สคอ.จี้ท้องถิ่นทำงานเชิงรุก หวังป้องกันอุบัติเหตุก่อนเข้าสู่ช่วงเทศกาลปีใหม่ เหตุท้องถิ่นมีข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุละเอียดกว่าส่วนกลาง สามารถช่วยแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ได้ เช่น ทำป้ายเตือน ติดไฟส่องสว่าง
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า ช่วงปีใหม่นี้รัฐบาลตั้งเป้าเพื่อลดอุบัติเหตุ ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากการใช้มาตรการต่างๆ ทั้งทางกฎหมาย การรณรงค์ และเฝ้าระวัง ทำให้ปริมาณการเกิดอุบัติเหตุลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตราย ราว 700 คน ทำให้ลดลงเหลือประมาณ 300 คน ซึ่งจากการติดตามพบว่า อัตราอุบัติเหตุและเสียชีวิตเริ่มเข้าสู่ภาวะคงที่ การจะทำให้ลดลงอีกตามเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง เช่น ในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลละเอียดกว่าส่วนกลาง ทั้งบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุเป็นประจำ ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ ก็จะต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ไขก่อนจะเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยอาจทำป้ายเตือน ติดไฟส่องสว่างเพิ่ม หรือตัดกิ่งไม้ไม่ให้บังทาง ชะลอการซ่อมแซมถนนช่วงเวลาที่มีการเดินทางเยอะ เป็นต้น
นายพรหมมินทร์ กล่าวอีกว่า จากการกำหนดเป้าหมายเพื่อลดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย รัฐบาลได้ให้นโยบายเพื่อกำหนดให้ท้องถิ่นกำหนดเป้าหมายการทำงาน เพื่อเน้นแก้ไขจุดเสี่ยงในพื้นที่ของตนเอง โดยมีหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุน เช่น สคอ.ได้กระตุ้นให้ท้องถิ่นเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเชิงรุก โดยใช้ข้อมูลที่ท้องถิ่นมีอยู่แล้ว นำมาปรับแผนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่เดินทางเพื่อท่องเที่ยว มักจะไม่ชำนาญเส้นทาง จึงต้องมีการปรับปรุงเส้นทางเพื่อรองรับการเดินทางผ่านในพื้นที่ของประชาชนจากพื้นที่อื่นด้วย ซึ่งไม่สามารถรอให้ส่วนกลางเข้ามาทำได้ทั้งหมด จึงเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นที่จะต้องดูแลในเรื่องดังกล่าว
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า ช่วงปีใหม่นี้รัฐบาลตั้งเป้าเพื่อลดอุบัติเหตุ ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากการใช้มาตรการต่างๆ ทั้งทางกฎหมาย การรณรงค์ และเฝ้าระวัง ทำให้ปริมาณการเกิดอุบัติเหตุลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตราย ราว 700 คน ทำให้ลดลงเหลือประมาณ 300 คน ซึ่งจากการติดตามพบว่า อัตราอุบัติเหตุและเสียชีวิตเริ่มเข้าสู่ภาวะคงที่ การจะทำให้ลดลงอีกตามเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง เช่น ในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลละเอียดกว่าส่วนกลาง ทั้งบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุเป็นประจำ ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ ก็จะต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ไขก่อนจะเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยอาจทำป้ายเตือน ติดไฟส่องสว่างเพิ่ม หรือตัดกิ่งไม้ไม่ให้บังทาง ชะลอการซ่อมแซมถนนช่วงเวลาที่มีการเดินทางเยอะ เป็นต้น
นายพรหมมินทร์ กล่าวอีกว่า จากการกำหนดเป้าหมายเพื่อลดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย รัฐบาลได้ให้นโยบายเพื่อกำหนดให้ท้องถิ่นกำหนดเป้าหมายการทำงาน เพื่อเน้นแก้ไขจุดเสี่ยงในพื้นที่ของตนเอง โดยมีหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุน เช่น สคอ.ได้กระตุ้นให้ท้องถิ่นเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเชิงรุก โดยใช้ข้อมูลที่ท้องถิ่นมีอยู่แล้ว นำมาปรับแผนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่เดินทางเพื่อท่องเที่ยว มักจะไม่ชำนาญเส้นทาง จึงต้องมีการปรับปรุงเส้นทางเพื่อรองรับการเดินทางผ่านในพื้นที่ของประชาชนจากพื้นที่อื่นด้วย ซึ่งไม่สามารถรอให้ส่วนกลางเข้ามาทำได้ทั้งหมด จึงเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นที่จะต้องดูแลในเรื่องดังกล่าว