คณบดีนิเทศฯ ม.หอการค้าไทย เผยอุดมศึกษานิยมเปิดหลักสูตร ตามกระแส เพื่อหารายได้เข้ามหา’ลัย จนไม่คำนึงถึงคุณภาพ และบริบทของสถาบัน พร้อมจี้เลิก “ยืมชื่ออาจารย์ดัง” มาโฆษณาเป็นจุดขายดึง นศ.เข้าเรียน ชี้เข้าข่ายหลอกลวง แนะนักศึกษา พ่อแม่ตรวจสอบข้อมูลก่อนตัดสินใจเรียน
ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าปัจจุบันสถานการณ์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยรัฐ หรือเอกชนต่างวิ่งแข่งในสนามเดียวกัน มุ่งเน้นเปิดหลักสูตรตามกระแสเพื่อหาเงิน หารายได้เข้ามหาวิทยาลัย เป็นการเปิดออกมาเพื่อขายของ โดยไม่ได้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย ทำให้ภาวะการแข่งขันในระดับอุดมศึกษาเพิ่มสูงยิ่งขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งต่างเหมือนกัน ไม่มีหลักสูตรที่หลากหลายให้เด็กได้เลือก ทำให้มหาวิทยาลัยต่างวางกลยุทธ์ โฆษณา เพื่อดึงนักศึกษาเข้าเรียนสถาบันของตนเอง โดยวิธีที่สถาบันการศึกษานิยมใช้อยู่ในขณะนี้ คือ การยืมชื่ออาจารย์ นักวิชาการ เก่ง ดัง ผู้มีประสบการณ์ในสาขาหลักสูตรนั้นๆ มาเป็นจุดขาย โฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นอาจารย์สอนประจำอยู่ที่คณะนั้น มหาวิทยาลัยนี้ แต่ไม่ได้มาสอนจริง หรือบางคนเป็นเพียงอาจารย์พิเศษ ที่มาสอนในบางคลาสเรียนเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเข้าข่ายหลอกลวงนักศึกษา
“ต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรจำนวนมากแต่อาจารย์สอนมีจำนวนจำกัด ทำให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน ซึ่งการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอนถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้นักศึกษาได้เห็นมุมมอง ประสบการณ์ ความคิดใหม่ๆ จากอาจารย์พิเศษที่ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถ อยู่ในแวดวงการทำงาน ธุรกิจนั้นจริงๆ แต่การที่มหาวิทยาลัยพยายามโฆษณากันมากเพื่อให้เข้าถึงนักเรียน ผู้ปกครองให้มาเรียน โดยไม่บอกข้อมูลให้รู้ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น อยากฝากมหาวิทยาลัยอย่าเปิดหลักสูตรเป็นแฟชั่นหรือว่าแข่งกับใคร แต่ควรคำนึงถึงคุณภาพการศึกษา ตรงกับบริบทของมหาวิทยาลัย เปิดออกมาแล้วต้องแน่ใจว่าเราทำสิ่งที่มีคุณภาพจริงๆ ควรดูศักยภาพความพร้อมของตนเองด้วย ส่วนนักศึกษา พ่อแม่ควรตรวจสอบข้อมูล หรือเข้ามาสัมผัสมหาวิทยาลัยจริงๆ ดูเรื่องของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนก่อนตัดสินใจเรียน อย่าเลือกเพียงเพราะดูอาคารเรียน มีชื่อ อ.ดังๆ สอนเท่านั้น”ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ กล่าว
ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าปัจจุบันสถานการณ์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยรัฐ หรือเอกชนต่างวิ่งแข่งในสนามเดียวกัน มุ่งเน้นเปิดหลักสูตรตามกระแสเพื่อหาเงิน หารายได้เข้ามหาวิทยาลัย เป็นการเปิดออกมาเพื่อขายของ โดยไม่ได้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย ทำให้ภาวะการแข่งขันในระดับอุดมศึกษาเพิ่มสูงยิ่งขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งต่างเหมือนกัน ไม่มีหลักสูตรที่หลากหลายให้เด็กได้เลือก ทำให้มหาวิทยาลัยต่างวางกลยุทธ์ โฆษณา เพื่อดึงนักศึกษาเข้าเรียนสถาบันของตนเอง โดยวิธีที่สถาบันการศึกษานิยมใช้อยู่ในขณะนี้ คือ การยืมชื่ออาจารย์ นักวิชาการ เก่ง ดัง ผู้มีประสบการณ์ในสาขาหลักสูตรนั้นๆ มาเป็นจุดขาย โฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นอาจารย์สอนประจำอยู่ที่คณะนั้น มหาวิทยาลัยนี้ แต่ไม่ได้มาสอนจริง หรือบางคนเป็นเพียงอาจารย์พิเศษ ที่มาสอนในบางคลาสเรียนเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเข้าข่ายหลอกลวงนักศึกษา
“ต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรจำนวนมากแต่อาจารย์สอนมีจำนวนจำกัด ทำให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน ซึ่งการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอนถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้นักศึกษาได้เห็นมุมมอง ประสบการณ์ ความคิดใหม่ๆ จากอาจารย์พิเศษที่ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถ อยู่ในแวดวงการทำงาน ธุรกิจนั้นจริงๆ แต่การที่มหาวิทยาลัยพยายามโฆษณากันมากเพื่อให้เข้าถึงนักเรียน ผู้ปกครองให้มาเรียน โดยไม่บอกข้อมูลให้รู้ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น อยากฝากมหาวิทยาลัยอย่าเปิดหลักสูตรเป็นแฟชั่นหรือว่าแข่งกับใคร แต่ควรคำนึงถึงคุณภาพการศึกษา ตรงกับบริบทของมหาวิทยาลัย เปิดออกมาแล้วต้องแน่ใจว่าเราทำสิ่งที่มีคุณภาพจริงๆ ควรดูศักยภาพความพร้อมของตนเองด้วย ส่วนนักศึกษา พ่อแม่ควรตรวจสอบข้อมูล หรือเข้ามาสัมผัสมหาวิทยาลัยจริงๆ ดูเรื่องของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนก่อนตัดสินใจเรียน อย่าเลือกเพียงเพราะดูอาคารเรียน มีชื่อ อ.ดังๆ สอนเท่านั้น”ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ กล่าว