สวรส.ระดมผู้เชี่ยวชาญ เสนอไอเดียเพื่อจัดทำทิศทางระบบสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า เพื่อวางกรอบและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศในทุกมิติ พร้อมเผยปัจจัยด้านการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว ส่งผลดีต่อระบบสุขภาพ ขณะที่ ปัญหาภัยธรรมชาติ โรคอุบัติใหม่ส่งผลในทางลบ
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่กฎหมายได้กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีหน้าที่ในการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยทุก 5 ปี ซึ่งกำลังจะครบรอบการปรับปรุงในปี 2557 ดังนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จึงร่วมกันจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ในการจัดทำภาพอนาคตระบบสุขภาพไทย บนฐานข้อมูลการศึกษาแนวโน้มและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพไทย
โดยมีผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อระบบสุขภาพ เช่น การคมนาคมทั้งในประเทศและต่างประเทศสะดวกมากขึ้น หลายชุมชนจัดการตนเองได้มากขึ้น มีการพัฒนาระบบการขนส่งเพื่อตอบสนองต่อคนทุกกลุ่มมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบสุขภาพ เช่น ภัยธรรมชาติ โรคอุบัติใหม่ วิธีการและรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันจะหลากหลาย จะตรวจสอบและเฝ้าระวังได้ยากขึ้น จากการระดมความคิดเห็น พบประเด็นที่น่าสนใจจากการมองปัจจัยที่ไม่แน่นอน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.การปฏิรูปครั้งใหญ่ของโครงสร้างทางการเมืองและกฎหมาย 2.สังคมให้ความสำคัญในเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น 3.แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการเจรจาการค้าเสรีระหว่างประเทศ 4.แนวโน้มการรักษาผู้ป่วยที่พึ่งพาเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์มากขึ้น
“มีความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งเป็นหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่คิดว่าสุขภาพของคนไทยในอนาคตอาจจะดีขึ้น มองว่าอีก 10 ปีข้างหน้าระบบสุขภาพจะมีความเข้มแข็งบนฐานพลังร่วมกันของสังคม โดยมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและโปร่งใส รวมทั้งมีการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้ประชาชนได้ตัดสินใจมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่คิดว่าสุขภาพของคนไทยในอนาคตอาจจะแย่ลง มองว่าอาจจะเกิดภาวะหลุมดำของระบบสุขภาพ เนื่องจากอาจมีการใช้อำนาจโดยมิชอบ และบางเรื่องกฎหมายบังคับใช้ไม่ได้ ตลอดจนขาดการเตรียมกลยุทธ์และยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสุขภาพที่รอบคอบ” รักษาการ ผอ.สวรส.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม จะนำข้อสรุปที่ได้ไปจัดทำรายละเอียดเพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายทุกภาคส่วนได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและออกแบบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและบรรลุวัตถุประสงค์ของระบบสุขภาพอย่างแท้จริง
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่กฎหมายได้กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีหน้าที่ในการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยทุก 5 ปี ซึ่งกำลังจะครบรอบการปรับปรุงในปี 2557 ดังนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จึงร่วมกันจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ในการจัดทำภาพอนาคตระบบสุขภาพไทย บนฐานข้อมูลการศึกษาแนวโน้มและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพไทย
โดยมีผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อระบบสุขภาพ เช่น การคมนาคมทั้งในประเทศและต่างประเทศสะดวกมากขึ้น หลายชุมชนจัดการตนเองได้มากขึ้น มีการพัฒนาระบบการขนส่งเพื่อตอบสนองต่อคนทุกกลุ่มมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบสุขภาพ เช่น ภัยธรรมชาติ โรคอุบัติใหม่ วิธีการและรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันจะหลากหลาย จะตรวจสอบและเฝ้าระวังได้ยากขึ้น จากการระดมความคิดเห็น พบประเด็นที่น่าสนใจจากการมองปัจจัยที่ไม่แน่นอน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.การปฏิรูปครั้งใหญ่ของโครงสร้างทางการเมืองและกฎหมาย 2.สังคมให้ความสำคัญในเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น 3.แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการเจรจาการค้าเสรีระหว่างประเทศ 4.แนวโน้มการรักษาผู้ป่วยที่พึ่งพาเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์มากขึ้น
“มีความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งเป็นหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่คิดว่าสุขภาพของคนไทยในอนาคตอาจจะดีขึ้น มองว่าอีก 10 ปีข้างหน้าระบบสุขภาพจะมีความเข้มแข็งบนฐานพลังร่วมกันของสังคม โดยมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและโปร่งใส รวมทั้งมีการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้ประชาชนได้ตัดสินใจมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่คิดว่าสุขภาพของคนไทยในอนาคตอาจจะแย่ลง มองว่าอาจจะเกิดภาวะหลุมดำของระบบสุขภาพ เนื่องจากอาจมีการใช้อำนาจโดยมิชอบ และบางเรื่องกฎหมายบังคับใช้ไม่ได้ ตลอดจนขาดการเตรียมกลยุทธ์และยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสุขภาพที่รอบคอบ” รักษาการ ผอ.สวรส.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม จะนำข้อสรุปที่ได้ไปจัดทำรายละเอียดเพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายทุกภาคส่วนได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและออกแบบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและบรรลุวัตถุประสงค์ของระบบสุขภาพอย่างแท้จริง