โรงงาน 11 แห่งกระอัก น้ำท่วมทะลักเข้าพื้นที่ต้องหยุดงานชั่วคราว ลูกจ้างอ่วมถ้วนหน้ากว่า 731 คน ยังประเมินความเสียหายไม่ได้ ส่วนโรงงานอีกกว่า 439 แห่ง และคนงานกว่า 3,114 คน ยังลุ้นน้องน้ำจ่อท่วมรอบสถานประกอบการ ด้าน ก.แรงงาน ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือแรงงานเข้ารักษา รพ.เครือประกันสังคมฟรี ห้ามนายจ้างถือเป็นวันลา และช่วยเยียวยาหลังน้ำลด
วันนี้ (9 ต.ค.) ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และรักษาการปลัดกระทรวงแรงงาน แถลงข่าวเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยธรรมชาติ ว่า ขณะนี้มีรายงานว่าสถานประกอบการ 606 แห่ง และลูกจ้าง 10,272 คน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี แบ่งเป็นสถานประกอบการประสบอุทกภัยหยุดงานชั่วคราวจำนวน 11 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 731 คน สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบบางส่วน เนื่องจากน้ำท่วมบริเวณโดยรอบสถานประกอบการ ที่พักลูกจ้าง และเส้นทางในการไปทำงาน อีก 439 แห่ง ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 3,114 คน ส่วนที่นิคมอุตสาหกรรมอมตนคร จ.ชลบุรี มีน้ำทะลักเข้าในนิคมบริเวณเฟส 7-9 แต่ไม่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ และยังไม่มีน้ำทะลักเข้าโรงงานแต่อย่างใด มีเพียง 2 แห่ง ที่มีลูกจ้าง 1,000 คน ที่ประสบปัญหาเรื่องการเดินทางไปทำงาน
นายจีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากการติดตามสถานการณ์และช่วยเหลือนายจ้างลูกจ้างที่ประสบอุทกภัย ยังไม่พบมีเรื่องร้องเรียนว่าปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ ในวันที่ 12 ต.ค.นี้ ได้มอบหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ใน อ.พิมาย กับ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา สำหรับการตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยธรรมชาติ ของกระทรวงแรงงาน จะทำหน้าที่รวบรวมผลกระทบ และวางมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเป็นระบบ หากผู้ประสบอุทกภัยต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อมายังศูนย์ดังกล่าวได้ ที่สายด่วน 1506 และ1546
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือของศูนย์ดังกล่าว ได้วางไว้ 2 ระยะ คือ 1.ช่วงน้ำท่วม จะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน ทั้งการมอบถุงยังชีพ ให้คำปรึกษา ประกอบอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัยน้ำท้วมในศูนย์พักพิงต่างๆ และประสานโรงพยาบาลในเครือประกันสังคมรักษาผู้ประกันตนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงขอความร่วมมือนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างที่ประสบอุทกภัยหยุดงานโดยไม่ถือเป็นวันลา หรือการเดินทางมาทำงานล่าช้าได้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และ 2.หลังน้ำลดจะจัดกิจกรรมเยียวยาผู้ประสบภัย อาทิ การซ้อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ ฝึกอาชีพ จัดนัดพบแรงงาน พร้อมทั้งนำโครงการส่งเสริมการจ้างงาน มาช่วยนายจ้างไม่ให้เลิกจ้างลูกจ้าง
วันนี้ (9 ต.ค.) ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และรักษาการปลัดกระทรวงแรงงาน แถลงข่าวเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยธรรมชาติ ว่า ขณะนี้มีรายงานว่าสถานประกอบการ 606 แห่ง และลูกจ้าง 10,272 คน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี แบ่งเป็นสถานประกอบการประสบอุทกภัยหยุดงานชั่วคราวจำนวน 11 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 731 คน สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบบางส่วน เนื่องจากน้ำท่วมบริเวณโดยรอบสถานประกอบการ ที่พักลูกจ้าง และเส้นทางในการไปทำงาน อีก 439 แห่ง ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 3,114 คน ส่วนที่นิคมอุตสาหกรรมอมตนคร จ.ชลบุรี มีน้ำทะลักเข้าในนิคมบริเวณเฟส 7-9 แต่ไม่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ และยังไม่มีน้ำทะลักเข้าโรงงานแต่อย่างใด มีเพียง 2 แห่ง ที่มีลูกจ้าง 1,000 คน ที่ประสบปัญหาเรื่องการเดินทางไปทำงาน
นายจีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากการติดตามสถานการณ์และช่วยเหลือนายจ้างลูกจ้างที่ประสบอุทกภัย ยังไม่พบมีเรื่องร้องเรียนว่าปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ ในวันที่ 12 ต.ค.นี้ ได้มอบหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ใน อ.พิมาย กับ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา สำหรับการตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยธรรมชาติ ของกระทรวงแรงงาน จะทำหน้าที่รวบรวมผลกระทบ และวางมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเป็นระบบ หากผู้ประสบอุทกภัยต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อมายังศูนย์ดังกล่าวได้ ที่สายด่วน 1506 และ1546
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือของศูนย์ดังกล่าว ได้วางไว้ 2 ระยะ คือ 1.ช่วงน้ำท่วม จะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน ทั้งการมอบถุงยังชีพ ให้คำปรึกษา ประกอบอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัยน้ำท้วมในศูนย์พักพิงต่างๆ และประสานโรงพยาบาลในเครือประกันสังคมรักษาผู้ประกันตนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงขอความร่วมมือนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างที่ประสบอุทกภัยหยุดงานโดยไม่ถือเป็นวันลา หรือการเดินทางมาทำงานล่าช้าได้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และ 2.หลังน้ำลดจะจัดกิจกรรมเยียวยาผู้ประสบภัย อาทิ การซ้อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ ฝึกอาชีพ จัดนัดพบแรงงาน พร้อมทั้งนำโครงการส่งเสริมการจ้างงาน มาช่วยนายจ้างไม่ให้เลิกจ้างลูกจ้าง