ม.ขอนแก่น เตรียมออกนอกระบบอีกราย หลัง ครม.ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมส่งให้กฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎร “พงศ์เทพ” ยันประชาคม มข.เห็นด้วย เพราะมีการแก้ร่าง พ.ร.บ.ที่ตรงกับความต้องการของทุกคนแล้ว
วันนี้ (4 มิ.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.กำหนดให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น และกำหนดให้มหาวิทยาลัยมีรายได้ส่วนหนึ่งจากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ และเงินกองทุนที่รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นและรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุน รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและให้อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือได้จากการซื้อหรือแลกเปลี่ยนไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุและให้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย อีกทั้งกำหนดให้มีสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย นายกสภามหาวิทยาลัยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการโดยตำแหน่งกรรมการซึ่งเลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งและคณาจารย์ประจำตามที่กำหนด กำหนดคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง และให้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
ด้าน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรี ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติตามที่ ศธ.เสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ... ซึ่งจากนี้จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจะเข้าสู่พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเคยจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.แล้วครั้งหนึ่ง แต่ขณะนั้นประชาคมมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ไม่เห็นด้วย มหาวิทยาลัยจึงขอถอนร่างออกจากการพิจารณาของ ครม.ในครั้งนั้น
“เหตุที่ประชาคมไม่เห็นด้วย เพราะยังมีความกังวลในหลายๆ เรื่อง อาทิ หากเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ หรือ ม.นอกระบบ จะทำให้ต้องมีการขึ้นค่าหน่วยกิต ทำให้นักศึกษาที่ยากจนต้องเดือดร้อน เป็นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปจากหลักการและเจตนารมณ์ของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ดังนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงแจ้งไปยังมหาวิทยาลัย ต่อมามหาวิทยาลัยจึงได้ขอถอนเรื่องออกจาก ครม. เพื่อกลับไปทำความเข้าใจกับประชาคม” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการรับฟังความคิดเห็นสรุปว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการให้มหาวิทยาลัยมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว ได้รับการยอมรับในระดับสากล มีความอิสระทางวิชาการเพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้ปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ให้สอดคล้องกับความเห็นของประชาคม จนกระทั่งมาเข้า ครม.อีกครั้ง ซึ่งจากนี้จะต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาดูในเรื่องความถูกต้อง และข้อกฎหมายต่างๆ ก่อนจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ต่อไป
วันนี้ (4 มิ.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.กำหนดให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น และกำหนดให้มหาวิทยาลัยมีรายได้ส่วนหนึ่งจากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ และเงินกองทุนที่รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นและรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุน รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและให้อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือได้จากการซื้อหรือแลกเปลี่ยนไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุและให้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย อีกทั้งกำหนดให้มีสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย นายกสภามหาวิทยาลัยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการโดยตำแหน่งกรรมการซึ่งเลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งและคณาจารย์ประจำตามที่กำหนด กำหนดคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง และให้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
ด้าน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรี ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติตามที่ ศธ.เสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ... ซึ่งจากนี้จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจะเข้าสู่พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเคยจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.แล้วครั้งหนึ่ง แต่ขณะนั้นประชาคมมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ไม่เห็นด้วย มหาวิทยาลัยจึงขอถอนร่างออกจากการพิจารณาของ ครม.ในครั้งนั้น
“เหตุที่ประชาคมไม่เห็นด้วย เพราะยังมีความกังวลในหลายๆ เรื่อง อาทิ หากเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ หรือ ม.นอกระบบ จะทำให้ต้องมีการขึ้นค่าหน่วยกิต ทำให้นักศึกษาที่ยากจนต้องเดือดร้อน เป็นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปจากหลักการและเจตนารมณ์ของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ดังนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงแจ้งไปยังมหาวิทยาลัย ต่อมามหาวิทยาลัยจึงได้ขอถอนเรื่องออกจาก ครม. เพื่อกลับไปทำความเข้าใจกับประชาคม” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการรับฟังความคิดเห็นสรุปว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการให้มหาวิทยาลัยมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว ได้รับการยอมรับในระดับสากล มีความอิสระทางวิชาการเพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้ปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ให้สอดคล้องกับความเห็นของประชาคม จนกระทั่งมาเข้า ครม.อีกครั้ง ซึ่งจากนี้จะต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาดูในเรื่องความถูกต้อง และข้อกฎหมายต่างๆ ก่อนจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ต่อไป