ดีเดย์สัปดาห์หน้าเรียกเจ้าของป้ายเสียค่าปรับ ชี้หากติดซ้ำดำเนินการฟ้องศาลแน่
วันนี้ (19 ก.ย.)นายโสภณ โพธิสป รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กล่าวถึงการจัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายที่ติดตั้งบริเวณต้นไม้ เสาไฟฟ้ารอบพื้นที่กรุงเทพมหานครว่า เจ้าหน้าที่เทศกิจได้ทำการเก็บป้ายผิดกฎหมายต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 6-15 ก.ย.ซึ่งสามารถเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายได้จำนวน 3,875 ป้าย โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นป้ายขนาดเล็ก ขนาด 50*50 เซนติเมตร และขนาด 30*20 เซนติเมตร สำหรับป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ขนาด 1.20*2.40 เมตรนั้น พบว่ามีจำนวนลดน้อยลงเหลือเพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยส่วนใหญ่ป้ายที่พบจะเป็นป้ายโฆษณาบ้านและคอนโด ทั้งนี้เขตที่ยังพบป้ายโฆษณามากที่สุดคือ เขตวัฒนา พบป้ายโฆษณากว่า 2,036 ป้าย
นายโสภณ กล่าวต่อว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีดำเนินการให้เขตเก็บป้ายกลับไปยังสำนักงานเขต และทำหนังสือเชิญเจ้าของป้ายมาชำระค่าปรับ ซึ่งมีขั้นต่ำป้ายละ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท หากมีการจ่ายค่าปรับไปแล้วยังพบว่าเจ้าของป้ายเดิมมีการติดป้ายซ้ำอีก จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยส่งเรื่องดำเนินคดีดังนี้ 1.จะดำเนินคดีอาญาเนื่องจากป้ายที่ติดทำให้ทรัพย์สินของ กทม.ได้รับความเสียหาย 2.จะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับผู้ประกอบการ 3.จะดำเนินการเรียกเก็บภาษีป้ายกับผู้ประกอบการที่ติดป้ายบนพื้นที่ กทม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากจำนวนป้ายที่เจ้าหน้าที่เทศกิจจัดเก็บได้ในขณะนี้ หากปรับตามอัตราขั้นต่ำ 500 บาทต่อ 1 ป้าย กทม.จะมีรายได้ถึง 1,937,500 บาท ทั้งนี้ในช่วงปี 52-54 ที่มีการจัดเก็บป้ายเถื่อนในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่ามีจำนวนมากถึง 1.3 ล้านป้าย และหากมีการจับดำเนินคดีอย่างจริงจังจะทำให้ กทม.มีรายได้จำนวนหลายล้านบาทในแต่ละปี
วันนี้ (19 ก.ย.)นายโสภณ โพธิสป รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กล่าวถึงการจัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายที่ติดตั้งบริเวณต้นไม้ เสาไฟฟ้ารอบพื้นที่กรุงเทพมหานครว่า เจ้าหน้าที่เทศกิจได้ทำการเก็บป้ายผิดกฎหมายต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 6-15 ก.ย.ซึ่งสามารถเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายได้จำนวน 3,875 ป้าย โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นป้ายขนาดเล็ก ขนาด 50*50 เซนติเมตร และขนาด 30*20 เซนติเมตร สำหรับป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ขนาด 1.20*2.40 เมตรนั้น พบว่ามีจำนวนลดน้อยลงเหลือเพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยส่วนใหญ่ป้ายที่พบจะเป็นป้ายโฆษณาบ้านและคอนโด ทั้งนี้เขตที่ยังพบป้ายโฆษณามากที่สุดคือ เขตวัฒนา พบป้ายโฆษณากว่า 2,036 ป้าย
นายโสภณ กล่าวต่อว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีดำเนินการให้เขตเก็บป้ายกลับไปยังสำนักงานเขต และทำหนังสือเชิญเจ้าของป้ายมาชำระค่าปรับ ซึ่งมีขั้นต่ำป้ายละ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท หากมีการจ่ายค่าปรับไปแล้วยังพบว่าเจ้าของป้ายเดิมมีการติดป้ายซ้ำอีก จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยส่งเรื่องดำเนินคดีดังนี้ 1.จะดำเนินคดีอาญาเนื่องจากป้ายที่ติดทำให้ทรัพย์สินของ กทม.ได้รับความเสียหาย 2.จะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับผู้ประกอบการ 3.จะดำเนินการเรียกเก็บภาษีป้ายกับผู้ประกอบการที่ติดป้ายบนพื้นที่ กทม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากจำนวนป้ายที่เจ้าหน้าที่เทศกิจจัดเก็บได้ในขณะนี้ หากปรับตามอัตราขั้นต่ำ 500 บาทต่อ 1 ป้าย กทม.จะมีรายได้ถึง 1,937,500 บาท ทั้งนี้ในช่วงปี 52-54 ที่มีการจัดเก็บป้ายเถื่อนในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่ามีจำนวนมากถึง 1.3 ล้านป้าย และหากมีการจับดำเนินคดีอย่างจริงจังจะทำให้ กทม.มีรายได้จำนวนหลายล้านบาทในแต่ละปี