สสจ.อุบลฯ เตรียมเสนอ อย.เพิ่มเกณฑ์มาตรฐานเกลือ เน้นเรื่องสารโลหะหนัก หวั่นปนเปื้อนมากจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย เหตุสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนเอื้อต่อการปนเปื้อนมากขึ้น แนะใช้มาตรฐาน มอก.และ สธ.เป็นเกณฑ์กำหนด
ภญ.กาญจนา มหาพล เภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุบลราชธานี เปิดเผยว่า จากการทำวิจัยและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเกลือบริโภค ในปี 2554 พบปัญหาการปนเปื้อนของสารอื่นๆ ในเกลือ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานในเกลือนั้นจะต้องระบุถึงมาตรฐานอื่นๆ นอกเหนือจากปริมาณไอโอดีนที่ต้องมีไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (mg/kg) และไม่เกิน 40 mg/kg ด้วย จึงได้เตรียมเสนอข้อมูลไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ออกเกณฑ์กำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน โดยเฉพาะมาตรฐานของสารโลหะหนัก เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และทองแดง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลโคเด็กซ์ และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนและมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.เกลือบริโภค) โดยเลือกค่าต่ำสุดเป็นเกณฑ์ คือ สารหนู ใช้เกณฑ์ มอก.0.50 mg/kg ตะกั่วใช้เกณฑ์ สธ.1.00 mg/kg ปรอท ใช้เกณฑ์ สธ. 0.02 mg/kg แคดเมียม ใช้เกณฑ์ มอก.0.50 mg/kg และทองแดง ใช้เกณฑ์ มอก.2.00 mg/kg
ภญ.กาญจนา กล่าวอีกว่า เกณฑ์ในการควบคุมของ อย.ปัจจุบัน ตามประกาศฉบับที่ 98 นั้น เป็นมาตรฐานที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งหากมีการออกกฎหมายควบคุมการปนเปื้อนโลหะหนักก็จะทำให้คุณภาพมาตรฐานเกลือมีความรัดกุมขึ้น และจะนำไปสู่พิจารณาให้มีเลขสารระบบอาหารได้ เช่น กรณีน้ำบริโภค อย.มีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานและน้ำว่าต้องมีมาตรฐานด้านเคมี กายภาพ จุลินทรีย์ อย่างไรบ้าง ซึ่งในส่วนของเกลือก็อาจใช้หลักเกณฑ์ที่คล้ายๆ กัน ว่าเกลือบริโภคนอกจากเรื่องไอโอดีน ก็ควรมีเรื่องการคุมปริมาณของจุลินทรีย์ สารโลหะหนักอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการเสนอให้มีการปรับปรุงมาตรฐานนั้น เพราะปัจจุบันสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและพบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ทั้งนี้ อันตรายของโลหะหนัก หากเป็นสารหนูเป็นสารก่อมะเร็ง ตะกั่วพิษต่อระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบโลหิต ระบบไตและทางเดินปัสสาวะ ส่วนปรอทพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เสียการควบคุมเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูดและยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ส่วนแคดเมียม มีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ ไต กระดูกผิดรูป ขณะที่ทองแดง พิษต่อตับ ร่างกายสั่นเทาตลอดเวลากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
ภญ.กาญจนา มหาพล เภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุบลราชธานี เปิดเผยว่า จากการทำวิจัยและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเกลือบริโภค ในปี 2554 พบปัญหาการปนเปื้อนของสารอื่นๆ ในเกลือ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานในเกลือนั้นจะต้องระบุถึงมาตรฐานอื่นๆ นอกเหนือจากปริมาณไอโอดีนที่ต้องมีไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (mg/kg) และไม่เกิน 40 mg/kg ด้วย จึงได้เตรียมเสนอข้อมูลไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ออกเกณฑ์กำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน โดยเฉพาะมาตรฐานของสารโลหะหนัก เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และทองแดง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลโคเด็กซ์ และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนและมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.เกลือบริโภค) โดยเลือกค่าต่ำสุดเป็นเกณฑ์ คือ สารหนู ใช้เกณฑ์ มอก.0.50 mg/kg ตะกั่วใช้เกณฑ์ สธ.1.00 mg/kg ปรอท ใช้เกณฑ์ สธ. 0.02 mg/kg แคดเมียม ใช้เกณฑ์ มอก.0.50 mg/kg และทองแดง ใช้เกณฑ์ มอก.2.00 mg/kg
ภญ.กาญจนา กล่าวอีกว่า เกณฑ์ในการควบคุมของ อย.ปัจจุบัน ตามประกาศฉบับที่ 98 นั้น เป็นมาตรฐานที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งหากมีการออกกฎหมายควบคุมการปนเปื้อนโลหะหนักก็จะทำให้คุณภาพมาตรฐานเกลือมีความรัดกุมขึ้น และจะนำไปสู่พิจารณาให้มีเลขสารระบบอาหารได้ เช่น กรณีน้ำบริโภค อย.มีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานและน้ำว่าต้องมีมาตรฐานด้านเคมี กายภาพ จุลินทรีย์ อย่างไรบ้าง ซึ่งในส่วนของเกลือก็อาจใช้หลักเกณฑ์ที่คล้ายๆ กัน ว่าเกลือบริโภคนอกจากเรื่องไอโอดีน ก็ควรมีเรื่องการคุมปริมาณของจุลินทรีย์ สารโลหะหนักอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการเสนอให้มีการปรับปรุงมาตรฐานนั้น เพราะปัจจุบันสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและพบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ทั้งนี้ อันตรายของโลหะหนัก หากเป็นสารหนูเป็นสารก่อมะเร็ง ตะกั่วพิษต่อระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบโลหิต ระบบไตและทางเดินปัสสาวะ ส่วนปรอทพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เสียการควบคุมเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูดและยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ส่วนแคดเมียม มีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ ไต กระดูกผิดรูป ขณะที่ทองแดง พิษต่อตับ ร่างกายสั่นเทาตลอดเวลากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง