อย.จับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายช่วง ก.พ.56 ได้กว่า 100 ราย มูลค่ารวม 9.5 แสนบาท พบทำผิดเรื่องการโฆษณาสูงสุด ชูเคสเครื่องสำอางโฆษณาเกินจริง อ้างช่วยหัวนม ปานนมดำคล้ำเป็นสีชมพู ยันไม่จริง หลอกลวงผู้บริโภค
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ช่วงเดือน ก.พ. 2556 อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่างๆ รวมทั้งสิ้น 105 ราย รวมมูลค่ากว่า 959,800 บาท โดยผู้กระทำความผิด พ.ร.บ.อาหาร ส่วนใหญ่เป็นความผิดกรณีนำเข้าอาหารจากต่างประเทศที่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น ส้มสด องุ่นสด รวมถึงคุณภาพมาตรฐานไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ ยังพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารผ่านสื่อต่างๆ ในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อ้างช่วยทำให้ผอม ขาว ระบบขับถ่ายดี กระชับผิว ปรับฮอร์โมนกระชับภายใน ฟื้นฟูสมอง ช่วยให้ความจำดี ช่วยให้โรคเบาหวานและภูมิแพ้ดีขึ้น บรรเทาโรคมะเร็งปอด หอบหืด เนื้องอกในมดลูก เป็นต้น ซึ่งเป็นโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตและเข้าข่ายหลอกลวง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถอวดอ้างรักษาโรคได้
“ในส่วนของกฎหมายยา พบมีการโฆษณาเกินจริงเช่นกัน โดยเฉพาะการโฆษณาทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เช่น ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น หลับลึก เสียงนอนกรนลดลง บำรุงหัวใจ ปอด สมอง เป็นต้น ผู้ดำเนินรายการพูดคุยขายยาโดยแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ นอกจากนี้พบการนำเข้ายาโดยไม่ผ่านการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้า พบการขายยาแผนปัจจุบันไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาตโดยมียาอันตรายไว้เพื่อจำหน่าย อีกทั้งไม่จัดทำบัญชีการซื้อและขายยา และขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า สำหรับ พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พบทำผิดการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วน พ.ร.บ.เครื่องสำอาง ทำผิดโดยการใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่น ช่วยปรับสีผิวบริเวณหัวนมและปานนมที่ดำคล้ำ ทำให้ผิวกระจ่างใส ชุ่มชื่น นุ่มเนียน แลดูเป็นสีชมพูอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยเนรมิตให้คุณกลับมาสวยอย่างวัยแรกสาวได้อีกครั้ง อ้างช่วยลดริ้วรอยแห่งวัยที่สะสมตลอด 1 ปี ได้ภายในเวลา 6 สัปดาห์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และหากกระทำผิดซ้ำซากก็จะเพิ่มโทษทวีคูณ
“ขอให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย โดยอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง อย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง อาหารต้องไม่โฆษณาในทางยา เช่น ไม่อ้างรักษาโรค หรือลดความอ้วน ส่วนยาต้องไม่โฆษณาว่าสามารถรักษาโรคเรื้อรังให้หายขาด เครื่องสำอางต้องไม่โฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนสีผิวให้ขาวกว่าธรรมชาติ ไม่อวดอ้างรักษาสิว แก้ฝ้า และขยายทรวงอก ทั้งนี้ หากพบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร.1556” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ช่วงเดือน ก.พ. 2556 อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่างๆ รวมทั้งสิ้น 105 ราย รวมมูลค่ากว่า 959,800 บาท โดยผู้กระทำความผิด พ.ร.บ.อาหาร ส่วนใหญ่เป็นความผิดกรณีนำเข้าอาหารจากต่างประเทศที่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น ส้มสด องุ่นสด รวมถึงคุณภาพมาตรฐานไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ ยังพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารผ่านสื่อต่างๆ ในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อ้างช่วยทำให้ผอม ขาว ระบบขับถ่ายดี กระชับผิว ปรับฮอร์โมนกระชับภายใน ฟื้นฟูสมอง ช่วยให้ความจำดี ช่วยให้โรคเบาหวานและภูมิแพ้ดีขึ้น บรรเทาโรคมะเร็งปอด หอบหืด เนื้องอกในมดลูก เป็นต้น ซึ่งเป็นโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตและเข้าข่ายหลอกลวง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถอวดอ้างรักษาโรคได้
“ในส่วนของกฎหมายยา พบมีการโฆษณาเกินจริงเช่นกัน โดยเฉพาะการโฆษณาทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เช่น ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น หลับลึก เสียงนอนกรนลดลง บำรุงหัวใจ ปอด สมอง เป็นต้น ผู้ดำเนินรายการพูดคุยขายยาโดยแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ นอกจากนี้พบการนำเข้ายาโดยไม่ผ่านการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้า พบการขายยาแผนปัจจุบันไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาตโดยมียาอันตรายไว้เพื่อจำหน่าย อีกทั้งไม่จัดทำบัญชีการซื้อและขายยา และขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า สำหรับ พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พบทำผิดการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วน พ.ร.บ.เครื่องสำอาง ทำผิดโดยการใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่น ช่วยปรับสีผิวบริเวณหัวนมและปานนมที่ดำคล้ำ ทำให้ผิวกระจ่างใส ชุ่มชื่น นุ่มเนียน แลดูเป็นสีชมพูอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยเนรมิตให้คุณกลับมาสวยอย่างวัยแรกสาวได้อีกครั้ง อ้างช่วยลดริ้วรอยแห่งวัยที่สะสมตลอด 1 ปี ได้ภายในเวลา 6 สัปดาห์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และหากกระทำผิดซ้ำซากก็จะเพิ่มโทษทวีคูณ
“ขอให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย โดยอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง อย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง อาหารต้องไม่โฆษณาในทางยา เช่น ไม่อ้างรักษาโรค หรือลดความอ้วน ส่วนยาต้องไม่โฆษณาว่าสามารถรักษาโรคเรื้อรังให้หายขาด เครื่องสำอางต้องไม่โฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนสีผิวให้ขาวกว่าธรรมชาติ ไม่อวดอ้างรักษาสิว แก้ฝ้า และขยายทรวงอก ทั้งนี้ หากพบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร.1556” รองเลขาธิการ อย.กล่าว