กพร.ร่วมสภาอุตฯ ร่างมาตรฐาน-ค่าจ้างฝีมือแรงงานแห่งชาติ ชงบอร์ดค่าจ้างเเละรมว.เเรงงานคนใหม่พิจารณาเห็นชอบคาดประกาศใช้ปี 2557
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร.ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดทำร่างประกาศมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม 44 สาขาอาชีพ ซึ่งเป็นมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติมีการจัดทำมาตรฐานและประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติไปเรียบร้อยแล้วในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ 1.กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พนักงานประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง พนักงานประกอบมอเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า 2.กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เช่น ช่างกลึงสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ช่างเชื่อมมิก-แม็กสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ 3.กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ช่างเทคนิคพ่นสีตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ 4.กลุ่มอุตสาหกรรมจักรกลและโลหะการ เช่น ช่างเทคนิคเขียนแบบเครื่องกล ช่างเทคนิคระบบไฮโดรลิก
5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก เช่น พนักงานหล่อเหล็ก 6.กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น ช่างเทคนิคเครื่องฉีดพลาสติก 7.กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น พนักงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง 8.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น เช่น ช่างเทคนิคห้องเย็นขนาดเล็ก พนักงานประกอบเครื่องปรับอากาศ 9.กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี เช่น ช่างเจียระไนพลอย 10.กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า เช่น ช่างเย็บรองเท้า พนักงานอัดพื้นรองเท้า และ 11.กลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เช่น ช่างขัดเงาแม่พิมพ์ ซึ่งขณะนี้ร่างประกาศนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานแล้วและจะเสนอร่างประกาศนี้ให้ รมว.แรงงานคนใหม่พิจารณาประกาศใช้ต่อไปในปีหน้า
นายนคร กล่าวอีกว่า กพร.ยังได้ร่วมกับ ส.อ.ท.จัดทำร่างประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และเตรียมจะเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) ค่าจ้างเพื่อขอความเห็นชอบในช่วงต้นปีหน้า หลังจากนั้นจะเสนอต่อ รมว.แรงงานคนใหม่ เพื่อพิจารณานำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบและประกาศใช้ในปี 2557 สาเหตุที่ กพร.จัดทำมาตรฐานและอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้แรงงานช่างฝีมือสาขาต่างๆ พัฒนาทักษะฝีมือและได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับฝีมือ ขณะเดียวกันนายจ้างก็ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย จึงอยากขอความร่วมมือไปยังนายจ้างให้จ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่ผ่านทดสอบและได้ใบรับรองเพื่อให้มีขวัญกำลังใจในการพัฒนาทักษะฝีมือ
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร.ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดทำร่างประกาศมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม 44 สาขาอาชีพ ซึ่งเป็นมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติมีการจัดทำมาตรฐานและประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติไปเรียบร้อยแล้วในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ 1.กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พนักงานประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง พนักงานประกอบมอเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า 2.กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เช่น ช่างกลึงสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ช่างเชื่อมมิก-แม็กสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ 3.กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ช่างเทคนิคพ่นสีตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ 4.กลุ่มอุตสาหกรรมจักรกลและโลหะการ เช่น ช่างเทคนิคเขียนแบบเครื่องกล ช่างเทคนิคระบบไฮโดรลิก
5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก เช่น พนักงานหล่อเหล็ก 6.กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น ช่างเทคนิคเครื่องฉีดพลาสติก 7.กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น พนักงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง 8.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น เช่น ช่างเทคนิคห้องเย็นขนาดเล็ก พนักงานประกอบเครื่องปรับอากาศ 9.กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี เช่น ช่างเจียระไนพลอย 10.กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า เช่น ช่างเย็บรองเท้า พนักงานอัดพื้นรองเท้า และ 11.กลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เช่น ช่างขัดเงาแม่พิมพ์ ซึ่งขณะนี้ร่างประกาศนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานแล้วและจะเสนอร่างประกาศนี้ให้ รมว.แรงงานคนใหม่พิจารณาประกาศใช้ต่อไปในปีหน้า
นายนคร กล่าวอีกว่า กพร.ยังได้ร่วมกับ ส.อ.ท.จัดทำร่างประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และเตรียมจะเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) ค่าจ้างเพื่อขอความเห็นชอบในช่วงต้นปีหน้า หลังจากนั้นจะเสนอต่อ รมว.แรงงานคนใหม่ เพื่อพิจารณานำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบและประกาศใช้ในปี 2557 สาเหตุที่ กพร.จัดทำมาตรฐานและอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้แรงงานช่างฝีมือสาขาต่างๆ พัฒนาทักษะฝีมือและได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับฝีมือ ขณะเดียวกันนายจ้างก็ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย จึงอยากขอความร่วมมือไปยังนายจ้างให้จ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่ผ่านทดสอบและได้ใบรับรองเพื่อให้มีขวัญกำลังใจในการพัฒนาทักษะฝีมือ