เปิดแผนที่พัฒนาผังเมือง กทม.3 ด้าน ทั้งฟื้นฟูย่านเก่าชีวิตใหม่ 4 พื้นที่ ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตั้งแต่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ออกไปรอบเมือง และเครือข่ายพื้นที่สีเขียว เน้นริมน้ำเจ้าพระยา คูคลองต่างๆ เตรียมนำร่องพื้นที่สีเขียวริมถนนอีก 2 โครงการ
วันนี้ (23 ก.ย.) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมหานครแห่งความสุข (ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าชีวิตใหม่) คณะกรรมการมหานครเมืองแห่งโอกาสของทุกคน (ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์) และคณะกรรมการมหานครสีเขียว (เครือข่ายพื้นที่สีเขียว) ครั้งที่ 1 ร่วมกับนายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯ กทม.โดยมีผู้บริหาร กทม.และภาคีเครือข่ายอื่นๆ เข้าร่วมประชุม ว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมตามนโยบายของ ม.ร.ว.สุมขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ที่ต้องการพัฒนากรุงเทพฯให้เป็นมหานครแห่งความสุขในทุกๆ ด้าน ซึ่งแนวคิดในการพัฒนา มีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ 1.การพัฒนาฟื้นฟูเมืองเก่า 2.การพัฒนาพื้นที่กรุงเทพฯให้เป็นพื้นที่สีเขียว และ 3.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ โดยมีการนำเอาทฤษฎีต่างๆ ตามที่สำนักผังเมืองได้ออกแบบไว้ ให้คณะกรรมการด้านต่างๆ พิจารณา เพื่อหาแนวทางในการต่อยอดให้เป็นรูปธรรมต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมหานครแห่งความสุข (ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าชีวิตใหม่) มีแนวคิดในการฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าให้กลับมามีวิถีชีวิตในรูปแบบเดิม และสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการใช้พื้นที่เมืองอย่างคุ้มค่า โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์เป็นพื้นที่ดำเนินการจำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จากท่าวาสุกรี-สะพานพุทธ พื้นที่ริมคลองประวัติศาสตร์บางกอกน้อย-ชักพระ-บางกอกใหญ่ พื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ย่านเยาวราช และพื้นที่ชุมชนย่านลาดกระบัง บริเวณตลาดหัวตะเข้ สำหรับแนวทางในการพัฒนาคือการปรับปรุงภูมิทัศน์ และฟื้นฟูย่านต่างๆ เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง อนุรักษ์ บูรณะอาคารเก่า เพื่อสร้างการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้แก่กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ มหานครเมืองแห่งโอกาสของทุกคน (ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์) เป็นแนวคิดที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อแปรเป็นรายได้ให้กับสินค้า บริการ อุตสาหกรรมต่างๆ สำหรับต้นทุนที่จะมีการพัฒนาต่อยอดต่อไป คือ เกาะรัตนโกสินทร์ ตลาดนัดจตุจักร ย่านทองหล่อ ย่านสยามสแควร์ ย่านประตูน้ำ ย่านทาวน์อินทาวน์ ย่านอาร์ซีเอ ย่านประดิษฐ์มนูธรรม (ซีดีซี) ย่านถนนสายไม้ (ซอยประชานฤมิตร) และศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งการย่านดังกล่าวจะสามารถสร้างเศรษฐกิจและช่วยกระตุ้นในเรื่องของการท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น
สำหรับมหานครสีเขียว (เครือข่ายพื้นที่สีเขียว) มีแนวคิดเพื่อการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯให้เชื่อมต่อกันทุกมุมเมือง พร้อมทั้งสร้างเสริมสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศให้มีความหลากหลายและเหมาะ ซึ่งรูปแบบโครงการจะพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวริมแม่น้ำคือการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมท่าน้ำสามเสน และบริเวณริมแม่น้ำสะพานพระราม 8 - ซอยสามเสน 3 บริเวณริมคลอง โดยมีโครงการนำร่องดังนี้ บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม และคลองคูเมืองเดิม และริมถนน มีโรงการนำร่อง 2 โครงกา รคือปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณถนนเพชรบุรี จากแยกอโศก-แยกประตูน้ำ-แยกราชเทวี ปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะกลางถนนตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสจากถนนสุขุมวิท-แยกอโศก และถนนพญาไท-แยกศรีอยุธยา
วันนี้ (23 ก.ย.) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมหานครแห่งความสุข (ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าชีวิตใหม่) คณะกรรมการมหานครเมืองแห่งโอกาสของทุกคน (ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์) และคณะกรรมการมหานครสีเขียว (เครือข่ายพื้นที่สีเขียว) ครั้งที่ 1 ร่วมกับนายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯ กทม.โดยมีผู้บริหาร กทม.และภาคีเครือข่ายอื่นๆ เข้าร่วมประชุม ว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมตามนโยบายของ ม.ร.ว.สุมขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ที่ต้องการพัฒนากรุงเทพฯให้เป็นมหานครแห่งความสุขในทุกๆ ด้าน ซึ่งแนวคิดในการพัฒนา มีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ 1.การพัฒนาฟื้นฟูเมืองเก่า 2.การพัฒนาพื้นที่กรุงเทพฯให้เป็นพื้นที่สีเขียว และ 3.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ โดยมีการนำเอาทฤษฎีต่างๆ ตามที่สำนักผังเมืองได้ออกแบบไว้ ให้คณะกรรมการด้านต่างๆ พิจารณา เพื่อหาแนวทางในการต่อยอดให้เป็นรูปธรรมต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมหานครแห่งความสุข (ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าชีวิตใหม่) มีแนวคิดในการฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าให้กลับมามีวิถีชีวิตในรูปแบบเดิม และสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการใช้พื้นที่เมืองอย่างคุ้มค่า โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์เป็นพื้นที่ดำเนินการจำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จากท่าวาสุกรี-สะพานพุทธ พื้นที่ริมคลองประวัติศาสตร์บางกอกน้อย-ชักพระ-บางกอกใหญ่ พื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ย่านเยาวราช และพื้นที่ชุมชนย่านลาดกระบัง บริเวณตลาดหัวตะเข้ สำหรับแนวทางในการพัฒนาคือการปรับปรุงภูมิทัศน์ และฟื้นฟูย่านต่างๆ เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง อนุรักษ์ บูรณะอาคารเก่า เพื่อสร้างการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้แก่กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ มหานครเมืองแห่งโอกาสของทุกคน (ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์) เป็นแนวคิดที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อแปรเป็นรายได้ให้กับสินค้า บริการ อุตสาหกรรมต่างๆ สำหรับต้นทุนที่จะมีการพัฒนาต่อยอดต่อไป คือ เกาะรัตนโกสินทร์ ตลาดนัดจตุจักร ย่านทองหล่อ ย่านสยามสแควร์ ย่านประตูน้ำ ย่านทาวน์อินทาวน์ ย่านอาร์ซีเอ ย่านประดิษฐ์มนูธรรม (ซีดีซี) ย่านถนนสายไม้ (ซอยประชานฤมิตร) และศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งการย่านดังกล่าวจะสามารถสร้างเศรษฐกิจและช่วยกระตุ้นในเรื่องของการท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น
สำหรับมหานครสีเขียว (เครือข่ายพื้นที่สีเขียว) มีแนวคิดเพื่อการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯให้เชื่อมต่อกันทุกมุมเมือง พร้อมทั้งสร้างเสริมสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศให้มีความหลากหลายและเหมาะ ซึ่งรูปแบบโครงการจะพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวริมแม่น้ำคือการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมท่าน้ำสามเสน และบริเวณริมแม่น้ำสะพานพระราม 8 - ซอยสามเสน 3 บริเวณริมคลอง โดยมีโครงการนำร่องดังนี้ บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม และคลองคูเมืองเดิม และริมถนน มีโรงการนำร่อง 2 โครงกา รคือปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณถนนเพชรบุรี จากแยกอโศก-แยกประตูน้ำ-แยกราชเทวี ปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะกลางถนนตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสจากถนนสุขุมวิท-แยกอโศก และถนนพญาไท-แยกศรีอยุธยา