‘กรมศิลป์’ชง ครม.ไฟเขียว 60 ล้าน ผุดกองทุนจดหมายเหตุ เตรียมเดินหน้า 5 ยุทธศาสตร์
วันนี้ (30 ก.ค.) นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้รับรายงานความคืบหน้าการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานจดหมายเหตุแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.2556 ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติว่า ในขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จเรียบร้อย โดยร่างมีดังนี้ 1.ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติให้ทุกคนรับรู้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้พึ่งประกาศใช้ 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมอาคารสถานที่ในการคุ้มครอง เก็บรักษาและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ 3.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุที่โปร่งใส เป็นการจัดตั้งกองทุนฯ คณะกรรมการกองทุนฯ และจัดระเบียบบริหารกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่งานจดหมายเหตุของชาติ
4.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานจดหมายเหตุในมิติใหม่ ปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังในการบริหารงานจดหมายเหตุตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในระบบดิจิตอลพัฒนาศักยภาพ และบริหารจัดการบุคลากรที่มีจำกัด และกำหนดหลักสูตรที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมบุคลากรเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ 5.การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการงานจดหมายเหตุในมิติใหม่ เป็นการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานของการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และการบริหารเอกสารจดหมายเหตุด้วยระบบดิจิตอล อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ต้องเร่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านซึ่งจะใช้เวลาดำเนินงานตั้งแต่ปีนี้ถึงปี 2560 เป็นเวลา 5 ปี
นายสหวัฒน์ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการเบื้องต้นจัดตั้งกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ ซึ่งเตรียมนำเรื่องนี้เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบงบประมาณประเดิมตั้งกองทุนฯประมาณ 60 ล้านบาท นอกจากนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บจดหมายให้เป็นรูปแบบดิจิตอล เพื่อความสะดวก รวมถึงงานเร่งทำความเข้าใจกับหน่วยงานราชการเรื่องการจัดส่งเอกสารสำคัญที่ต้องจัดเก็บเป็นจดหมาย เพราะที่ผ่านหลายหน่วยงานไม่ยอมส่งเอกสารให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วันนี้ (30 ก.ค.) นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้รับรายงานความคืบหน้าการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานจดหมายเหตุแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.2556 ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติว่า ในขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จเรียบร้อย โดยร่างมีดังนี้ 1.ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติให้ทุกคนรับรู้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้พึ่งประกาศใช้ 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมอาคารสถานที่ในการคุ้มครอง เก็บรักษาและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ 3.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุที่โปร่งใส เป็นการจัดตั้งกองทุนฯ คณะกรรมการกองทุนฯ และจัดระเบียบบริหารกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่งานจดหมายเหตุของชาติ
4.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานจดหมายเหตุในมิติใหม่ ปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังในการบริหารงานจดหมายเหตุตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในระบบดิจิตอลพัฒนาศักยภาพ และบริหารจัดการบุคลากรที่มีจำกัด และกำหนดหลักสูตรที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมบุคลากรเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ 5.การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการงานจดหมายเหตุในมิติใหม่ เป็นการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานของการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และการบริหารเอกสารจดหมายเหตุด้วยระบบดิจิตอล อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ต้องเร่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านซึ่งจะใช้เวลาดำเนินงานตั้งแต่ปีนี้ถึงปี 2560 เป็นเวลา 5 ปี
นายสหวัฒน์ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการเบื้องต้นจัดตั้งกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ ซึ่งเตรียมนำเรื่องนี้เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบงบประมาณประเดิมตั้งกองทุนฯประมาณ 60 ล้านบาท นอกจากนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บจดหมายให้เป็นรูปแบบดิจิตอล เพื่อความสะดวก รวมถึงงานเร่งทำความเข้าใจกับหน่วยงานราชการเรื่องการจัดส่งเอกสารสำคัญที่ต้องจัดเก็บเป็นจดหมาย เพราะที่ผ่านหลายหน่วยงานไม่ยอมส่งเอกสารให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ