อย.เตรียมออกกฎกระทรวง บังคับทุกร้านยาเป็นร้านยาคุณภาพด้วยการใช้มาตรฐาน GPP รองรับการแข่งขันในอาเซียน เผยมีผลบังคับใช้ต่อร้านยาเปิดใหม่ทันที ส่วนร้านที่เปิดก่อนออกประกาศให้เวลาปรับปรุงคุณภาพ 8 ปี
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับสภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย และสมาคมร้านขายยา เตรียมพัฒนาร้านยาในภาพรวมทั้งหมดของประเทศ โดยเร็วๆ นี้ จะมีการออกกฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ.2510 ซึ่งจะกำหนดให้ร้านยาต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพในการให้บริการภายใต้หลักวิธีปฏิบัติที่ดีในร้านยา (Good Pharmacy Practice: GPP) รวมถึงบังคับร้านยาเปิดใหม่ทั้งหมดจะต้องมีคุณภาพมาตรฐานตาม GPP เพื่อยกระดับมาตรฐานของร้านยาให้พร้อมต่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งจะมีการนำระบบคุณภาพมาเป็นเงื่อนไขใหม่ในการแข่งขัน
“ในอนาคตจะมีการนำมาตรฐานร้านยาคุณภาพมาเป็นเงื่อนไขในการไม่ต่อใบอนุญาตร้านยาที่ไม่มีระบบคุณภาพด้วย ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวจะบังคับกับร้านยาใหม่ทันที หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 180 วัน ส่วนร้านยาที่เปิดก่อนกฎกระทรวงจะให้เวลาในการพัฒนาร้านยาภายใน 8 ปี” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
นพ.ปฐม กล่าวอีกว่า ช่วงที่กฎกระทรวงดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ อย.ได้ร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมในการให้เภสัชกรในร้านยาที่ขอเปิดใหม่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตร เตรียมความพร้อมในการเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา เพื่อให้เภสัชกรมีความเข้าใจในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน อันจะส่งผลให้เภสัชกรในร้านยาปฏิบัติตนได้ถูกต้องสอดคล้องตามกฎหมาย มีจรรยาบรรณที่ดี และมีความเข้าใจในระบบคุณภาพในร้านยา สามารถเป็นเภสัชกรที่ดีในระบบยา
“ปัจจุบันมีร้านยาคุณภาพจำนวน 648 ร้าน ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ และขณะนี้ได้มีการนำร้านยาคุณภาพส่วนหนึ่งเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อาทิ พื้นที่ใน กทม.ในโครงการร้านยาเยี่ยมบ้าน ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข โครงการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานกับหน่วยบริการของ สปสช.โครงการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่โดยเบิกจ่ายค่าบริการให้คำปรึกษา จาก สปสช.เป็นต้น ดังนั้น จีงเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของร้านยาในการให้บริการที่ไม่เพียงแต่งานบริการทางเภสัชกรรมที่ดี และยังสามารถเชื่อมโยงกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอีกด้วย ที่สำคัญขอให้ประชาชนเลือกรับบริการจากร้านยาที่มีเภสัชกรให้บริการและมีระบบจัดการคุณภาพภายในร้าน จะช่วยให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา และหลีกเลี่ยงการซื้อยาจากแหล่งที่เสี่ยงต่อการเกิดความไม่ปลอดภัยด้านยา เช่น ร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรให้บริการ ไม่มีระบบการจัดเก็บยาที่มีคุณภาพ ไม่มีระบบการควบคุมยาหมดอายุที่ดี” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับสภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย และสมาคมร้านขายยา เตรียมพัฒนาร้านยาในภาพรวมทั้งหมดของประเทศ โดยเร็วๆ นี้ จะมีการออกกฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ.2510 ซึ่งจะกำหนดให้ร้านยาต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพในการให้บริการภายใต้หลักวิธีปฏิบัติที่ดีในร้านยา (Good Pharmacy Practice: GPP) รวมถึงบังคับร้านยาเปิดใหม่ทั้งหมดจะต้องมีคุณภาพมาตรฐานตาม GPP เพื่อยกระดับมาตรฐานของร้านยาให้พร้อมต่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งจะมีการนำระบบคุณภาพมาเป็นเงื่อนไขใหม่ในการแข่งขัน
“ในอนาคตจะมีการนำมาตรฐานร้านยาคุณภาพมาเป็นเงื่อนไขในการไม่ต่อใบอนุญาตร้านยาที่ไม่มีระบบคุณภาพด้วย ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวจะบังคับกับร้านยาใหม่ทันที หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 180 วัน ส่วนร้านยาที่เปิดก่อนกฎกระทรวงจะให้เวลาในการพัฒนาร้านยาภายใน 8 ปี” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
นพ.ปฐม กล่าวอีกว่า ช่วงที่กฎกระทรวงดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ อย.ได้ร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมในการให้เภสัชกรในร้านยาที่ขอเปิดใหม่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตร เตรียมความพร้อมในการเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา เพื่อให้เภสัชกรมีความเข้าใจในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน อันจะส่งผลให้เภสัชกรในร้านยาปฏิบัติตนได้ถูกต้องสอดคล้องตามกฎหมาย มีจรรยาบรรณที่ดี และมีความเข้าใจในระบบคุณภาพในร้านยา สามารถเป็นเภสัชกรที่ดีในระบบยา
“ปัจจุบันมีร้านยาคุณภาพจำนวน 648 ร้าน ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ และขณะนี้ได้มีการนำร้านยาคุณภาพส่วนหนึ่งเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อาทิ พื้นที่ใน กทม.ในโครงการร้านยาเยี่ยมบ้าน ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข โครงการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานกับหน่วยบริการของ สปสช.โครงการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่โดยเบิกจ่ายค่าบริการให้คำปรึกษา จาก สปสช.เป็นต้น ดังนั้น จีงเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของร้านยาในการให้บริการที่ไม่เพียงแต่งานบริการทางเภสัชกรรมที่ดี และยังสามารถเชื่อมโยงกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอีกด้วย ที่สำคัญขอให้ประชาชนเลือกรับบริการจากร้านยาที่มีเภสัชกรให้บริการและมีระบบจัดการคุณภาพภายในร้าน จะช่วยให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา และหลีกเลี่ยงการซื้อยาจากแหล่งที่เสี่ยงต่อการเกิดความไม่ปลอดภัยด้านยา เช่น ร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรให้บริการ ไม่มีระบบการจัดเก็บยาที่มีคุณภาพ ไม่มีระบบการควบคุมยาหมดอายุที่ดี” รองเลขาธิการ อย. กล่าว