สพฉ.วอนผู้ขับขี่งดขับรถสวนเลน ขับรถเร็ว ไม่คาดเข็มขัด เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวก ช่วยลดอุบัติเหตุได้ ฟุ้งการแพทย์ฉุกเฉินเข้าถึงผู้บาดเจ็บทันเวลา ช่วยลดอาการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตได้ ยันรถ AMBULANCE ไม่มีเปิดไซเรนเล่นๆ
วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวในงานเสวนา “ลดตาย-เจ็บ” สัญจรปีใหม่อย่างปลอดภัย ด้วยการเรียนรู้เทคนิคช่วยชีวิตฉุกเฉิน จัดโดย สพฉ.ว่า จากการประเมินขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปี 2554-2555 พบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุบนถนนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตมากถึง 23,000-24,000 คนต่อปี มีสาเหตุมาจากการติดประมาท และมักมีพฤติกรรม เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก ขับขี่ยานพาหนะด้วยความเร็ว ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และชอบขับขี่ยานพาหนะย้อนศร ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมาถึงร้อยละ 80 จึงอยากให้คนไทยละเว้นพฤติกรรมดังกล่าวจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้
นพ.อนุชา กล่าวอีกว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุ การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมีความจำเป็นมากที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้มีอาการบาดเจ็บน้อยลง และในรายที่มีอาการหนัก หากการแพทย์ฉุกเฉินเข้าไปช่วยเหลือได้ทันเวลาก็จะสามารถช่วยรักษาชีวิตเอาไว้ได้ ดังนั้น เมื่อได้รับการโทร.แจ้งผ่านทางสายด่วนโทร.1669 ทางเจ้าหน้าที่จะสอบถามรายละเอียดไปยังผู้แจ้ง เพื่อประเมินว่าจะส่งรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินประเภทใด หรือจะใช้การส่งต่อผู้บาดเจ็บในรูปแบบใด
“อยากขอความร่วมมือผู้ใช้รถบนถนน หากพบเห็นรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินควรให้ทางด้วย เพื่อที่ทีมแพทย์ฉุกเฉินจะเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้ทันเวลา และยืนยันว่า รถบริการการแพทย์ฉุกเฉินจะเปิดสัญญาณไฟ และเสียงไซเรนต่อเมื่อต้องไปรับผู้บาดเจ็บฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลเท่านั้น ขณะเดียวกันในการโทร.1669 สามารถโทร.แจ้งได้ตลอด 24 ชม.แต่ไม่ควรที่จะโทร.เล่น เพราะในแต่ละวันมีผู้โทร.เข้ามาแจ้งเหตุผ่านทางเบอร์นี้มากกว่า 4,000 ราย” เลขาธิการ สพฉ.กล่าว
ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา ผอ.สำนักจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สพฉ.กล่าวว่า รถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีทั้งแบบรถตู้ และรถกระบะ โดยหนึ่งในจุดสังเกตคือกระจกด้านหน้ารถจะติดสติกเกอร์ “AMBULANCE” และการเปิดสัญญาณไฟของรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินนั้นหมายถึงนาทีชีวิตของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเมื่อเปิดสัญญาณไฟสีน้ำเงิน แสดงว่ามีผู้บาดเจ็บ เมื่อเปิดสัญญาณสีน้ำเงิน สลับกับสีแดง หมายถึงกำลังรีบไปรับผู้บาดเจ็บ
วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวในงานเสวนา “ลดตาย-เจ็บ” สัญจรปีใหม่อย่างปลอดภัย ด้วยการเรียนรู้เทคนิคช่วยชีวิตฉุกเฉิน จัดโดย สพฉ.ว่า จากการประเมินขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปี 2554-2555 พบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุบนถนนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตมากถึง 23,000-24,000 คนต่อปี มีสาเหตุมาจากการติดประมาท และมักมีพฤติกรรม เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก ขับขี่ยานพาหนะด้วยความเร็ว ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และชอบขับขี่ยานพาหนะย้อนศร ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมาถึงร้อยละ 80 จึงอยากให้คนไทยละเว้นพฤติกรรมดังกล่าวจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้
นพ.อนุชา กล่าวอีกว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุ การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมีความจำเป็นมากที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้มีอาการบาดเจ็บน้อยลง และในรายที่มีอาการหนัก หากการแพทย์ฉุกเฉินเข้าไปช่วยเหลือได้ทันเวลาก็จะสามารถช่วยรักษาชีวิตเอาไว้ได้ ดังนั้น เมื่อได้รับการโทร.แจ้งผ่านทางสายด่วนโทร.1669 ทางเจ้าหน้าที่จะสอบถามรายละเอียดไปยังผู้แจ้ง เพื่อประเมินว่าจะส่งรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินประเภทใด หรือจะใช้การส่งต่อผู้บาดเจ็บในรูปแบบใด
“อยากขอความร่วมมือผู้ใช้รถบนถนน หากพบเห็นรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินควรให้ทางด้วย เพื่อที่ทีมแพทย์ฉุกเฉินจะเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้ทันเวลา และยืนยันว่า รถบริการการแพทย์ฉุกเฉินจะเปิดสัญญาณไฟ และเสียงไซเรนต่อเมื่อต้องไปรับผู้บาดเจ็บฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลเท่านั้น ขณะเดียวกันในการโทร.1669 สามารถโทร.แจ้งได้ตลอด 24 ชม.แต่ไม่ควรที่จะโทร.เล่น เพราะในแต่ละวันมีผู้โทร.เข้ามาแจ้งเหตุผ่านทางเบอร์นี้มากกว่า 4,000 ราย” เลขาธิการ สพฉ.กล่าว
ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา ผอ.สำนักจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สพฉ.กล่าวว่า รถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีทั้งแบบรถตู้ และรถกระบะ โดยหนึ่งในจุดสังเกตคือกระจกด้านหน้ารถจะติดสติกเกอร์ “AMBULANCE” และการเปิดสัญญาณไฟของรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินนั้นหมายถึงนาทีชีวิตของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเมื่อเปิดสัญญาณไฟสีน้ำเงิน แสดงว่ามีผู้บาดเจ็บ เมื่อเปิดสัญญาณสีน้ำเงิน สลับกับสีแดง หมายถึงกำลังรีบไปรับผู้บาดเจ็บ