สศร.หวัง อีโคมูฟ สร้างเด็กไทยรักษ์ชุมชน-สิ่งแวดล้อม กระตุ้นคนให้ยืนบนลำแข้งด้วยตนเอง
นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า เนื่องจาก สศร.จัดกิจกรรมโครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ปี 2556 “อีโคมูฟ” รวมพลังนักสร้างสรรค์ขยับเมือง พัฒนาชุมชนสู่ความยั่นยืนมาตั้งแต่เดือน มิ.ย.ถึง ส.ค.พบว่า มีเยาวชนรุ่นใหม่ ได้ทำงานร่วมกับสถาปนิก และนักออกแบบ ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์พัฒนาชุมชน และเมืองให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญโครงการยังได้ส่งเสริมให้ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส สร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและสามารถนำออกมาจำหน่ายได้จริงในท้องตลาด เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถมีอาชีพและใช้ชีวิตได้อย่างยั่งยืนด้วย
ทั้งนี้ สศร.แบ่งการทำงานอีโคมูฟเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอยู่ดีมีสุข มี ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต เป็นหัวหน้าคณะ ลงพื้นที่ชุมชนเชียงรากน้อย ซึ่งเป็นชุมชนมอญ ในการวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน โดยให้ชุมชนเห็น ความสำคัญของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่ตนเองมีอยู่ จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเช่น ทอฟฟีหมี่กรอบ เป็นต้น
ส่วนกลุ่มอันโนว (Unknown) มี นนทวัฒน์ เจริญชาตรี เป็นหัวหน้าคณะ หาพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใจกลางเมือง มาพัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมร่วมสมัย
กลุ่มอาร์ตชบุรี มี วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เป็นหัวหน้าคณะ กลุ่มนี้ไปที่ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ จนได้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผลิตจากวัสดุเหลือใช้
ผอ.สศร.แสดงความเห็นว่า สิ่งสำคัญไม่เพียงแต่ได้ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เท่านั้น ยังทำให้เยาวชนที่เข้าร่วมรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นแบบสร้างสรรรค์ ไม่ใช่การยื่นให้เพียงอย่างเดียว แต่ช่วยให้เขายืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ สศร.ได้นำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการนี้ มาจัดแสดงนิทรรศการ อีโคมูฟ รวมพลังสร้างสรรค์ขยับเมือง พัฒนาชุมชนยั่งยืน ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน วันนี้ถึง 13 ก.ย.ด้วย
นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า เนื่องจาก สศร.จัดกิจกรรมโครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ปี 2556 “อีโคมูฟ” รวมพลังนักสร้างสรรค์ขยับเมือง พัฒนาชุมชนสู่ความยั่นยืนมาตั้งแต่เดือน มิ.ย.ถึง ส.ค.พบว่า มีเยาวชนรุ่นใหม่ ได้ทำงานร่วมกับสถาปนิก และนักออกแบบ ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์พัฒนาชุมชน และเมืองให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญโครงการยังได้ส่งเสริมให้ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส สร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและสามารถนำออกมาจำหน่ายได้จริงในท้องตลาด เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถมีอาชีพและใช้ชีวิตได้อย่างยั่งยืนด้วย
ทั้งนี้ สศร.แบ่งการทำงานอีโคมูฟเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอยู่ดีมีสุข มี ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต เป็นหัวหน้าคณะ ลงพื้นที่ชุมชนเชียงรากน้อย ซึ่งเป็นชุมชนมอญ ในการวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน โดยให้ชุมชนเห็น ความสำคัญของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่ตนเองมีอยู่ จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเช่น ทอฟฟีหมี่กรอบ เป็นต้น
ส่วนกลุ่มอันโนว (Unknown) มี นนทวัฒน์ เจริญชาตรี เป็นหัวหน้าคณะ หาพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใจกลางเมือง มาพัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมร่วมสมัย
กลุ่มอาร์ตชบุรี มี วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เป็นหัวหน้าคณะ กลุ่มนี้ไปที่ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ จนได้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผลิตจากวัสดุเหลือใช้
ผอ.สศร.แสดงความเห็นว่า สิ่งสำคัญไม่เพียงแต่ได้ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เท่านั้น ยังทำให้เยาวชนที่เข้าร่วมรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นแบบสร้างสรรรค์ ไม่ใช่การยื่นให้เพียงอย่างเดียว แต่ช่วยให้เขายืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ สศร.ได้นำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการนี้ มาจัดแสดงนิทรรศการ อีโคมูฟ รวมพลังสร้างสรรค์ขยับเมือง พัฒนาชุมชนยั่งยืน ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน วันนี้ถึง 13 ก.ย.ด้วย