กทม.รับอาสาสมัครป้องกันชุมชนจากยาเสพติดเน้นเยาวชนเป็นหลักพร้อมสรางพื้นที่กิจกรรมให้เด็กแสดงออกอย่างหวังสร้างภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน
วันนี้ (5 ส.ค.) ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร ว่า กทม.มีความห่วงใยและให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีนโยบายเร่งด่วน ในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติดอย่างแท้จริง
นางผุสดี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักอนามัย สำนักเทศกิจ ดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งประสานไปยังเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา ให้เป็นส่วนหนึ่งในการเฝ้าระวังและภัยยาเสพติด เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม โดย กทม.มีแผนปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเอกภาพ โดยจะทำกิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กและเยาวชน เนื่องจากมองว่าจะเป็นการสร้างภูมิต้านทานให้กับเด็กและเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน
“สำนักอนามัยได้ดำเนินการจัดตั้งอาสาสมัครชุมชนเฝ้าระวังภัยยาเสพติด โดยเปิดรับสมัครอาสาสมัครจากชุมชนๆ ละ 2 คน จะมีอาสาสมัครรวม 6,000 คน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยและการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษาโดยรอบ พร้อมค้นหา ชักจูงผู้เสพและผู้ติดยาให้เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ พร้อมทั้งติดตามดูแล ช่วยเหลือผู้เสพและผู้ติดยาที่ผ่านการบำบัดรักษา ตลอดจนให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการในการเฝ้าระวังและป้องกันอาชญากรรมภัยต่างๆ และยาเสพติด โดยคุณสมบัติของผู้สมัคร จะต้องพักอาศัยอยู่ในชุมชนอย่างน้อย 1 ปี มีอายุระหว่าง 20-65 ปี มีจิตอาสาและสมัครใจที่จะร่วมปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังภัยยาเสพติดในชุมชน ต้องเป็นที่รู้จักและยอมรับของคนในชุมชน และไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกประเภท” นางผุสดี กล่าว
วันนี้ (5 ส.ค.) ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร ว่า กทม.มีความห่วงใยและให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีนโยบายเร่งด่วน ในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติดอย่างแท้จริง
นางผุสดี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักอนามัย สำนักเทศกิจ ดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งประสานไปยังเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา ให้เป็นส่วนหนึ่งในการเฝ้าระวังและภัยยาเสพติด เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม โดย กทม.มีแผนปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเอกภาพ โดยจะทำกิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กและเยาวชน เนื่องจากมองว่าจะเป็นการสร้างภูมิต้านทานให้กับเด็กและเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน
“สำนักอนามัยได้ดำเนินการจัดตั้งอาสาสมัครชุมชนเฝ้าระวังภัยยาเสพติด โดยเปิดรับสมัครอาสาสมัครจากชุมชนๆ ละ 2 คน จะมีอาสาสมัครรวม 6,000 คน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยและการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษาโดยรอบ พร้อมค้นหา ชักจูงผู้เสพและผู้ติดยาให้เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ พร้อมทั้งติดตามดูแล ช่วยเหลือผู้เสพและผู้ติดยาที่ผ่านการบำบัดรักษา ตลอดจนให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการในการเฝ้าระวังและป้องกันอาชญากรรมภัยต่างๆ และยาเสพติด โดยคุณสมบัติของผู้สมัคร จะต้องพักอาศัยอยู่ในชุมชนอย่างน้อย 1 ปี มีอายุระหว่าง 20-65 ปี มีจิตอาสาและสมัครใจที่จะร่วมปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังภัยยาเสพติดในชุมชน ต้องเป็นที่รู้จักและยอมรับของคนในชุมชน และไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกประเภท” นางผุสดี กล่าว