แพทยสภาจ่อคุม “ซิลิโคนเหลว” ชี้ก่อปัญหาการศัลยกรรมเสริมความงามมาก ทำให้ไม่ได้รูป สั่งอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลเสริมความงามแบบวิชาการ หวังช่วยคุ้มครองประชาชนมากขึ้น
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา ในฐานะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนด้านเสริมความงามจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา กล่าวภายหลังการประชุมอนุกรรมการฯ ว่า การประชุมครั้งนี้ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมีทั้งแพทยสภา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย สมาคมโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น โดยได้หารือกรอบการทำงานในการควบคุมการเสริมความงาม ศัลยกรรม โดยต้องอิงข้อมูลวิชาการเป็นหลัก เบื้องต้นจะต้องควบคุมการใช้เครื่องมือแพทย์ หัตถการต่างๆ โดยจะแบ่งกลุ่มว่า เครื่องมือ หรือวัสดุเสริมความงามใดถูกต้องตามมาตรฐาน หรือเป็นสิ่งใหม่ที่เข้ามา และสิ่งไหนที่ยังไม่ได้รับการรับรอง ไม่มีความชัดเจน ซึ่งในอนาคตจะมีการควบคุม และจะมีการแจ้งเตือนประชาชนให้ระวังหากต้องการใช้เครื่องมือ หรือวัสดุเสริมความงามต่างๆ
“เบื้องต้นได้ให้อนุกรรมการไปรวบรวมข้อมูลและนำเข้าที่ประชุมครั้งหน้า วันที่ 22 ส.ค.คาดว่าจะมีการควบคุมพวกซิลิโคนเหลวเป็นอันดับแรก เพราะก่อปัญหาในการเสริมความงาม ทำให้ไม่ได้รูป เกิดผลกระทบมากมาย โดยในการประชุมครั้งนี้จะมีการหยิบยกเรื่องนี้มาพูด และมีข้อมูลวิชาการอ้างอิง พร้อมทั้งมีแนวโน้มว่าอาจต้องห้ามใช้ซิลิโคนเหลวด้วย ส่วนระเบียบต่างๆ ในการบังคับขอรอการประชุมครั้งหน้าอีกครั้ง” นพ.สัมพันธ์ กล่าวและว่า การควบคุมลักษณะนี้จะช่วยคุ้มครองประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการคุ้มครองลักษณะนี้
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา ในฐานะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนด้านเสริมความงามจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา กล่าวภายหลังการประชุมอนุกรรมการฯ ว่า การประชุมครั้งนี้ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมีทั้งแพทยสภา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย สมาคมโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น โดยได้หารือกรอบการทำงานในการควบคุมการเสริมความงาม ศัลยกรรม โดยต้องอิงข้อมูลวิชาการเป็นหลัก เบื้องต้นจะต้องควบคุมการใช้เครื่องมือแพทย์ หัตถการต่างๆ โดยจะแบ่งกลุ่มว่า เครื่องมือ หรือวัสดุเสริมความงามใดถูกต้องตามมาตรฐาน หรือเป็นสิ่งใหม่ที่เข้ามา และสิ่งไหนที่ยังไม่ได้รับการรับรอง ไม่มีความชัดเจน ซึ่งในอนาคตจะมีการควบคุม และจะมีการแจ้งเตือนประชาชนให้ระวังหากต้องการใช้เครื่องมือ หรือวัสดุเสริมความงามต่างๆ
“เบื้องต้นได้ให้อนุกรรมการไปรวบรวมข้อมูลและนำเข้าที่ประชุมครั้งหน้า วันที่ 22 ส.ค.คาดว่าจะมีการควบคุมพวกซิลิโคนเหลวเป็นอันดับแรก เพราะก่อปัญหาในการเสริมความงาม ทำให้ไม่ได้รูป เกิดผลกระทบมากมาย โดยในการประชุมครั้งนี้จะมีการหยิบยกเรื่องนี้มาพูด และมีข้อมูลวิชาการอ้างอิง พร้อมทั้งมีแนวโน้มว่าอาจต้องห้ามใช้ซิลิโคนเหลวด้วย ส่วนระเบียบต่างๆ ในการบังคับขอรอการประชุมครั้งหน้าอีกครั้ง” นพ.สัมพันธ์ กล่าวและว่า การควบคุมลักษณะนี้จะช่วยคุ้มครองประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการคุ้มครองลักษณะนี้