สถานีสูบน้ำ กทม.สร้างปัญหาทำบ้านประชาชนทรุด กทม.เร่งให้ผู้รับเหมารับผิดชอบความเสียหาย พร้อมสั่งการให้ตรวจเข้มหวั่นเกิดเหตุซ้ำรอย
วันนี้ (5 ก.ย.)นายบำรุง รัตนะ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตวังทองหลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการ สภากทม. ลงพื้นที่ตรวจปัญหาบ้านทรุด จากกรณีก่อสร้างสถานีสูบน้ำ และแนวเขื่อนคลองทรงกระเทียม ณ จุดก่อสร้างคลองทรงกระเทียม ซอยลาดพร้าว 87 แยก 22 เขตบางกะปิ กทม.
โดยนายบำรุงกล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวเมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดน้ำท่วมขังซ้ำซากทุกปี จึงได้มีการของบประมาณดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและแนวเขื่อนตลอดคลองทรงกระเทียม ซึ่งมีระยะทางยาวประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยมีบริษัท ไพลอน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ เริ่มสัญญาการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2554 และจะสิ้นสุดเดือนมกราคม 2557 ก่อนจะส่งมอบงาน แต่ต้องมาเกิดปัญหาจากกรณีการก่อสร้างดังกล่าว ในวันนี้จึงได้เรียกทางตัวแทนบริษัทผู้รับเหมา สำนักการระบายน้ำ และประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ มาเพื่อเจรจาตกลงหาข้อสรุป ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า ทางผู้รับเหมาจะเข้าไปซ่อมแซมภายในต้นเดือนตุลาคมนี้ และคาดว่าใช้เวลาเพียง 15 วันก็จะแล้วเสร็จ
นายบำรุงกล่าวต่ออีกว่า สำหรับปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ตนจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมสภา กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นกรณีศึกษา และแนะนำให้เขตอื่นๆ ได้รับทราบในกรณีการก่อสร้างต่างๆจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน โดยการเจรจากับประชาชนในพื้นที่จะต้องบอกถึงสาเหตุและเหตุผลของการดำเนินงานให้ประชาชนทราบและทำความเข้าใจ ก็จะทำให้ไม่เกิดปัญหาลุกลาม
ทั้งนี้ ในส่วนบ้านเรือนของประชาชนที่ได้รับความเสียหายนั้น เกิดจากการต่อเติมรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่แนวคลองของ กทม. ทางผู้รับเหมามีความจำเป็นที่จะต้องทุบบางส่วน จึงทำให้ตัวอาคารเกิดแตกร้าว นอกจากนี้ ได้เกิดจากแรงสั่นสะเทือนจากการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ซึ่งหากผู้เสียหายรายใดได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างดังกล่าว สามารถไปลงบันทึกประจำวันได้ที่โรงพัก และมายื่นให้บริษัทผู้รับเหมา เพื่อเข้าไปตรวจสอบและซ่อมแซมความเสียหาย อีกทั้งจะจ่ายค่าชดเชยให้ตามความเป็นจริงเป็นรายไป ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทฯ ได้เข้าไปแก้ไขซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหายไปแล้วกว่า 50 หลังคาเรือน
นายเดชไกร ชวนะเมสร์ หนึ่งในผู้ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด อยู่บ้านเลขที่ 454/149 ซอยลาดพร้าว 87 แยก 22 เขตวังทองหลาง กทม. กล่าวว่า ตัวอาคารภายในบ้านเกิดการแตกร้าวมานานเกือบปีแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ยังไม่รุนแรงมาก ประกอบกับแรงสั่นสะเทือนจากการก่อสร้างทำให้บ้านตนและใกล้เคียงเกิดการสั่นไหวตลอดเวลา จนกระทั่งช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บ้านเสียหายอย่างหนัก น้ำในห้องน้ำจากด้านบนไหลลง และช่วงมีฝนตกก็อยู่อย่างลำบาก ขณะที่ตนก็ไม่เคยไปร้องเรียนที่ใด แต่มีเจ้าหน้าที่ของ กทม.มาสอบถาม ตนจึงได้แจ้งให้ทราบ ซึ่งก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และรู้สึกพอใจต่อการเจรจาดังกล่าว
วันนี้ (5 ก.ย.)นายบำรุง รัตนะ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตวังทองหลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการ สภากทม. ลงพื้นที่ตรวจปัญหาบ้านทรุด จากกรณีก่อสร้างสถานีสูบน้ำ และแนวเขื่อนคลองทรงกระเทียม ณ จุดก่อสร้างคลองทรงกระเทียม ซอยลาดพร้าว 87 แยก 22 เขตบางกะปิ กทม.
โดยนายบำรุงกล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวเมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดน้ำท่วมขังซ้ำซากทุกปี จึงได้มีการของบประมาณดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและแนวเขื่อนตลอดคลองทรงกระเทียม ซึ่งมีระยะทางยาวประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยมีบริษัท ไพลอน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ เริ่มสัญญาการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2554 และจะสิ้นสุดเดือนมกราคม 2557 ก่อนจะส่งมอบงาน แต่ต้องมาเกิดปัญหาจากกรณีการก่อสร้างดังกล่าว ในวันนี้จึงได้เรียกทางตัวแทนบริษัทผู้รับเหมา สำนักการระบายน้ำ และประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ มาเพื่อเจรจาตกลงหาข้อสรุป ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า ทางผู้รับเหมาจะเข้าไปซ่อมแซมภายในต้นเดือนตุลาคมนี้ และคาดว่าใช้เวลาเพียง 15 วันก็จะแล้วเสร็จ
นายบำรุงกล่าวต่ออีกว่า สำหรับปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ตนจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมสภา กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นกรณีศึกษา และแนะนำให้เขตอื่นๆ ได้รับทราบในกรณีการก่อสร้างต่างๆจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน โดยการเจรจากับประชาชนในพื้นที่จะต้องบอกถึงสาเหตุและเหตุผลของการดำเนินงานให้ประชาชนทราบและทำความเข้าใจ ก็จะทำให้ไม่เกิดปัญหาลุกลาม
ทั้งนี้ ในส่วนบ้านเรือนของประชาชนที่ได้รับความเสียหายนั้น เกิดจากการต่อเติมรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่แนวคลองของ กทม. ทางผู้รับเหมามีความจำเป็นที่จะต้องทุบบางส่วน จึงทำให้ตัวอาคารเกิดแตกร้าว นอกจากนี้ ได้เกิดจากแรงสั่นสะเทือนจากการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ซึ่งหากผู้เสียหายรายใดได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างดังกล่าว สามารถไปลงบันทึกประจำวันได้ที่โรงพัก และมายื่นให้บริษัทผู้รับเหมา เพื่อเข้าไปตรวจสอบและซ่อมแซมความเสียหาย อีกทั้งจะจ่ายค่าชดเชยให้ตามความเป็นจริงเป็นรายไป ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทฯ ได้เข้าไปแก้ไขซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหายไปแล้วกว่า 50 หลังคาเรือน
นายเดชไกร ชวนะเมสร์ หนึ่งในผู้ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด อยู่บ้านเลขที่ 454/149 ซอยลาดพร้าว 87 แยก 22 เขตวังทองหลาง กทม. กล่าวว่า ตัวอาคารภายในบ้านเกิดการแตกร้าวมานานเกือบปีแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ยังไม่รุนแรงมาก ประกอบกับแรงสั่นสะเทือนจากการก่อสร้างทำให้บ้านตนและใกล้เคียงเกิดการสั่นไหวตลอดเวลา จนกระทั่งช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บ้านเสียหายอย่างหนัก น้ำในห้องน้ำจากด้านบนไหลลง และช่วงมีฝนตกก็อยู่อย่างลำบาก ขณะที่ตนก็ไม่เคยไปร้องเรียนที่ใด แต่มีเจ้าหน้าที่ของ กทม.มาสอบถาม ตนจึงได้แจ้งให้ทราบ ซึ่งก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และรู้สึกพอใจต่อการเจรจาดังกล่าว