“หมอประดิษฐ” เผยมีผู้สูงอายุสุขภาพไม่ดีประมาณ 1 ล้านคน เร่งขยายบริการผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เน้น 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การออกกำลังกาย ให้ความรู้อาหารการกิน และตั้งชมรมผู้สูงอายุทุกหมู่บ้าน ให้มีกิจกรรมคลายเหงาได้
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 13 เมษายนทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข จากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ในปี 2552 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 7 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด โดยมีผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไปจำนวน 9 แสนกว่าคน และเป็นผู้ที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไปจำนวน 13,692 คน มากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 591คน รองลงมาคือยะลา 563 คน และสมุทรปราการ 558 คน ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 เป็นหญิง
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ผู้สูงอายุ 2 ใน 3 คนอาศัยอยู่ในชนบท และมีผู้สูงอายุสุขภาพไม่ค่อยดีร้อยละ 13 หรือประมาณ 1 ล้านคน ผู้สูงอายุประมาณ 1 ใน 3 มีฐานะยากจน กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายขยายบริการผู้สูงอายุไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งเป็นสถานบริการสาธารณสุขที่ตั้งอยู่ในชุมชนครบทุกตำบล มี 9,750 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การรักษาพยาบาล 2.การให้บริการป้องกันโรค เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น และ3.การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งสุขภาพกายและจิต เพื่อชะลอสุขภาพดีไว้ให้นานที่สุด ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องโภชนาการ อาหารการกินให้ถูกต้อง ให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง
สำหรับการดูแลส่งเสริมสุขภาพจิตนั้น เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีอาการเหงาจากการอยู่ลำพังคนเดียว เนื่องลูกหลานออกไปทำงานนอกบ้าน หรือสูญเสียคู่ครองหรือสูญเสียเพื่อนวัยเดียวกัน จึงมีนโยบายให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลทุกแห่ง ส่งเสริมกระตุ้นให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุอยู่แห่งละประมาณ 100-1,000 คน จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ และกระตุ้นให้จัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุด้วยกัน การมีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชมรม จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสังคมอยู่ใกล้ๆ บ้าน คลายเหงาได้ และชมรมดังกล่าวจะเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินงานกับผู้สูงอายุทุกๆ ด้านต่อไป
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 13 เมษายนทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข จากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ในปี 2552 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 7 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด โดยมีผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไปจำนวน 9 แสนกว่าคน และเป็นผู้ที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไปจำนวน 13,692 คน มากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 591คน รองลงมาคือยะลา 563 คน และสมุทรปราการ 558 คน ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 เป็นหญิง
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ผู้สูงอายุ 2 ใน 3 คนอาศัยอยู่ในชนบท และมีผู้สูงอายุสุขภาพไม่ค่อยดีร้อยละ 13 หรือประมาณ 1 ล้านคน ผู้สูงอายุประมาณ 1 ใน 3 มีฐานะยากจน กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายขยายบริการผู้สูงอายุไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งเป็นสถานบริการสาธารณสุขที่ตั้งอยู่ในชุมชนครบทุกตำบล มี 9,750 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การรักษาพยาบาล 2.การให้บริการป้องกันโรค เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น และ3.การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งสุขภาพกายและจิต เพื่อชะลอสุขภาพดีไว้ให้นานที่สุด ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องโภชนาการ อาหารการกินให้ถูกต้อง ให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง
สำหรับการดูแลส่งเสริมสุขภาพจิตนั้น เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีอาการเหงาจากการอยู่ลำพังคนเดียว เนื่องลูกหลานออกไปทำงานนอกบ้าน หรือสูญเสียคู่ครองหรือสูญเสียเพื่อนวัยเดียวกัน จึงมีนโยบายให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลทุกแห่ง ส่งเสริมกระตุ้นให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุอยู่แห่งละประมาณ 100-1,000 คน จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ และกระตุ้นให้จัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุด้วยกัน การมีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชมรม จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสังคมอยู่ใกล้ๆ บ้าน คลายเหงาได้ และชมรมดังกล่าวจะเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินงานกับผู้สูงอายุทุกๆ ด้านต่อไป