“หมอประดิษฐ” ต่อสายคุยแกนนำชมรมเเพทย์ชนบทหยุดประท้วงหน้าบ้านนายกฯ 20 พ.ย.ยอมปรับตารางค่าตอบแทน p4p แก้ไข 2 เรื่อง อายุงานเกิน 20 ปี-รพช.เมืองยอดเงินน้อยกว่า รพศ./รพท.ด้านเเกนนำบอกเปลี่ยนเส้นทางมุ่งหน้า สธ.หากไม่ทำตามข้อเรียกร้องอีก 22 พ.ย.ก่อม็อบหน้าบ้านนายกฯแน่ ไม่รอเจรจา
วันนี้ (19 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบท เตรียมชุมนุมหน้าบ้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านและแสดงความไม่เห็นด้วยในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน หรือพีฟอร์พี (P4P:Pay for performance) ในวันที่ 20 พ.ย.ว่าได้หารือกับแกนนำชมรมแพทย์ชนบท คือ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และนพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ทำความเข้าใจกันแล้วว่าที่กลุ่มแพทย์ชนบทต้องการเรียกร้องไม่ได้มีเจตนาที่ล้มการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน หรือ พีฟอร์พี (p4p:Pay for performance) เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ได้ดำเนินการไปแล้ว แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าระเบียบวิธีการปฏิบัติบางอย่างต้องมีการแก้ไข เพราะมีปัญหา โดยเฉพาะใน 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การลดอัตราการเบิกจ่ายเงินให้กับกลุ่มผู้ที่มีอายุงานเกิน 20 ปีขึ้นไป ส่งผลให้คนกลุ่มนี้หมดขวัญกำลังใจลง และมีความลักลั่นระหว่างค่าตอบแทนของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ที่ปรับเป็นเขตเมืองได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) ที่อยู่ในพื้นที่เมืองเช่นกัน
“เมื่อได้หารือร่วมกันทางกลุ่มแพทย์ชนบทไม่มีความประสงค์เอาการเมืองเข้ามายุ่ง เป็นเพียงต้องการบอกปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่อง P4P ที่จะมีการประเมินทั้งปริมาณและคุณภาพงาน จึงบอกว่าไม่มีความจำเป็นต้องมาชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ อีก เพราะผมได้รับข้อเสนอทั้ง 2 เรื่องมาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจากการที่เห็นว่าเป็นปัญหาที่จะต้องมีการแก้ไขจริง โดยจะดำเนินการให้เร็วที่สุด ด้วยการปรับแก้ตารางค่าตอบแทนที่เคยมีการนำเสนอก่อนหน้าในส่วนของอัตราค่าตอบแทนผู้ที่ทำงานใน รพช.เกิน 20 ปี
และ รพช.เขตเมืองที่ได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า รพศ./รพท.ซึ่งจะพิจารณาในส่วนของวิชาชีพอื่นๆ ด้วย เมื่อแล้วเสร็จจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากมติ ครม.ในเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ระบุไว้ชัดเจนว่าหากมีการปรับแก้ในเรื่องใดให้นำเสนอได้ทันทีไม่ต้องรอให้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 ที่จะเป็นการประเมินผลการดำเนินการ”นพ.ประดิษฐ กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่มีการเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียว่าสำนักงานสาธารณสุข (สสจ.) บางพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่สังกัด สธ.เลือกว่าจะเป็นข้าราชการ หรือพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) นั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะเกณฑ์ในพิจารณานั้นจะดูจากภาระงาน ความต้องการในพื้นที่เป็นหลัก ส่วนเรื่องอายุงานเป็นเกณฑ์ที่พิจารณาทีหลัง และหากเจ้าหน้าที่เลือกจะเป็นข้าราชการ สสจ.จะนำอัตราที่ไหนมาบรรจุเพราะตำแหน่งมีเพียง 7,500 ตำแหน่ง ตามที่ได้อนุมัติจากสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และอีก 800 ตำแหน่งจากการหาตำแหน่งว่างภายใน สธ.
ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ทางรัฐมนตรีว่าการ สธ.ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของชมรมแพทย์ชนบทในเรื่องการปรับเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่พิจารณาตามพื้นที่ห่างไกล และอายุงาน ซึ่งมีความเป็นธรรมทุกฝ่าย ทางชมรมฯ จะไม่ไปเดินทางไปประท้วงหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี แต่จะเปลี่ยนเส้นทางไปยังกระทรวงสาธารณสุขแทน เพื่อขอคำยืนยันจาก นพ.ประดิษฐ และขอให้นายสุภรณ์ มายืนยันด้วย หากไม่มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้องภายในวันที่ 22 พ.ย.นี้ พวกตนจะเดินหน้าประท้วงบ้านนายกฯ โดยไม่เจรจาใดๆ อีก
วันนี้ (19 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบท เตรียมชุมนุมหน้าบ้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านและแสดงความไม่เห็นด้วยในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน หรือพีฟอร์พี (P4P:Pay for performance) ในวันที่ 20 พ.ย.ว่าได้หารือกับแกนนำชมรมแพทย์ชนบท คือ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และนพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ทำความเข้าใจกันแล้วว่าที่กลุ่มแพทย์ชนบทต้องการเรียกร้องไม่ได้มีเจตนาที่ล้มการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน หรือ พีฟอร์พี (p4p:Pay for performance) เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ได้ดำเนินการไปแล้ว แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าระเบียบวิธีการปฏิบัติบางอย่างต้องมีการแก้ไข เพราะมีปัญหา โดยเฉพาะใน 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การลดอัตราการเบิกจ่ายเงินให้กับกลุ่มผู้ที่มีอายุงานเกิน 20 ปีขึ้นไป ส่งผลให้คนกลุ่มนี้หมดขวัญกำลังใจลง และมีความลักลั่นระหว่างค่าตอบแทนของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ที่ปรับเป็นเขตเมืองได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) ที่อยู่ในพื้นที่เมืองเช่นกัน
“เมื่อได้หารือร่วมกันทางกลุ่มแพทย์ชนบทไม่มีความประสงค์เอาการเมืองเข้ามายุ่ง เป็นเพียงต้องการบอกปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่อง P4P ที่จะมีการประเมินทั้งปริมาณและคุณภาพงาน จึงบอกว่าไม่มีความจำเป็นต้องมาชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ อีก เพราะผมได้รับข้อเสนอทั้ง 2 เรื่องมาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจากการที่เห็นว่าเป็นปัญหาที่จะต้องมีการแก้ไขจริง โดยจะดำเนินการให้เร็วที่สุด ด้วยการปรับแก้ตารางค่าตอบแทนที่เคยมีการนำเสนอก่อนหน้าในส่วนของอัตราค่าตอบแทนผู้ที่ทำงานใน รพช.เกิน 20 ปี
และ รพช.เขตเมืองที่ได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า รพศ./รพท.ซึ่งจะพิจารณาในส่วนของวิชาชีพอื่นๆ ด้วย เมื่อแล้วเสร็จจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากมติ ครม.ในเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ระบุไว้ชัดเจนว่าหากมีการปรับแก้ในเรื่องใดให้นำเสนอได้ทันทีไม่ต้องรอให้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 ที่จะเป็นการประเมินผลการดำเนินการ”นพ.ประดิษฐ กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่มีการเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียว่าสำนักงานสาธารณสุข (สสจ.) บางพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่สังกัด สธ.เลือกว่าจะเป็นข้าราชการ หรือพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) นั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะเกณฑ์ในพิจารณานั้นจะดูจากภาระงาน ความต้องการในพื้นที่เป็นหลัก ส่วนเรื่องอายุงานเป็นเกณฑ์ที่พิจารณาทีหลัง และหากเจ้าหน้าที่เลือกจะเป็นข้าราชการ สสจ.จะนำอัตราที่ไหนมาบรรจุเพราะตำแหน่งมีเพียง 7,500 ตำแหน่ง ตามที่ได้อนุมัติจากสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และอีก 800 ตำแหน่งจากการหาตำแหน่งว่างภายใน สธ.
ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ทางรัฐมนตรีว่าการ สธ.ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของชมรมแพทย์ชนบทในเรื่องการปรับเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่พิจารณาตามพื้นที่ห่างไกล และอายุงาน ซึ่งมีความเป็นธรรมทุกฝ่าย ทางชมรมฯ จะไม่ไปเดินทางไปประท้วงหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี แต่จะเปลี่ยนเส้นทางไปยังกระทรวงสาธารณสุขแทน เพื่อขอคำยืนยันจาก นพ.ประดิษฐ และขอให้นายสุภรณ์ มายืนยันด้วย หากไม่มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้องภายในวันที่ 22 พ.ย.นี้ พวกตนจะเดินหน้าประท้วงบ้านนายกฯ โดยไม่เจรจาใดๆ อีก