ประธานบอร์ด กอศ.ผุดไอเดียเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาในสังกัด สอศ.ให้ใช้ชื่อ “วิทยาลัยเทคนิค” เหมือนกันทั้งหมด ชี้ช่วยเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ปกครอง
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยถึงการสร้างภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า การปรับภาพลักษณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ปกครองและนักเรียน หันมาสนใจเข้าเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนตัวเห็นว่า สอศ.ยังมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวน้อยมาก ส่วนหนึ่งเพราะมีงบประมาณที่ใช้ดำเนินการน้อย จึงคิดว่า สอศ.ควรจะจัดสรรงบประมาณเพื่อมาดำเนินในเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ ซึ่งช่วงแรกอาจใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ถึงจะทำให้เป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนสายสามัญต่อสายอาชีพ เป็น 51:49 ภายในปี 2558 สำเร็จเป็นได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ จากที่ตนได้ลงพื้นที่ในสถานศึกษาสังกัด สอศ.ทั่วประเทศพบว่า ชื่อเสียงของวิทยาลัยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ เช่นเดียวกันโรงเรียนดังในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาทิ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีคนนิยมเข้าเรียนสูงมาก และจะเห็นได้ว่ามีการขยายโรงเรียนดังกล่าวเพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งผู้ปกครองก็สนใจส่งลูกเข้าเรียนเพราะมีชื่อเดียวกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ซึ่งกรณีดังกล่าวก็พบเช่นเดียวกับสถานศึกษาสังกัด สอศ.โดยเฉพาะจะพบว่า ผู้ปกครองและนักเรียนส่วนใหญ่นิยมเลือกเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยเทคนิค มากที่สุด รองมา คือวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส่วนวิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยการอาชีพต่างๆ จะมีนักเรียนเลือกเข้าศึกษาต่อค่อนข้างน้อย แต่มีปัญหาคือวิทยาลัยเทคนิครับเด็กไม่ได้ทั้งหมด ดังนั้น จึงมีแนวคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้สถานศึกษาในสังกัด สอศ.อาทิ วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่าง ฯลฯ เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “วิทยาลัยเทคนิค” เพราะเท่าที่ดูหลักสูตรหรือสาขาต่างๆ ก็สอนเหมือนกัน เพียงแต่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและชื่อของสถานศึกษาเท่านั้นที่แตกต่างกัน
“ผมคิดว่าชื่อสถานศึกษามีความสำคัญมากต่อความเชื่อมั่นของผู้ปกครองและนักเรียน ขณะที่ในส่วนของผู้ประกอบการ เวลาเลือกคนเข้าทำงานก็มักจะเลือกผู้ที่จบจากวิทยาลัยเทคนิคก่อนที่อื่น เพราะอาจจะรู้สึกว่าเป็นผู้ที่จบมาจากสายช่างโดยเฉพาะ แต่พอบอกว่าเป็นวิทยาลัยการอาชีพอาจจะไม่แน่ใจ ทั้งที่จบมาจากสาขาเดียวกัน ดังนั้น หากเปลี่ยนชื่อได้ ก็จะทำให้คนเกิดความมั่นใจ ขณะเดียวกันเราก็จะต้องยกระดับการเรียนการสอนให้มีคุณภาพเท่าเทียมกันด้วย แนวทางนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่ผมจะนำไปหารือร่วมกับ กอศ.เพื่อให้เป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนนักเรียนสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น ส่วนเสียงตอบรับในทางปฏิบัติจะเป็นอย่างไรนั้น ก็คงต้องรอดูต่อไป” นายอนุสรณ์ กล่าว
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยถึงการสร้างภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า การปรับภาพลักษณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ปกครองและนักเรียน หันมาสนใจเข้าเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนตัวเห็นว่า สอศ.ยังมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวน้อยมาก ส่วนหนึ่งเพราะมีงบประมาณที่ใช้ดำเนินการน้อย จึงคิดว่า สอศ.ควรจะจัดสรรงบประมาณเพื่อมาดำเนินในเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ ซึ่งช่วงแรกอาจใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ถึงจะทำให้เป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนสายสามัญต่อสายอาชีพ เป็น 51:49 ภายในปี 2558 สำเร็จเป็นได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ จากที่ตนได้ลงพื้นที่ในสถานศึกษาสังกัด สอศ.ทั่วประเทศพบว่า ชื่อเสียงของวิทยาลัยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ เช่นเดียวกันโรงเรียนดังในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาทิ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีคนนิยมเข้าเรียนสูงมาก และจะเห็นได้ว่ามีการขยายโรงเรียนดังกล่าวเพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งผู้ปกครองก็สนใจส่งลูกเข้าเรียนเพราะมีชื่อเดียวกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ซึ่งกรณีดังกล่าวก็พบเช่นเดียวกับสถานศึกษาสังกัด สอศ.โดยเฉพาะจะพบว่า ผู้ปกครองและนักเรียนส่วนใหญ่นิยมเลือกเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยเทคนิค มากที่สุด รองมา คือวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส่วนวิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยการอาชีพต่างๆ จะมีนักเรียนเลือกเข้าศึกษาต่อค่อนข้างน้อย แต่มีปัญหาคือวิทยาลัยเทคนิครับเด็กไม่ได้ทั้งหมด ดังนั้น จึงมีแนวคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้สถานศึกษาในสังกัด สอศ.อาทิ วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่าง ฯลฯ เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “วิทยาลัยเทคนิค” เพราะเท่าที่ดูหลักสูตรหรือสาขาต่างๆ ก็สอนเหมือนกัน เพียงแต่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและชื่อของสถานศึกษาเท่านั้นที่แตกต่างกัน
“ผมคิดว่าชื่อสถานศึกษามีความสำคัญมากต่อความเชื่อมั่นของผู้ปกครองและนักเรียน ขณะที่ในส่วนของผู้ประกอบการ เวลาเลือกคนเข้าทำงานก็มักจะเลือกผู้ที่จบจากวิทยาลัยเทคนิคก่อนที่อื่น เพราะอาจจะรู้สึกว่าเป็นผู้ที่จบมาจากสายช่างโดยเฉพาะ แต่พอบอกว่าเป็นวิทยาลัยการอาชีพอาจจะไม่แน่ใจ ทั้งที่จบมาจากสาขาเดียวกัน ดังนั้น หากเปลี่ยนชื่อได้ ก็จะทำให้คนเกิดความมั่นใจ ขณะเดียวกันเราก็จะต้องยกระดับการเรียนการสอนให้มีคุณภาพเท่าเทียมกันด้วย แนวทางนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่ผมจะนำไปหารือร่วมกับ กอศ.เพื่อให้เป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนนักเรียนสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น ส่วนเสียงตอบรับในทางปฏิบัติจะเป็นอย่างไรนั้น ก็คงต้องรอดูต่อไป” นายอนุสรณ์ กล่าว