จะร่วมกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ที่จะคอยควบคุมดูแลตามตลาดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารประชาชนควรดูที่ฉลากภาษาไทย และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีข้อความครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะชื่อผู้นำเข้าและเลขสารบบอาหาร 13 หลัก
อนึ่ง ขนมเซียงจาที่สำนักความปลอดภัยด้านอาหารของจีน ประกาศว่าเป็นอาหารไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากตรวจพบว่าขนมดังกล่าวมีการผสมสารเพิ่มสีแดงที่มีสารก่อมะเร็งผสมอยู่ มี 3 ยี่ห้อ ได้แก่ บริษัท ชิงโจวอี้ว์ป๋อสือผิ่น บริษัท เป่ยจิงจางหยังซางเม่า และ บริษัท เป่ยจิงรุ่ยอี๋ชุนสือผิ่น
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวถึงกรณีจีนสั่งโละขนมเซียงจาหรือซันจา ซึ่งทำจากพุทราจีน เนื่องจากใช้วัตถุเพิ่มสีแดง ว่า เมื่อดูจากฐานข้อมูลของ อย.พบว่า อย.ไม่เคยอนุญาตเลขสารบบอาหารให้กับทั้ง 3 บริษัทจากจีนมาก่อน นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจากด่านอาหารและยา ยังพบว่า ไทยไม่เคยมีการนำเข้าขนมเซียงจาจากทั้ง 3 บริษัทอีกด้วย ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกับขนมเซียงจาที่ขายในไทยนั้น มีบริษัทประมาณ 8-9 บริษัท ที่ขอจดแจ้งเลขสารบบอาหารกับ อย.ซึ่งเป็นการขอเลขสารบบอย่างถูกต้อง และก่อนที่จะนำเข้ามาขายในก็จะมีการจัดทำฉลากเป็นภาษาไทย และตรวจสอบก่อนที่จะมีการนำวางขายอยู่แล้ว ซึ่งตามหลักแล้วต้องมีชื่ออาหาร ชื่อผู้นำเข้า วันเดือนปีที่ผลิต และตัวเลขสารบบอาหาร เป็นต้น
ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า ส่วนจะมีการลักลอบนำผลิตภัณฑ์ของทั้ง 3 บริษัทเข้ามาขายในไทยหรือไม่ยังไม่สามารถระบุได้ แต่จากการออกตรวจยังไม่พบผลิตภัณฑ์จาก 3 บริษัทมาขายในไทย ทั้งนี้ หากมีการขายและ อย.ยังตรวจไม่พบก็เท่ากับเป็นการลักลอบนำเข้ามาขายโดยไม่มีใบอนุญาตอาหาร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะมีโทษปรับ 3 หมื่นบาท ซึ่งกรณีดังกล่าวผู้ขายอาหารจะมีโทษปรับ 3 หมื่นบาท แต่กรณีของการนำเข้าจะเป็นความผิดของผู้นำเข้า
“พ.ร.บ.อาหารจะมีการระบุชัดเจนว่า อาหารชนิดใดให้ใส่สีใดได้บ้างและปริมาณเท่าใด ซึ่งในไทยยังไม่มีการระบุชื่อสีว่าชนิดใดห้ามใส่สี แต่จะตรวจสอบได้จากปัจจัยอื่น เช่น หากตรวจพบว่าใช้สารตัวใดในอาหารแล้วอาหารดังกล่าวเกิดมีปริมาณสีเกินมาตรฐาน ก็จะไปทำการตรวจสอบในเรื่องของการใส่สีเกินปริมาณที่กำหนด หรือกรณีที่มีการระบุว่าชัดว่าสีชนิดใดมีสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง แต่ยังมีผู้ละเมิดไปใส่ในอาหารก็จะเท่ากับว่าขายอาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ภก.ประพนธ์ กล่าวด้วยว่า ไทยมีการเฝ้าระวังและกวาดล้างการลักลอบนำเข้าอาหารอยู่แล้ว ภายใต้การดูแลของด่านอาหารและยาตามแนวชายแดน และในกรณีที่มีการลักลอบนำเข้า อย.ก็จะร่วมกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ที่จะคอยควบคุมดูแลตามตลาดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารประชาชนควรดูที่ฉลากภาษาไทย และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีข้อความครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะชื่อผู้นำเข้าและเลขสารบบอาหาร 13 หลัก
อนึ่ง ขนมเซียงจาที่สำนักความปลอดภัยด้านอาหารของจีน ประกาศว่าเป็นอาหารไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากตรวจพบว่าขนมดังกล่าวมีการผสมสารเพิ่มสีแดงที่มีสารก่อมะเร็งผสมอยู่ มี 3 ยี่ห้อ ได้แก่ บริษัท ชิงโจวอี้ว์ป๋อสือผิ่น บริษัท เป่ยจิงจางหยังซางเม่า และ บริษัท เป่ยจิงรุ่ยอี๋ชุนสือผิ่น