ระวัง! ขึ้นรถเมล์ร่วมฯ เสี่ยงเจ็บตายจากอุบัติเหตุมากกว่า บขส.เหตุเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ทั้งตัวรถและคนขับ เผยนำรถเข้าจากต่างประเทศแต่มีการแต่งรถกันจนความปลอดภัยลดลง แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับเกณฑ์การแก้ปัญหา
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบันรถโดยสารจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.รถโดยสารประจำทาง ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคม และ 2.รถโดยสารร่วมบริการ ซึ่งเกิดจากจำนวนรถบริการที่ไม่เพียงพอ โดยทั้งระบบจะมีรถโดยสารประมาณ 4,000 คัน เป็นรถของ บขส.ประมาณ 800 คันเท่านั้น โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารมีประเด็นที่น่าสนใจคือ มาตรฐานของรถทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมความปลอดภัยในส่วนของตัวรถ เช่น ระบบความปลอดภัย เข็มขัดนิรภัย การป้องกันการกระเด็นออกนอกตัวรถ การยึดติดที่นั่ง หรือ การควบคุมระบบความปลอดภัยในตัวคนขับ เช่น การตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ การพักผ่อนของคนขับ การให้แรงจูงใจต่างๆ พบว่า ในกลุ่มรถของ บขส.มีมากกว่า ทำให้รถร่วมบริการโดยเฉพาะรายเล็กยังน่าเป็นห่วงในเรื่องของความปลอดภัย
“การเกิดอุบัติเหตุจำนวนมากที่เกิดในกลุ่มรถร่วมบริการ จำเป็นต้องมีการหาว่ามีความรุนแรงเกิดจากอะไรบ้าง จากตัวรถอย่างไร จากตัวคนขับอย่างไร เพราะทั้งสองอย่างนั้นจะต้องสร้างมาตรฐานควบคู่กันไป เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น การกระเด็นออกนอกตัวรถ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้มาก เพื่อนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานเพื่อป้องกันการเกิดความรุนแรงจากอุบัติเหตุในอนาคต” นพ.ธนะพงศ์ กล่าว
นพ.ธนะพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกฎหมายเพื่อควบคุมมาตรฐานของรถบริการสาธารณะ แม้ปัจจุบันจะมีกฎหมายแต่ยังมีอีกหลายส่วนที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน เช่น เรื่องความสูงของรถโดยสาร 2 ชั้น แม้ว่าจะมีกฎหมาย ควบคุมเรื่องความสูงของตัวรถ แต่พบว่า ยังไม่มีการตรวจสอบหรือทดสอบ เช่น นำรถเอียง 30 องศา เพื่อดูสมรรถนะของรถว่าสามารถต้านทานหรือทรงตัวได้หรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการพลิกคว่ำของรถ ซึ่งปัจจุบันรถร่วมบริการหลายบริษัทใช้วิธีการนำรถจากต่างประเทศเข้ามาแต่งเติมหรือประกอบเพิ่มเติม ทำให้มาตรฐานความปลอดภัยยังเกิดปัญหาอยู่ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องปรับปรุงเกณฑ์การกำหนดความปลอดภัยในรถสาธารณะเพื่อปกป้องประชาชน
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบันรถโดยสารจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.รถโดยสารประจำทาง ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคม และ 2.รถโดยสารร่วมบริการ ซึ่งเกิดจากจำนวนรถบริการที่ไม่เพียงพอ โดยทั้งระบบจะมีรถโดยสารประมาณ 4,000 คัน เป็นรถของ บขส.ประมาณ 800 คันเท่านั้น โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารมีประเด็นที่น่าสนใจคือ มาตรฐานของรถทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมความปลอดภัยในส่วนของตัวรถ เช่น ระบบความปลอดภัย เข็มขัดนิรภัย การป้องกันการกระเด็นออกนอกตัวรถ การยึดติดที่นั่ง หรือ การควบคุมระบบความปลอดภัยในตัวคนขับ เช่น การตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ การพักผ่อนของคนขับ การให้แรงจูงใจต่างๆ พบว่า ในกลุ่มรถของ บขส.มีมากกว่า ทำให้รถร่วมบริการโดยเฉพาะรายเล็กยังน่าเป็นห่วงในเรื่องของความปลอดภัย
“การเกิดอุบัติเหตุจำนวนมากที่เกิดในกลุ่มรถร่วมบริการ จำเป็นต้องมีการหาว่ามีความรุนแรงเกิดจากอะไรบ้าง จากตัวรถอย่างไร จากตัวคนขับอย่างไร เพราะทั้งสองอย่างนั้นจะต้องสร้างมาตรฐานควบคู่กันไป เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น การกระเด็นออกนอกตัวรถ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้มาก เพื่อนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานเพื่อป้องกันการเกิดความรุนแรงจากอุบัติเหตุในอนาคต” นพ.ธนะพงศ์ กล่าว
นพ.ธนะพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกฎหมายเพื่อควบคุมมาตรฐานของรถบริการสาธารณะ แม้ปัจจุบันจะมีกฎหมายแต่ยังมีอีกหลายส่วนที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน เช่น เรื่องความสูงของรถโดยสาร 2 ชั้น แม้ว่าจะมีกฎหมาย ควบคุมเรื่องความสูงของตัวรถ แต่พบว่า ยังไม่มีการตรวจสอบหรือทดสอบ เช่น นำรถเอียง 30 องศา เพื่อดูสมรรถนะของรถว่าสามารถต้านทานหรือทรงตัวได้หรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการพลิกคว่ำของรถ ซึ่งปัจจุบันรถร่วมบริการหลายบริษัทใช้วิธีการนำรถจากต่างประเทศเข้ามาแต่งเติมหรือประกอบเพิ่มเติม ทำให้มาตรฐานความปลอดภัยยังเกิดปัญหาอยู่ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องปรับปรุงเกณฑ์การกำหนดความปลอดภัยในรถสาธารณะเพื่อปกป้องประชาชน