นักวิชาการแนะปฏิรูปครูต้องเริ่มต้นที่การผลิต จี้ ศธ.ฟื้นโครงการครูพันธุ์ใหม่ ชี้ข้อดีคัดคนดี คนเก่งมาเป็นครู เสนอไอเดีย เปลี่ยนวิธีให้ทุนตรงที่คณะ ไม่ผ่านมหา'ลัยเช่นที่ผ่านมา
นายประวิต เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย กลุ่ม 16 สถาบัน กล่าวถึงกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายปฏิรูปครูทั้งระบบตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการพัฒนาครู ว่า หาก รมว.ศึกษาธิการ จะเดินหน้าเรื่องปฏิรูปครูทั้งระบบนั้น อันดับแรกที่ต้องทำ คือ คิดหาวิธีจูงใจให้คนดี คนเก่งมาเป็นครู โดยเฉพาะควรเร่งเดินหน้าโครงการครูพันธุ์ใหม่โดยเร็วที่สุด เพราะโครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ดี ที่สามารถคัดคนเก่ง คนดีมาเป็นครูได้ แต่หยุดชะงักไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน ต้องหาวิธีการที่จะให้สถาบันฝ่ายผลิตลดจำนวนการผลิตลงด้วย เนื่องจากขณะนี้แต่ละสถาบันต่างฝ่ายต่างผลิต จนทำให้มีบัณฑิตครูออกมาจำนวนมากแต่ไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และได้ครูที่ไม่มีคุณภาพ โดย ศธ.อาจจะใช้วิธีการส่งทุนโดยตรงมาที่คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไม่ต้องผ่านสถานศึกษาหรือมหาวิทยาลัยโดยตรง เพื่อไม่ให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้ออ้างในการหารายได้ และรับนักศึกษาในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มากเกินความจำเป็น ส่วนการใช้ทุนอาจจะทำลักษณะเดียวกับทุนผลิตแพทย์ ที่ให้ทุนผ่านคณะโดยตรง และคณะเองก็สามารถไปกำหนดจำนวนรับนักศึกษาเข้าเรียนได้ วิธีการนี้จะช่วยลดการผลิตในเชิงปริมาณได้มาก
“ภาครัฐเองก็จะต้องมีความชัดเจน ในเรื่องจำนวนความต้องการครูในว่ามีเท่าไหร่ และสาขาใด เพื่อช่วยให้สถาบันมีความชัดเจนในการผลิตมากขึ้น ขณะเดียวกันต่อไป ศธ.ควรจะต้องมีการประเมิน และยกระดับคุณภาพการผลิตครูของแต่ละสถาบันโดยควรจะต้องมีสอบใบประกอบวิชาชีพครูทุกปี ไม่ใช่ว่าจบครู 5 ปี แล้วจะได้รับใบประกอบวิชาชีพครูโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่าได้คนที่มีคุณภาพจริงๆ มาเป็นครู” นายประวิต กล่าว
นายประวิต เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย กลุ่ม 16 สถาบัน กล่าวถึงกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายปฏิรูปครูทั้งระบบตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการพัฒนาครู ว่า หาก รมว.ศึกษาธิการ จะเดินหน้าเรื่องปฏิรูปครูทั้งระบบนั้น อันดับแรกที่ต้องทำ คือ คิดหาวิธีจูงใจให้คนดี คนเก่งมาเป็นครู โดยเฉพาะควรเร่งเดินหน้าโครงการครูพันธุ์ใหม่โดยเร็วที่สุด เพราะโครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ดี ที่สามารถคัดคนเก่ง คนดีมาเป็นครูได้ แต่หยุดชะงักไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน ต้องหาวิธีการที่จะให้สถาบันฝ่ายผลิตลดจำนวนการผลิตลงด้วย เนื่องจากขณะนี้แต่ละสถาบันต่างฝ่ายต่างผลิต จนทำให้มีบัณฑิตครูออกมาจำนวนมากแต่ไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และได้ครูที่ไม่มีคุณภาพ โดย ศธ.อาจจะใช้วิธีการส่งทุนโดยตรงมาที่คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไม่ต้องผ่านสถานศึกษาหรือมหาวิทยาลัยโดยตรง เพื่อไม่ให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้ออ้างในการหารายได้ และรับนักศึกษาในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มากเกินความจำเป็น ส่วนการใช้ทุนอาจจะทำลักษณะเดียวกับทุนผลิตแพทย์ ที่ให้ทุนผ่านคณะโดยตรง และคณะเองก็สามารถไปกำหนดจำนวนรับนักศึกษาเข้าเรียนได้ วิธีการนี้จะช่วยลดการผลิตในเชิงปริมาณได้มาก
“ภาครัฐเองก็จะต้องมีความชัดเจน ในเรื่องจำนวนความต้องการครูในว่ามีเท่าไหร่ และสาขาใด เพื่อช่วยให้สถาบันมีความชัดเจนในการผลิตมากขึ้น ขณะเดียวกันต่อไป ศธ.ควรจะต้องมีการประเมิน และยกระดับคุณภาพการผลิตครูของแต่ละสถาบันโดยควรจะต้องมีสอบใบประกอบวิชาชีพครูทุกปี ไม่ใช่ว่าจบครู 5 ปี แล้วจะได้รับใบประกอบวิชาชีพครูโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่าได้คนที่มีคุณภาพจริงๆ มาเป็นครู” นายประวิต กล่าว