ศ.นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ
ภาควิชาจุลชีววิทยา
การแพร่ระบาดของไวรัส H7N9 เกิดจากการผสมผสานทางพันธุกรรมของสัตว์ปีก และ
มีการกลายพันธุ์เป็นวายร้าย ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้
ไวรัส H7N9 ความจริงในต่างประเทศมีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่เคยมีและไม่เคยระบาดในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2549 ในโรคนี้ยังไม่พบผู้ป่วย แต่เมื่อปลายเดือน มี.ค.กลับมีผู้ป่วยเกิดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเป็น 100 ราย มีอัตราตายสูงประมาณ 20% อาการที่พบคือ มีไข้แล้วเป็นหวัด ไอ กลายเป็นปอดบวม หายใจไม่ออก หายใจติดขัด จนถึงภาวะหายใจล้มเหลว แล้วเสียชีวิตในที่สุด
มาทราบภายหลังว่า เชื้อไวรัส H7N9 สามารถรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ โอเซลทามิเวียร์ หรือทามิฟูล กับซานามีเวียร์ หรือรีเล็นซ่า ต้องยอมรับว่า เชื้อไวรัส H7N9 นี้ ยังไม่มีวัคซีนมาแก้ไขโดยตรง ต้องรออีกอย่างน้อย 6 เดือน เช่นเดียวกับการแพร่ระบาด ที่ไม่ทราบสาเหตุว่าติดจากเชื้อสายพันธุ์อะไรแน่นอน แต่เท่าที่ผ่านมา มีเชื้อนี้ในสัตว์ปีกทั้งเป็ด ไก่ นกพิราบ แต่สัตว์อื่นอย่างหมู สุนัขยังไม่พบ ซึ่งองค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ยังไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน แต่หากเชื้อโรคนี้มาอยู่กับคนนานเกิน ก็อาจติดต่อจากคนสู่คนง่ายขึ้นได้
ฉะนั้นมาตรการการเฝ้าระวังเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้นในประเทศไทย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิด หรือดูแลผู้ป่วย ควรใส่หน้ากากอนามัยปิดปากปิดจมูก เมื่อเสร็จแล้วให้รีบล้างมือ ส่วนประชาชนทั่วไป ควรล้างมือบ่อยๆ และล้างมืออย่างถูกวิธี กินร้อน ช้อนกลาง และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสพวกสัตว์ปีกต่างๆ แม้ว่าสัตว์พวกนี้จะมีเชื้อ แต่อาจไม่แสดงอาการเจ็บป่วยก็ได้ ซึ่งจุดนี้ค่อนข้างจะอันตรายสำหรับผู้ที่เข้าไปใกล้ชิด
*********
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราชฟรี
เตรียมอาหารผู้ป่วยสมองเสื่อม
ขอเชิญประชาชนทั่วไปเข้าอบรมเรื่อง “การเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะต่างๆ” ในวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2556 ณ ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช สำรองที่นั่งได้ที่ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โทร.09 0557 7853
เพื่อคุณภาพผู้สูงอายุ
ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2556 รับบริการตรวจสุขภาพ ฟังเสวนา แนะนำการออกกำลังกายและอาหารที่เหมาะสม ฯลฯ เวลา 09.00-15.00 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามข้อมูล โทร. 0 2419 8802, 0 2419 9981-3
ภาควิชาจุลชีววิทยา
การแพร่ระบาดของไวรัส H7N9 เกิดจากการผสมผสานทางพันธุกรรมของสัตว์ปีก และ
มีการกลายพันธุ์เป็นวายร้าย ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้
ไวรัส H7N9 ความจริงในต่างประเทศมีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่เคยมีและไม่เคยระบาดในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2549 ในโรคนี้ยังไม่พบผู้ป่วย แต่เมื่อปลายเดือน มี.ค.กลับมีผู้ป่วยเกิดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเป็น 100 ราย มีอัตราตายสูงประมาณ 20% อาการที่พบคือ มีไข้แล้วเป็นหวัด ไอ กลายเป็นปอดบวม หายใจไม่ออก หายใจติดขัด จนถึงภาวะหายใจล้มเหลว แล้วเสียชีวิตในที่สุด
มาทราบภายหลังว่า เชื้อไวรัส H7N9 สามารถรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ โอเซลทามิเวียร์ หรือทามิฟูล กับซานามีเวียร์ หรือรีเล็นซ่า ต้องยอมรับว่า เชื้อไวรัส H7N9 นี้ ยังไม่มีวัคซีนมาแก้ไขโดยตรง ต้องรออีกอย่างน้อย 6 เดือน เช่นเดียวกับการแพร่ระบาด ที่ไม่ทราบสาเหตุว่าติดจากเชื้อสายพันธุ์อะไรแน่นอน แต่เท่าที่ผ่านมา มีเชื้อนี้ในสัตว์ปีกทั้งเป็ด ไก่ นกพิราบ แต่สัตว์อื่นอย่างหมู สุนัขยังไม่พบ ซึ่งองค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ยังไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน แต่หากเชื้อโรคนี้มาอยู่กับคนนานเกิน ก็อาจติดต่อจากคนสู่คนง่ายขึ้นได้
ฉะนั้นมาตรการการเฝ้าระวังเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้นในประเทศไทย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิด หรือดูแลผู้ป่วย ควรใส่หน้ากากอนามัยปิดปากปิดจมูก เมื่อเสร็จแล้วให้รีบล้างมือ ส่วนประชาชนทั่วไป ควรล้างมือบ่อยๆ และล้างมืออย่างถูกวิธี กินร้อน ช้อนกลาง และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสพวกสัตว์ปีกต่างๆ แม้ว่าสัตว์พวกนี้จะมีเชื้อ แต่อาจไม่แสดงอาการเจ็บป่วยก็ได้ ซึ่งจุดนี้ค่อนข้างจะอันตรายสำหรับผู้ที่เข้าไปใกล้ชิด
*********
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราชฟรี
เตรียมอาหารผู้ป่วยสมองเสื่อม
ขอเชิญประชาชนทั่วไปเข้าอบรมเรื่อง “การเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะต่างๆ” ในวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2556 ณ ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช สำรองที่นั่งได้ที่ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โทร.09 0557 7853
เพื่อคุณภาพผู้สูงอายุ
ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2556 รับบริการตรวจสุขภาพ ฟังเสวนา แนะนำการออกกำลังกายและอาหารที่เหมาะสม ฯลฯ เวลา 09.00-15.00 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามข้อมูล โทร. 0 2419 8802, 0 2419 9981-3