เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีข่าวที่ฮือฮามากในนิตยสาร “TIME” ที่ทำสกู๊ปหน้าปกเรื่อง “ME ME ME Generation” พร้อมภาพเด็กหญิงวัยสาวกำลังนอนราบกับพื้นและยกกล้องจากโทรศัพท์มือถือขึ้นโน้มลงมาถ่ายรูปหน้าตัวเอง
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับคนรุ่นใหม่ ที่อ้างข้อมูลของโจเอล สไตน์ จาก “The National Institutes of Health” (สถาบันสุขภาพแห่งชาติอเมริกา) พบว่า คนรุ่นใหม่กว่า 80 ล้านคนในอเมริกาที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1980-2000 นั้นหลงตัวเองเป็นสามเท่าของคนรุ่นพ่อแม่ และกว่า 80% ของคนรุ่นนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 23 ปี ต้องการได้งานที่มีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่
คนรุ่นใหม่นั้นได้รับการปลูกฝังเลี้ยงดูภายใต้วัฒนธรรม “แค่เข้าร่วมก็ได้ประกาศนียบัตร” โดยไม่สนใจถึงประสิทธิผลหรือวิธีการหรือความสำคัญของการเข้าร่วม ซึ่งทำให้พวกเขามักคิดว่า หากทำงาน พวกเขาควรได้รับการโปรโมตเลื่อนขั้นทุกๆ สองปีโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาที่ผลงานหรือประสิทธิภาพ
และจากข้อมูลดังกล่าว เขาเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Generation ME หรือกลุ่มที่มองตัวเองสำคัญที่สุด มองว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งอย่าง หรืออีกคำที่เขาเรียกว่าเป็นกลุ่มหลงตัวเอง
คนที่มี “บุคลิกภาพหลงตัวเอง” สรุปคร่าวๆ มักจะมีอาการและพฤติกรรม ดังนี้
(1) ปฏิกิริยาต่อการวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยความโกรธแค้น สร้างความน่าละอาย/ขายหน้า และความอัปยศน่าอดสู
(2) เอาเปรียบผู้อื่น เพื่อตอบสนองความต้องการชนะ หรือวัตถุประสงค์ของตนเอง
(3) มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนสำคัญมากเกินพอดี
(4) พูดขยายเกินกว่าความเป็นจริงเกี่ยวกับความสำเร็จหรือความสามารถของตนเอง
(5) มีใจหมกมุ่นกับจินตนาการความสำเร็จ พลัง อำนาจ ความงาม สติปัญญา หรือรักในอุดมคติ
(6) ใช้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล กับสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ หลงใหล คาดหวัง
(7) ต้องการเป็นที่ชื่นชม ยอมรับและหลงใหลอยู่ตลอดเวลา
(8) เพิกเฉย ไม่เอาใจใส่ต่อความรู้สึกของผู้อื่น และมีความพยายามเพียงน้อยนิดที่จะแสดงความเห็นใจผู้อื่น
(9) คิดหมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์และความต้องการของตนเอง
(10) ไล่ตามเป้าหมายที่เห็นประโยชน์แก่ตนเอง
แม้จะมีความพยายามในการวิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่และส่วนสำคัญที่สุดก็คือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่มีส่วนอย่างมาก
แล้วเด็กแบบไหนกันที่มีแนวโน้มถูกเลี้ยงดูให้กลายเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ถูกเรียกว่า Generation ME !!
ประการแรก ลูกเป็นศูนย์กลางของบ้าน
ถ้าเปรียบเทียบกับการเลี้ยงดูของชาวจีนก็ประมาณว่าจักรพรรดิน้อย ที่พ่อแม่คอยพะเน้าพะนอ อยากได้อะไรก็ได้ ไม่ว่าจะกิน จะนอน จะเล่น จะเที่ยว จะให้ลูกเป็นผู้กำหนดตั้งแต่เล็ก ยกให้ลูกเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะรักลูกอยากตามใจลูก โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้กำลังหล่อหลอมให้ลูกของเรากลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง และมองตัวเองสำคัญที่สุด ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น
ประการที่สอง ลูกไม่เคยผิดหวัง
สืบเนื่องมาจากการเป็นศูนย์กลางของบ้าน เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ใหญ่ในบ้านไม่เคยขัด และตามใจมาโดยตลอด จึงมักตอบสนองในทุกเรื่อง แม้บางเรื่องเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เช่น การที่ลูกอยากได้ของเล่นของคนอื่น พ่อแม่ก็จะต้องพยายามหาทางให้ลูกได้ของเล่นชิ้นนั้น ไปขอยืมมา หรือไม่ก็ต้องดิ้นรนหาซื้อของเล่นชิ้นใหม่จนได้ เป็นต้น
ประการที่สาม ลูกไม่เคยแพ้
ในที่นี้เป็นเรื่องการแข่งขันที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็ก เป็นเด็กที่ต้องชนะ ไม่ว่าจเะเป็นการเล่นเกม หรือการเรียนก็ตาม ยกตัวอย่าง พ่อแม่ที่เล่นกับลูก ถ้าเป็นเกมที่ต้องมีผู้แพ้ชนะ พ่อแม่มักยอมให้ลูกเป็นฝ่ายชนะตลอด เวลาลูกแพ้ ลูกมักร้องไห้หรืออารมณ์เสีย แทนที่พ่อแม่จะสอนให้ลูกรู้จักการแพ้ชนะอย่างเป็นธรรมชาติและถูกต้องตามกฎกติกา และให้เขาได้รู้จักการจัดการกับอารมณ์นั้น แต่พ่อแม่มักอ้างว่ารักลูก กลัวว่าลูกเสียใจก็เลยยอมแพ้ลูกตลอด จนเมื่อลูกต้องไปมีสังคมของเขาเอง เมื่อเขาแพ้ก็จะรู้สึกทนไม่ได้ ไม่ชอบหน้าอีกฝ่าย หรือบางทีก็กลายเป็นโกรธผู้นั้นไปเลย
ประการที่สี่ ลูกไม่เคยลำบาก
ข้อนี้มักเกิดกับกลุ่มพ่อแม่ชนชั้นกลางขึ้นไป ที่ไม่อยากให้ลูกลำบาก ยิ่งถ้าเป็นพ่อแม่ที่เคยผ่านความลำบากมาแล้ว ก็เลยมีความคิดว่าไม่อยากให้ลูกลำบากอีกต่อไป ซึ่งเป็นความคิดและความเข้าใจที่ผิด เพราะความลำบากจะทำให้ลูกมีภูมิต้านทานชีวิตที่ดี
ประการที่ห้า ลูกไม่เคยแก้ปัญหา
พ่อแม่จัดการแก้ปัญหาให้ลูกหมด เพราะคิดว่าลูกยังเด็ก ลูกคงแก้ปัญหาเองไม่ได้หรอก ทั้งที่บางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆ และเป็นเรื่องของเด็ก แต่พ่อแม่ก็ไม่ปล่อยวางให้ลูกได้ฝึกเจอสถานการณ์ด้วยตัวเอง แต่พ่อแม่เข้าไปแก้ปัญหาและจัดการให้หมด กลายเป็นจุ้นจ้านต่อชีวิตของลูกไปซะอีก เวลาลูกเจอปัญหาอะไรต้องให้เขาฝึกเผชิญด้วยตัวเอง มิเช่นนั้นแล้ว เขาก็จะมองเห็นแต่ตัวเอง เมื่อเกิดอะไรขึ้นมา เขาจะมองไม่เห็นปัญหาของคนอื่น หรือโทษว่าเพราะคนอื่นทำให้ฉันเกิดปัญหา
ประการที่หก ลูกได้รับคำชื่นชมและชมเชยแบบพร่ำเพรื่อ
การชื่นชมหรือชมเชยหรือให้กำลังใจลูกเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องมีความพอดีและเหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เพราะถ้าชื่นชมมากเกินไป พร่ำเพรื่อเกินไปก็กลายเป็นสร้างปัญหาด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชื่นชมเพียงแค่เปลือก ชมที่ภายนอก เช่น ชมว่าลูกแต่งตัวสวย หล่อ หรือหน้าตาดี แต่ไม่ได้ชมที่พฤติกรรมของการทำดี ก็จะทำให้ลูกหลงและถือดีว่าตัวเองหน้าตาดี และนำไปสู่อาการหลงตัวเองได้
ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วมีส่วนทำให้ลูกของคุณเข้าข่ายเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่คิดถึงตัวเอง หรือภาษาของคนชาวอเมริกันที่เขาบอกว่าเข้าข่ายหลงตัวเอง จนถึงกับบัญญัติศัพท์ใหม่ว่า “Generation ME” ที่ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่มักมองแต่ตัวเอง
จะว่าไปแล้วอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เกิดพฤติกรรมหลงตัวเองก็คือ “สื่อยุคไร้พรมแดน” เพราะสื่อและเทคโนโลยีที่พุ่งเป้ามาที่ตัวเด็กโดยตรง และมองว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สุดแสนจะโอชะ เพราะใช้เงินง่าย ตกเข้าไปในกระแสทุนนิยมก็ง่าย ยิ่งบรรดาสมาร์ทโฟนที่เด็กรุ่นใหม่ใช้กันเกลื่อนเมือง ก็ยิ่งเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มอย่างมากที่ก้าวเข้าสู่การเป็น Generation ME ได้ง่ายขึ้น
ตรงกันข้าม ถ้าเด็กเหล่านี้ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมและถูกวิธี มีการปลูกฝังทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับวัย เมื่อถึงวันที่กระแสบริโภคนิยมเข้ามาปะทะตัวเด็กเต็มๆ มีสื่อไฮเทคเข้ามาถึงบ้าน แต่ทักษะชีวิตที่ได้รับการปลูกฝังมาดี
เมื่อถึงเวลานั้น ทักษะที่มี มันจะทำหน้าที่ป้องกันตัวเองได้เป็นอย่างดีค่ะ
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับคนรุ่นใหม่ ที่อ้างข้อมูลของโจเอล สไตน์ จาก “The National Institutes of Health” (สถาบันสุขภาพแห่งชาติอเมริกา) พบว่า คนรุ่นใหม่กว่า 80 ล้านคนในอเมริกาที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1980-2000 นั้นหลงตัวเองเป็นสามเท่าของคนรุ่นพ่อแม่ และกว่า 80% ของคนรุ่นนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 23 ปี ต้องการได้งานที่มีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่
คนรุ่นใหม่นั้นได้รับการปลูกฝังเลี้ยงดูภายใต้วัฒนธรรม “แค่เข้าร่วมก็ได้ประกาศนียบัตร” โดยไม่สนใจถึงประสิทธิผลหรือวิธีการหรือความสำคัญของการเข้าร่วม ซึ่งทำให้พวกเขามักคิดว่า หากทำงาน พวกเขาควรได้รับการโปรโมตเลื่อนขั้นทุกๆ สองปีโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาที่ผลงานหรือประสิทธิภาพ
และจากข้อมูลดังกล่าว เขาเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Generation ME หรือกลุ่มที่มองตัวเองสำคัญที่สุด มองว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งอย่าง หรืออีกคำที่เขาเรียกว่าเป็นกลุ่มหลงตัวเอง
คนที่มี “บุคลิกภาพหลงตัวเอง” สรุปคร่าวๆ มักจะมีอาการและพฤติกรรม ดังนี้
(1) ปฏิกิริยาต่อการวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยความโกรธแค้น สร้างความน่าละอาย/ขายหน้า และความอัปยศน่าอดสู
(2) เอาเปรียบผู้อื่น เพื่อตอบสนองความต้องการชนะ หรือวัตถุประสงค์ของตนเอง
(3) มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนสำคัญมากเกินพอดี
(4) พูดขยายเกินกว่าความเป็นจริงเกี่ยวกับความสำเร็จหรือความสามารถของตนเอง
(5) มีใจหมกมุ่นกับจินตนาการความสำเร็จ พลัง อำนาจ ความงาม สติปัญญา หรือรักในอุดมคติ
(6) ใช้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล กับสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ หลงใหล คาดหวัง
(7) ต้องการเป็นที่ชื่นชม ยอมรับและหลงใหลอยู่ตลอดเวลา
(8) เพิกเฉย ไม่เอาใจใส่ต่อความรู้สึกของผู้อื่น และมีความพยายามเพียงน้อยนิดที่จะแสดงความเห็นใจผู้อื่น
(9) คิดหมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์และความต้องการของตนเอง
(10) ไล่ตามเป้าหมายที่เห็นประโยชน์แก่ตนเอง
แม้จะมีความพยายามในการวิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่และส่วนสำคัญที่สุดก็คือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่มีส่วนอย่างมาก
แล้วเด็กแบบไหนกันที่มีแนวโน้มถูกเลี้ยงดูให้กลายเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ถูกเรียกว่า Generation ME !!
ประการแรก ลูกเป็นศูนย์กลางของบ้าน
ถ้าเปรียบเทียบกับการเลี้ยงดูของชาวจีนก็ประมาณว่าจักรพรรดิน้อย ที่พ่อแม่คอยพะเน้าพะนอ อยากได้อะไรก็ได้ ไม่ว่าจะกิน จะนอน จะเล่น จะเที่ยว จะให้ลูกเป็นผู้กำหนดตั้งแต่เล็ก ยกให้ลูกเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะรักลูกอยากตามใจลูก โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้กำลังหล่อหลอมให้ลูกของเรากลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง และมองตัวเองสำคัญที่สุด ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น
ประการที่สอง ลูกไม่เคยผิดหวัง
สืบเนื่องมาจากการเป็นศูนย์กลางของบ้าน เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ใหญ่ในบ้านไม่เคยขัด และตามใจมาโดยตลอด จึงมักตอบสนองในทุกเรื่อง แม้บางเรื่องเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เช่น การที่ลูกอยากได้ของเล่นของคนอื่น พ่อแม่ก็จะต้องพยายามหาทางให้ลูกได้ของเล่นชิ้นนั้น ไปขอยืมมา หรือไม่ก็ต้องดิ้นรนหาซื้อของเล่นชิ้นใหม่จนได้ เป็นต้น
ประการที่สาม ลูกไม่เคยแพ้
ในที่นี้เป็นเรื่องการแข่งขันที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็ก เป็นเด็กที่ต้องชนะ ไม่ว่าจเะเป็นการเล่นเกม หรือการเรียนก็ตาม ยกตัวอย่าง พ่อแม่ที่เล่นกับลูก ถ้าเป็นเกมที่ต้องมีผู้แพ้ชนะ พ่อแม่มักยอมให้ลูกเป็นฝ่ายชนะตลอด เวลาลูกแพ้ ลูกมักร้องไห้หรืออารมณ์เสีย แทนที่พ่อแม่จะสอนให้ลูกรู้จักการแพ้ชนะอย่างเป็นธรรมชาติและถูกต้องตามกฎกติกา และให้เขาได้รู้จักการจัดการกับอารมณ์นั้น แต่พ่อแม่มักอ้างว่ารักลูก กลัวว่าลูกเสียใจก็เลยยอมแพ้ลูกตลอด จนเมื่อลูกต้องไปมีสังคมของเขาเอง เมื่อเขาแพ้ก็จะรู้สึกทนไม่ได้ ไม่ชอบหน้าอีกฝ่าย หรือบางทีก็กลายเป็นโกรธผู้นั้นไปเลย
ประการที่สี่ ลูกไม่เคยลำบาก
ข้อนี้มักเกิดกับกลุ่มพ่อแม่ชนชั้นกลางขึ้นไป ที่ไม่อยากให้ลูกลำบาก ยิ่งถ้าเป็นพ่อแม่ที่เคยผ่านความลำบากมาแล้ว ก็เลยมีความคิดว่าไม่อยากให้ลูกลำบากอีกต่อไป ซึ่งเป็นความคิดและความเข้าใจที่ผิด เพราะความลำบากจะทำให้ลูกมีภูมิต้านทานชีวิตที่ดี
ประการที่ห้า ลูกไม่เคยแก้ปัญหา
พ่อแม่จัดการแก้ปัญหาให้ลูกหมด เพราะคิดว่าลูกยังเด็ก ลูกคงแก้ปัญหาเองไม่ได้หรอก ทั้งที่บางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆ และเป็นเรื่องของเด็ก แต่พ่อแม่ก็ไม่ปล่อยวางให้ลูกได้ฝึกเจอสถานการณ์ด้วยตัวเอง แต่พ่อแม่เข้าไปแก้ปัญหาและจัดการให้หมด กลายเป็นจุ้นจ้านต่อชีวิตของลูกไปซะอีก เวลาลูกเจอปัญหาอะไรต้องให้เขาฝึกเผชิญด้วยตัวเอง มิเช่นนั้นแล้ว เขาก็จะมองเห็นแต่ตัวเอง เมื่อเกิดอะไรขึ้นมา เขาจะมองไม่เห็นปัญหาของคนอื่น หรือโทษว่าเพราะคนอื่นทำให้ฉันเกิดปัญหา
ประการที่หก ลูกได้รับคำชื่นชมและชมเชยแบบพร่ำเพรื่อ
การชื่นชมหรือชมเชยหรือให้กำลังใจลูกเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องมีความพอดีและเหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เพราะถ้าชื่นชมมากเกินไป พร่ำเพรื่อเกินไปก็กลายเป็นสร้างปัญหาด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชื่นชมเพียงแค่เปลือก ชมที่ภายนอก เช่น ชมว่าลูกแต่งตัวสวย หล่อ หรือหน้าตาดี แต่ไม่ได้ชมที่พฤติกรรมของการทำดี ก็จะทำให้ลูกหลงและถือดีว่าตัวเองหน้าตาดี และนำไปสู่อาการหลงตัวเองได้
ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วมีส่วนทำให้ลูกของคุณเข้าข่ายเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่คิดถึงตัวเอง หรือภาษาของคนชาวอเมริกันที่เขาบอกว่าเข้าข่ายหลงตัวเอง จนถึงกับบัญญัติศัพท์ใหม่ว่า “Generation ME” ที่ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่มักมองแต่ตัวเอง
จะว่าไปแล้วอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เกิดพฤติกรรมหลงตัวเองก็คือ “สื่อยุคไร้พรมแดน” เพราะสื่อและเทคโนโลยีที่พุ่งเป้ามาที่ตัวเด็กโดยตรง และมองว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สุดแสนจะโอชะ เพราะใช้เงินง่าย ตกเข้าไปในกระแสทุนนิยมก็ง่าย ยิ่งบรรดาสมาร์ทโฟนที่เด็กรุ่นใหม่ใช้กันเกลื่อนเมือง ก็ยิ่งเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มอย่างมากที่ก้าวเข้าสู่การเป็น Generation ME ได้ง่ายขึ้น
ตรงกันข้าม ถ้าเด็กเหล่านี้ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมและถูกวิธี มีการปลูกฝังทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับวัย เมื่อถึงวันที่กระแสบริโภคนิยมเข้ามาปะทะตัวเด็กเต็มๆ มีสื่อไฮเทคเข้ามาถึงบ้าน แต่ทักษะชีวิตที่ได้รับการปลูกฝังมาดี
เมื่อถึงเวลานั้น ทักษะที่มี มันจะทำหน้าที่ป้องกันตัวเองได้เป็นอย่างดีค่ะ