หน้าหนาวระวัง “เชื้อไวรัสโรต้า” ทำเด็กและผู้สูงอายุป่วยท้องร่วงมากสุด เผยสถิติหน้าหนาวปีที่แล้ว ป่วยมากถึง 3.5 แสนคน 50% เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป สธ.แนะวิธีป้องกันโรค
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า โรคอุจจาระร่วงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเชื้อไวรัสโรต้าส่วนใหญ่เป็นต้นเหตุโรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาว มักจะพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยเชื้อจะปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม และติดต่อกันได้ทางน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย เชื้อไวรัสโรต้าเป็นเชื้อที่พบมานานแล้ว พบได้ทั่วโลก เด็กที่ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อน ต่อมาจะถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปนฟอง และมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว มีอาเจียนร่วมด้วย หากเป็นมากอาจทำให้เด็กขาดน้ำรุนแรง เสียชีวิตได้
พญ.พรรณพิมล กล่าวต่อว่า เชื้อไวรัสโรต้า ติดต่อกันง่ายมาก เชื้อจะออกมากับอุจจาระเด็กที่ป่วย ติดต่อกันโดยเชื้อปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม บางครั้งเชื้อติดอยู่กับของเล่นเด็ก เมื่อเด็กหยิบเข้าปากก็ติดเชื้อได้ ดังนั้นในการป้องกันเด็กป่วย ขอให้ผู้ปกครองหมั่นล้างมือให้เด็ก ทำความสะอาดของเล่นบ่อยๆ เตรียมอาหารเด็กให้สุกด้วยความร้อน ดื่มน้ำต้มสุก ส่วนแม่หลังคลอดแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เด็กจะได้รับภูมิต้านทานโรคจากแม่ ไม่ป่วยง่าย ส่วนในกลุ่มประชาชนทั่วไป ขอให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ ใช้ช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำทุกครั้ง ทั้งนี้ ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อป้องกันการป่วยจากโรคดังกล่าว
ด้าน นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาวปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ย. 2555 ถึง ก.พ. 2556 รวม 4 เดือน พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจำนวน 352,442 ราย โดยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปเกือบร้อยละ 50 เสียชีวิต 8 ราย การดูแลผู้ที่ป่วยโรคอุจจาระร่วง กรณีเด็ก ขอให้เด็กกินอาหารเหลวบ่อยๆ เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด รวมทั้งกินนมแม่ตามปกติ เด็กที่กินนมผสมให้กินตามปกติ แต่ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งต่อมื้อ โดยให้กินสลับกับน้ำลายผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสครึ่งหนึ่ง อาการเด็กจะค่อยๆ ดีขึ้นเป็นปกติได้ภายใน 8-12 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น ถ่ายเหลวไม่หยุด เด็กซึมลง ปากแห้งมาก ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ให้พาไปพบแพทย์โดยเร็ว
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า ส่วนในกลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ ขอให้รับประทานอาหารตามปกติแต่ควรเป็นอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสแทนน้ำและดื่มให้หมดภายใน 1 วันหากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายบ่อย อาเจียน รับประทนอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง หรือถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด ให้รีบไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า โรคอุจจาระร่วงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเชื้อไวรัสโรต้าส่วนใหญ่เป็นต้นเหตุโรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาว มักจะพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยเชื้อจะปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม และติดต่อกันได้ทางน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย เชื้อไวรัสโรต้าเป็นเชื้อที่พบมานานแล้ว พบได้ทั่วโลก เด็กที่ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อน ต่อมาจะถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปนฟอง และมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว มีอาเจียนร่วมด้วย หากเป็นมากอาจทำให้เด็กขาดน้ำรุนแรง เสียชีวิตได้
พญ.พรรณพิมล กล่าวต่อว่า เชื้อไวรัสโรต้า ติดต่อกันง่ายมาก เชื้อจะออกมากับอุจจาระเด็กที่ป่วย ติดต่อกันโดยเชื้อปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม บางครั้งเชื้อติดอยู่กับของเล่นเด็ก เมื่อเด็กหยิบเข้าปากก็ติดเชื้อได้ ดังนั้นในการป้องกันเด็กป่วย ขอให้ผู้ปกครองหมั่นล้างมือให้เด็ก ทำความสะอาดของเล่นบ่อยๆ เตรียมอาหารเด็กให้สุกด้วยความร้อน ดื่มน้ำต้มสุก ส่วนแม่หลังคลอดแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เด็กจะได้รับภูมิต้านทานโรคจากแม่ ไม่ป่วยง่าย ส่วนในกลุ่มประชาชนทั่วไป ขอให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ ใช้ช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำทุกครั้ง ทั้งนี้ ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อป้องกันการป่วยจากโรคดังกล่าว
ด้าน นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาวปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ย. 2555 ถึง ก.พ. 2556 รวม 4 เดือน พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจำนวน 352,442 ราย โดยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปเกือบร้อยละ 50 เสียชีวิต 8 ราย การดูแลผู้ที่ป่วยโรคอุจจาระร่วง กรณีเด็ก ขอให้เด็กกินอาหารเหลวบ่อยๆ เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด รวมทั้งกินนมแม่ตามปกติ เด็กที่กินนมผสมให้กินตามปกติ แต่ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งต่อมื้อ โดยให้กินสลับกับน้ำลายผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสครึ่งหนึ่ง อาการเด็กจะค่อยๆ ดีขึ้นเป็นปกติได้ภายใน 8-12 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น ถ่ายเหลวไม่หยุด เด็กซึมลง ปากแห้งมาก ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ให้พาไปพบแพทย์โดยเร็ว
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า ส่วนในกลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ ขอให้รับประทานอาหารตามปกติแต่ควรเป็นอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสแทนน้ำและดื่มให้หมดภายใน 1 วันหากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายบ่อย อาเจียน รับประทนอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง หรือถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด ให้รีบไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์